ส่องปัจจัยหนุนอุตฯการพิมพ์


เพิ่มเพื่อน    

 

             ขณะที่ยุคสมัยเปลี่ยนผ่าน พร้อมกับเทคโนโลยีดิจิทัลก้าวเข้ามามีบทบาทต่อไลฟ์สไตล์การดำเนินชีวิต สิ่งหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้นั่นคือการชะลอตัวของสิ่งพิมพ์ แม้สถานการณ์ดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ทั่วโลก แต่ภาพรวมอุตสาหกรรมการพิมพ์มีแนวโน้มเติบโตแข็งแกร่งต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยมาจากการเปลี่ยนแปลงการใช้งานเทคโนโลยีการพิมพ์ จากการผลิตหนังสือพิมพ์ และนิตยสาร ไปสู่อุตสาหกรรมการผลิตรูปแบบใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์ และยังมองเห็นการปรับตัวเชิงบวกสำหรับผู้ที่อยู่ในห่วงโซ่วงการอุตสาหกรรมจากทั่วโลก

                สำหรับในเรื่องนี้ เบียทริซ เจ โฮ ผู้อำนวยการโครงการ แพ็ค พริ้นท์อินเตอร์เนชั่นแนล 2019 ได้ให้ความเห็นว่า อุตสาหกรรมการพิมพ์ยังไม่ตาย และยังคงสร้างมูลค่าได้อย่างมหาศาล แม้จะได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของธุรกิจสิ่งพิมพ์อย่างหนังสือพิมพ์และนิตยสาร แต่เมื่อพิจารณาห่วงโซ่การผลิตของอุตสาหกรรมแล้ว กลับเปลี่ยนผ่านการใช้งานไปสู่อุตสาหกรรมอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมหลักอย่างบรรจุภัณฑ์ ที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีการพิมพ์เข้ามาเกี่ยวข้องตลอดวงจรการผลิต ซึ่งในระดับมหภาคทั่วโลกแล้ว ยังพบ 3 ปัจจัยสนับสนุนที่จะส่งผลให้อุตสาหกรรมการพิมพ์เองยังคงสดใส และสนับสนุนให้มีการเติบโตในระยะยาว

                ปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมก็มีอยู่ด้วยกันหลายด้าน อย่างแรกเลยคงเป็นดิจิทัลแพ็กเกจจิ้ง กับโอกาสเติบโตของอุตสาหกรรมการพิมพ์ ซึ่งแม้ดิจิทัลดิสรัปชั่นมีอิทธิพลต่อทุกอุตสาหกรรม ซึ่งรวมถึงอุตสาหกรรมการพิมพ์และการบรรจุภัณฑ์ ปัจจุบันกระแสดิจิทัลแพ็กเกจจิ้งเป็นที่ต้องการใช้งานในตลาดบรรจุภัณฑ์ทั่วโลก การจะได้มาซึ่งการผลิตดังกล่าว เทคโนโลยีการพิมพ์ที่มีศักยภาพจึงเป็นหัวใจสำคัญ โดยจากรายงานบทวิเคราะห์แนวโน้มการพิมพ์ดิจิทัลสำหรับบรรจุภัณฑ์ของสมิธเธอร์ส ไพร่า (Smithers Pira) พบว่าตลาดบรรจุภัณฑ์ดิจิทัลกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยคาดการณ์อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 13% ต่อปี หรือจะมีมูลค่าสูงราว 7.01 แสนล้านบาทไทย ภายในปี 2565 อีกด้วย

                ข้อต่อมาเป็นเรื่องการลงทุนเทคโนโลยีการพิมพ์เพื่อการผลิต รายงานสถานการณ์การลงทุนเทคโนโลยีการพิมพ์ จากงานดรูป้า (Drupa) มหกรรมเทคโนโลยีการพิมพ์ระดับโลก เมื่อเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา พบว่าด้านโรงงานผู้ผลิตทั่วโลกให้ความสำคัญกับการลงทุนเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดีมานด์ของตลาดการใช้งาน และเพื่อสร้างศักยภาพในการผลิตรูปแบบใหม่ๆ ที่จะเพิ่มขึ้นในปี 2562 อาทิ บรรจุภัณฑ์ เครื่องพิมพ์ออฟเซ็ตชนิดป้อนแผ่น 27% และเครื่องพิมพ์เฟล็กโซ 25% โฆษณา เครื่องพิมพ์พร้อมตัดดิจิทัลโทนเนอร์ 29% และเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ตหน้ากว้างชนิดพร้อมตัวตัดและม้วน 19% และการพิมพ์เฉพาะทาง เครื่องพิมพ์พร้อมตัดดิจิทัลโทนเนอร์ 27% และเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ตหน้ากว้างชนิดพร้อมตัวตัดและม้วน 23% ซึ่งนับว่าเป็นสัญญาณการลงทุนในอุตสาหกรรมการพิมพ์ที่ยังคงสดใส และไม่หยุดนิ่ง

                อย่างสุดท้ายที่เป็นปัจจัยช่วยส่งเสริม คือเทรนด์สร้างมูลค่าเพิ่มด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพราะความต้องการใช้งานบรรจุภัณฑ์สำหรับกลุ่มผู้บริโภคมีความหลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นบรรจุภัณฑ์ หรือฉลากที่สวยงาม แปลกใหม่ ใช้งานง่าย ทนทาน ฯลฯ นวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ตลาดมากยิ่งขึ้น ทั้งระยะเวลาการผลิตไวขึ้น มีคุณภาพมากขึ้น รวมถึงกระบวนการผลิตแบบใหม่ๆ ที่สามารถเข้าถึงได้ โดยที่ผ่านมาพบว่าการพิมพ์นูนแบบดิจิทัล ได้รับการประยุกต์ใช้ในการพิมพ์ตราฉลากมากขึ้น 11.9% ในปี 2560 ตลอดจนการพิมพ์รูปแบบอื่นๆ ที่ได้รับการนำเข้ามาใช้เพื่อการผลิตยุคใหม่

                อย่างไรก็ดี พฤติกรรมการใช้จ่ายออนไลน์ยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้อุตสาหกรรมการพิมพ์และการบรรจุภัณฑ์ยังคงเติบโต โดยไม่ว่าจะเป็นสินค้าประเภทอาหาร และเครื่องดื่ม ไปจนถึงผลิตภัณฑ์ใช้งานในชีวิตประจำวัน ที่ผู้บริโภคต้องได้รับการส่งถึงหน้าประตูบ้านล้วนต้องการใช้แพ็กเกจจิ้งทั้งสิ้น แต่ขณะเดียวกันนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่จะเป็นข้อท้าทายหนึ่งที่สร้างการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมในประเทศ เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ เอเชีย จึงร่วมมือกับสมาคมการพิมพ์ไทย และสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย เตรียมจัดงานแพ็ก พริ้นท์อินเตอร์เนชั่นแนล 2019 มหกรรมจัดแสดงเทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ที่รวบรวมมาจากกว่า 300 องค์กร 25 ประเทศชั้นนำทั่วโลกอีกด้วย.

 

รุ่งนภา สารพิน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"