'คุณช่อ'เฉยๆยังยิ้มได้! ลั่นเปิดสมรภูมิในโซเชียลแพ้ชนะตัดสินที่ใครใช้เครื่องมือเปลี่ยนแปลงได้มากกว่ากัน"


เพิ่มเพื่อน    

 

11 มิ.ย.62-น.ส.พรรณิการ์  วานิช โฆษกพรรคอนาคตใหม่  เคลื่อนไหวเฟซบุ๊ก  Pannika Chor Wanich โดยระบุว่า

สัปดาห์นี้ช่อได้รับเชิญจากมูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ (Konrad-Adenauer-Stiftung) ให้เข้าร่วมการประชุม E-LECTION BRIDGE ASIA-PACIFIC 2019 ที่นครย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา และได้เป็นผู้อภิปรายในหัวข้อ “อิทธิพลของกองทัพต่อการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตย: บทเรียนจากไทยและเมียนมา” (The influence of military in democratic elections: Lessons from Thailand and Myanmar)

ตัวแทนจากพรรคการเมืองทั่วโลก รวมถึงเพื่อนชาวเมียนมาจากพรรค NLD ให้ความสนใจกับหัวข้อนี้กันมาก และส่วนใหญ่กังวลว่าสถานการณ์ในประเทศไทยยังไม่ได้ดีขึ้นอย่างที่ทุกฝ่ายคาดหวัง หลังการเลือกตั้ง 24 มีนาคม แต่กลับดูจะเลวร้ายลง เราคุยกันถึงปัญหาการใช้รัฐธรรมนูญเป็นกลไกสืบทอดอำนาจของทหาร ซึ่งเมียนมากับไทยมีความคล้ายคลึงกันมาก การใช้กฎหมาย องค์กรอิสระ ไปจนถึงการใช้กำลังในการโจมตีนักกิจกรรม ผู้เห็นต่าง และพรรคการเมืองฝ่ายต่อต้าน คสช.

ช่อได้ยกตัวอย่างทั้งกรณีการดำเนินคดีกับแกนนำพรรคอนาคตใหม่ และกรณีลอบทำร้าย คุณเอกชัย หงส์กังวาน รวมถึงจ่านิว เพื่อชี้ให้เห็นว่าในความเป็นจริงแล้วนักเคลื่อนไหวและพรรคฝ่ายประชาธิปไตยในไทยอยู่ในสถานการณ์เสี่ยงอันตรายขนาดไหน แม้รัฐบาลจะพร่ำบอกว่ากำลังเดินหน้าสู่ประชาธิปไตยเต็มใบก็ตาม

ตัวแทนจากพรรค NLD ของเมียนมาพูดติดตลกกับช่อว่า “เขาไม่เคยคิดเลยว่าจะได้พูดประโยคนี้ ประโยคที่ว่า ดูเหมือนเมียนมาจะเป็นแบบอย่างให้กับรัฐบาลทหารของไทยได้เป็นอย่างดี รัฐธรรมนูญเมียนมาให้พื้นที่ ส.ส. ที่มาจากการแต่งตั้งของกองทัพ 1 ใน 4 แต่ของไทย รัฐสภากลับให้พื้นที่สมาชิกรัฐสภาที่แต่งตั้งโดยทหารมากถึง 1 ใน 3"

แต่แน่นอนว่าช่อไม่ได้มาที่นี่ แค่เพื่อเล่าปัญหาให้ผู้เข้าร่วมประชุมจากประเทศต่างๆ ฟัง ในอีกหลายช่วงของการประชุมมีการแลกเปลี่ยนกันอย่างเข้มข้นถึงประสบการณ์การทำแคมเปญหาเสียงของพรรคการเมืองฝ่ายเสรีนิยมจากทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นแคมเปญเลือกตั้งของพรรค BJP ของ นเรนทรา โมดิ นายกรัฐมนตรีอินเดีย ที่ต้องเผชิญกับความหลากหลายของจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 900 ล้านคน

แคมเปญของพรรคลิเบอรัลของออสเตรเลีย ที่ใช้วิดีโอเสียดสีล้อเลียนคู่แข่งเป็นเครื่องมือหลักในการสร้างคะแนนนิยม (หลายคน รวมถึงช่อ แย้งว่าวิธีหาเสียงแบบนี้ไม่ได้ผลในวัฒนธรรมการเมืองของเอเชีย) หรือพลังแห่งแฮชแท็ก # ในแคมเปญเลือกตั้งของฟิลิปปินส์ และการประท้วงในฮ่องกง

หนึ่งในปัญหาที่เราเห็นร่วมกันก็คือ การใช้โซเชียลมีเดียในการหาเสียงเป็นดาบสองคม และต้องมีวิธีการรับมือกับของแถมอันไม่น่าพิศมัยอย่าง ข่าวปลอม (fake news) และวาทะสร้างความเกลียดชัง (hate speech)

ที่สำคัญที่สุด โซเชียลมีเดียเป็นเครื่องมือใหม่ที่ทรงพลังก็จริง แต่อย่าลืมว่าเรายังคงต่อสู้ในสมรภูมิเดิม

แก่นแท้ของสมรภูมิการเมืองในไทยยังคงเป็นการต่อสู้ทางความคิด การสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาในรัฐสภา ประชาธิปไตย และพรรคการเมือง การต่อสู้กับวาทกรรมที่ว่าทหารและการรัฐประหารคือทางออกเมื่อเกิดวิกฤตทางการเมือง

เรามีโซเชียลมีเดียเป็นเครื่องมือ เขาก็มีเช่นกัน

แพ้ชนะตัดสินกันที่ว่าใครสามารถใช้เครื่องมือชนิดนี้สร้างการเปลี่ยนแปลงทางความคิดได้มากกว่ากัน

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"