ขีดเส้น12กค.62 ‘300รพ.เอกชน’ เข้าแจ้งราคายา


เพิ่มเพื่อน    

 กรมการค้าภายในแจงแนวทางการปฏิบัติเรื่องการแจ้งราคายา เวชภัณฑ์ และบริการทางการแพทย์ให้กับโรงพยาบาลเอกชน 300 แห่ง ย้ำต้องแจ้งราคายาภายใน 12 ก.ค. เวชภัณฑ์และบริการทางการแพทย์ 22 ก.ค. เผยหลังได้ข้อมูล เตรียมตรวจสอบ หากผู้บริโภคร้องเรียนโขกค่ารักษา ค่ายาเมื่อไร จะเข้าไปจัดการทันที    

    นายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยภายหลังจัดการประชุมชี้แจงแนวทางความโปร่งใสและเป็นธรรมด้านราคายา เวชภัณฑ์ บริการรักษาพยาบาล บริการทางการแพทย์ และบริการอื่นของสถานพยาบาล ตามประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 30 พ.ค.2562 ให้กับโรงพยาบาลเอกชนกว่า 300 แห่ง จากที่เชิญไป 353 แห่งว่า เป็นการชี้แจงเพื่อให้โรงพยาบาลเอกชนมีความเข้าใจตรงกันเกี่ยวกับการปฏิบัติตามประกาศ กกร. โดยราคาที่ต้องแจ้งมายังกรม ต้องเป็นต้นทุนของยา เวชภัณฑ์ และบริการทางการแพทย์ โดยที่ไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ เข้าไปด้วย เช่น ค่าห้อง ค่าแอร์ ค่าเภสัชกร ค่าจ้างพนักงาน ค่าสร้างตึกใหม่ เป็นต้น และในส่วนของยา จะต้องแจ้งราคาซื้อและขายยาในกลุ่มบัญชีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติมีสิทธิ์ทุกที่ (UCEP) และรายการยาที่มีการจำหน่ายสูงสุด รวม 3,992 รายการ ภายในวันที่ 12 ก.ค.2562 ส่วนราคาเวชภัณฑ์ 868 รายการ และค่าบริการทางการแพทย์ 5,286 รายการ ให้แจ้งภายในวันที่ 22 ก.ค.2562
    ทั้งนี้ หลังจากที่กรมได้รับข้อมูลทั้งหมดแล้ว ในส่วนของราคายา จะนำมาตรวจสอบกับบัญชีราคายาของกรมบัญชีกลางและข้อมูลที่ได้รับมาก่อนหน้านี้ ทั้งจากบริษัทผู้ผลิตยา และผู้นำเข้า เพื่อดูว่าเป็นราคาที่สอดคล้องกับต้นทุนหรือไม่ ถ้าสอดคล้องกับต้นทุน และเป็นราคาเฉลี่ยปกติ ก็จะไม่ทำอะไร จากนั้นจะนำราคาขึ้นไว้บนเว็บไซต์ของกรม และจัดทำ QR Code จัดส่งให้โรงพยาบาลเอกชนไปติดไว้เพื่อให้ผู้ป่วยได้ตรวจสอบได้ โดยคาดว่าจะตรวจสอบได้ตั้งแต่วันที่ 29 ก.ค.2562 เป็นต้นไป
    “หลังวันที่ 12 ก.ค.2562 จะดูว่าราคาแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน ถ้าไม่แตกต่าง ก็จะไม่ยุ่ง แต่ถ้ามีราคาสูงเกินจริง จะเชิญให้มาชี้แจงก่อน ถ้ายังไม่ร่วมมืออีก ก็ต้องใช้อำนาจตามกฎหมายเข้าไปดูแล ทั้งๆ ที่กรมไม่ได้อยากใช้อำนาจตามกฎหมายเลย โดยมาตรการที่จะนำมาใช้ได้ เช่น การกำหนดอัตรากำไรที่เหมาะสม แต่ตอนนี้ยังไม่ได้ไปถึงขั้นนั้น เพราะกรมไม่ได้ต้องการที่จะใช้มาตรการ และหลีกเลี่ยงการใช้มาตรการ หากโรงพยาบาลเอกชนให้ความร่วมมือ”นายวิชัยกล่าว
    นายวิชัยกล่าวว่า กรมยังได้ย้ำกับโรงพยาบาลเอกชนทุกแห่ง จะต้องให้การรักษาเท่าที่จำเป็น ห้ามรักษาเกินจริง และจะต้องแจ้งรายละเอียดให้ผู้ป่วยรับทราบด้วยว่าเป็นโรคอะไร ค่ารักษาเท่าไร เหตุการณ์แบบท้องเสีย มีค่าใช้จ่าย 3 หมื่นบาท จะต้องไม่เกิดขึ้นอีก และในใบสั่งยา จะต้องระบุรายละเอียดชื่อยา ราคายาให้ชัดเจน เพื่อให้ผู้ป่วยมีทางเลือกในการไปซื้อยาภายนอกโรงพยาบาล
    นอกจากนี้ ได้แจ้งโรงพยาบาลเอกชนอีกว่าปัจจุบันได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการในส่วนกลางและต่างจังหวัด เพื่อพิจารณาวินิจฉัยกรณีมีข้อร้องเรียนการรักษาที่เกินความเป็นจริง หรือคิดค่ารักษาสูงเกินสมควรแล้ว หากกรมได้รับการร้องเรียนจากผู้บริโภค จะเข้าไปตรวจสอบในทุกกรณี หากพบการกระทำผิด ก็จะดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
    นายวิชัยกล่าวว่า ภายในสัปดาห์นี้ กรมจะหารือกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เพื่อให้ คปภ.หารือกับสมาคมประกันชีวิต ในการปรับปรุงโครงสร้างเบี้ยประกันชีวิตและประกันสุขภาพให้สอดคล้องกับโครงสร้างราคายา เวชภัณฑ์ และบริการทางการแพทย์ ซึ่งมีแนวโน้มที่เบี้ยประกันจะลดลง รวมทั้งการกำหนดรูปแบบการเคลมประกันในการเรียกค่าสินไหมทดแทนจะต้องครอบคลุมทั้งราคายา เวชภัณฑ์ และบริการทางแพทย์ด้วย.
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"