ปิดตำนาน หมอสะดำ อาวุโส หมอช้างรุ่นสุดท้ายแห่งเมืองสุรินทร์


เพิ่มเพื่อน    

14 มิ.ย. 62 - ผู้สื่อข่าวประจำ จ.สุรินทร์ รายงานว่า นายมิว ศาลางาม หรือ ครูมิว อายุ 91 ปี หมอสะดำ อาวุโส หมอช้างรุ่นสุดท้ายแห่งเมืองสุรินทร์ ได้เสียชีวิตด้วยอาการสงบ หลังป่วยติดแต่มานานหลายเดือน ที่บ้านพัก เลขที่ 64  บ้านตากลาง   ท่ามกลางบรรยากาศที่โศกเศร้า ของครอบครัว ลูกหลานและญาติพี่น้อง  กำลังช่วยกัน จัดเตรียมสถานที่ รดน้ำศพ และ สวดพระอภิธรรมศพในคืนแรก

จากการสอบถาม นายสุพจน์ ก้านอินทร์ อายุ 52 ปี หลานชาย “ครูมิว” เล่าว่า ตนและครอบครัว ศาลางาม รู้สึกเสียใจ กับการจากไป ของ ครูมิว หมอสะดำ อาวุโส หมอช้างรุ่นสุดท้าย เคยสอนวิชาคชศาสตร์ให้ตน  จนมีอาชีพเลี้ยงครอบครัวจนทุกวันนี้ ตนทราบข่าวว่า คุณลุงมิว เสียชีวิต ก็รีบเดินทางมาจาก จ.กาญจนบุรี ทันที เพื่อร่วมรดน้ำศพ และสวดพระอภิธรรมในคืนนี้

นายบุญธรรม ศาลางาม อายุ 48 ปีลูกชาย คนที่ 6 ของ  “ครูมิว” เล่าว่า คุณพ่อสอนวิชาคชศาสตร์ให้กับพี่ชายคนโต สืบแทน ส่วนตนเองก็ปฏิบัติตามที่ท่านสอนมา และจะพยายามเรียนรู้ไปเรื่อยๆ เพราะว่าอายุยังน้อย วิชายังไม่แกร่งกล้า สามารถ ควบคุมตัวเอง ตามแบบฉบับที่คนโบราณเขาทำ  ตนยังไม่พร้อม จึงให้พี่ชายคนโต สืบแทนคุณพ่อไปก่อน  ครอบครัว ศาลางาม เป็นควาญช้าง เลี้ยงช้างมาแล้วหลายชั่วอายุคน

ด้าน นายมา ทรัพย์มาก อายุ 78ปี หมอช้างที่เคยไปคล้องช้างด้วยกันกับ  ครูมิว” เล่าว่า ตนเคยไปคล้องช้างป่าด้วยกันกับตาหมิว แถวเวียงจันทน์ สปป.ลาว  กัมพูชา และพม่า ครูหมิว หมอสะดำ อาวุโส หมอช้างรุ่นสุดท้ายแห่งเมืองสุรินทร์ จับช้างป่าด้วยความเอาใจใส่ มีความมานะ เมื่อจับช้างป่าได้ก็นำมาฝึกปรือ บำรุงรักษาจนช้างมีความเชื่องกลายเป็นช้างบ้าน และคัดเลือกช้างที่มีลักษณะดีไว้เป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์  มีลูกศิษย์เป็นหมอช้างหลายคน

สำหรับประประวัติ นายมิว ศาลางาม เกิดเมื่อปี พ.ศ.  2471 ที่บ้านเลขที่ 64  บ้านตาต.กระโพ  อ.ท่าตูม  จ.สุรินทร์  เป็นบุตรของ  นายแก้ว  และนางมี   ศาลางาม มีพี่น้อง 4 คน เป็นชาย 3 คน หญิง 1 คน ได้รับการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  และสมรสกับนางมา   ศาลางาม   มีบุตรด้วยกัน 7  คน เป็นชาย 4 คน  หญิง  3  คน   นายมิว   ศาลางาม  เป็นชาวกูยอะจีง (กูยเลี้ยงช้าง) ได้เรียนรู้วิชาคชศาสตร์  ซึ่งเป็นวิชาสำคัญสำหรับกลุ่มชาติพันธุ์กูย โดยเป็นลูกศิษย์ของ หมอแก้ว  สุขศรี หมอท้าว ศาลางาม   ครูบาใหญ่ของช้างในสมัยนั้น)   เรียนรู้เกี่ยวกับช้างตั้งแต่อายุ  11 ปี   เป็นมะช้างติดตามหมอช้างไปกับกองคาราวาน  จับช้างป่าด้วยความเอาใจใส่ มีความมานะและได้รับการปะชิเป็นหมอช้างใหญ่  เมื่ออายุย่างเข้า  20  ปี  จากนั้นนำกองคาราวานช้างไปจับช้างป่าตามแนวเขาพนมดงรักในเขตราชอาณาจักรกัมพูชา  ปีละ 2 - 3  ครั้ง ๆ ละ 2 - 3 เดือน  เมื่อจับช้างป่าได้ก็นำมาฝึกปรือ บำรุงรักษาจนช้างมีความเชื่องกลายเป็นช้างบ้าน และคัดเลือกช้างที่มีลักษณะดีไว้เป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์  มีลูกศิษย์เป็นหมอช้างหลายคน อายุ  25  ปี ได้รับการเลื่อนระดับหมอช้างจากบรรดาหมอช้างด้วยกันขึ้นเป็น  “หมอสะดำ”  หรือหมอสะดำอาวุโส  จนกลายเป็นที่พึ่งของกลุ่มผู้เลี้ยงช้างในปัจจุบันทั้งในจังหวัดสุรินทร์ ต่างจังหวัดและต่างประเทศ

 ผลงานและเกียรติประวัติ 1.เป็นหมอช้างระดับ  หมอสะดำหรือ หมอสะดำาวุโส    (ปัจจุบันอยู่ในระดับครูบาใหญ่ หรือ กำลวงปืด) เพราะหมอช้างระดับครูบาใหญ่ได้เสียชีวิตหมดแล้ว สามารถเป็นผู้นำพิธีกรรมต่าง ๆ  เกี่ยวกับช้างและสามารถครองตนอยู่ในศีลธรรมกับฐานะ หมอสะดำ หรือหมอสะดำอาวุโส  จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา  80  ปี  เคยออกไปจับช้างป่ามากว่า  40 ครั้ง และสามารถจับช้างป่าได้ทั้งหมด   16  ตัว   มีความสามารถจ่มคาถาผีปะกำ  นำประกอบพิธีกรรมต่างๆ  เกี่ยวกับช้าง   เช่น  เซ่นผีปะกำ    การปะชิหมอช้าง  การปะซะหมอช้าง  การทำเชือกปะกำและการทำอุปกรณ์เกี่ยวกับการคล้องช้าง    เป็นต้น 

2.เป็นผู้เชียวชาญด้านคชศาสตร์ เช่น การดูคุณลักษณะของช้าง การบำรุงรักษาช้าง  การฝึกช้างต่อ  การเฝ้าระวังช้างการสังเกตช้าง  การคล้องช้างป่า การฝึกหัดให้ช้างเชื่อง  การรักษาช้าง  จิตวิทยาช้าง  สมุนไพรอาหารช้าง ได้รับเชิญทั้งภายในและต่างประเทศ   ให้เป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับช้างในพิธีต่าง  ๆ เช่น  การเปิดปางช้างหรือการตั้งศาลปะกำตามปางช้างต่าง ๆ  ในประเทศไทย   เป็นวิทยากรบรรยายเรื่องช้าง รับเชิญออกรายการโทรทัศน์  รับเชิญเป็นผู้นำประกอบพิธีเซ่นผีปะกำในโอกาสสำคัญ ๆ  และเป็นผู้นำหมอช้างและควาญช้างจากจังหวัดสุรินทร์  ไปช่วยเคลื่อนย้ายช้างป่าในกรณีเจ็บป่วย เช่น ที่จังหวัดกาญจนบุรีและที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน  จังหวัดฉะเชิงเทรา    เป็นต้น และ 3.  เป็นหมอช้าง ระดับครูบาใหญ่ที่อาวุโสที่สุดในปัจจุบัน จนได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมสาขาภูมิปัญญาชาวบ้าน(หมอช้าง)  จากชาวช้างในประเทศไทยและต่างประเทศ

การเลี้ยงช้างและการจับช้างป่า  ถือเป็นวัฒนธรรมของชาวกูยอะจีง  และชาวเขมร  ซึ่งมีการสืบทอดวิชาคชศาสตร์ติดต่อกันมาหลายชั่วอายุคน  และมีการจัดระบบความรู้และเผยแพร่ให้กระจายกว้างขวางออกไปสมกับที่  “ ช้าง ”   ได้รับการยกย่องเป็นสัญลักษณ์แห่งสยามมาแต่อดีต  ช้างจึงมีความสำคัญอยู่ในชีวิตจิตใจของชาวไทยทั่วไป นายมิว  ศาลางาม  เป็นผู้สืบทอดภูมิปัญญาและองค์ความรู้ด้านคชศาสตร์แก่ชาวไทยและชาวโลก  เป็นเสาหลักสำหรับการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับช้าง  และการแสดงของช้างในจังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดบุรีรัมย์ และเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญที่ทำให้จังหวัดสุรินทร์เป็นที่รู้จักแก่ชาวโลกทั่วไปว่า “สุรินทร์” แหล่งกำเนิดช้างแห่งเดียวในโลก.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"