'ปิยบุตร'ผลิตซ้ำวาทกรรมสองมาตรฐาน!หากศาลรธน.วินิจฉัยปมถือหุ้นสื่อต่างไปจากกรณี'ธนาธร'


เพิ่มเพื่อน    

21 มิ.ย.62 - ที่พรรคอนาคตใหม่ อาคารไทยซัมมิท นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ แถลงข่าวถึงกรณี ส.ส. ถือหุ้นสื่อ ว่า ตั้งแต่ปี 2562 แนวทางการตัดสินของศาล มี 2 กรณีได้แก่ 1.เกณฑ์การพิจารณาว่ามีการถือหุ้นสื่อจริงหรือไม่ 2.กรณีศาลรัฐธรรมนูญสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่เป็นการชั่วคราว โดยกรณีแรกมีคำพิพากษา 2 คดีหลักๆ ได้แก่ กรณีของนายภูเบศร์  เห็นหลอด ผู้สมัครส.ส.พรรคอนาคตใหม่ และ 2.นายคมสันต์ ศรีวนิชย์ ผู้สมัครส.ส.จากพรรคประชาชาติ  ซึ่งวางแนวทางไว้แล้วว่าพิจารณาจากหนังสือบริคนห์สนธิ หากมีวัตถุประสงค์ข้อใดข้อหนึ่งที่ระบุว่า เกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์ ถือว่า คนนั้น ทำบริษัทสื่อจริง โดยไม่ได้ดูว่าเขาประกอบกิจการจริงหรือไม่ แต่ดูจากวัตถุประสงค์ เท่านั้น ซึ่งทั้ง 2 ท่านก็ถูกพิพากษาว่ามีลักษณะต้องห้ามจนถูกตัดสิทธิ ซึ่งนี่เป็นแนวบรรทัดฐานกรณีแรก

 นายปิยบุตร กล่าวว่ากรณีต่อมาคือ  การร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญตามช่องทางมาตรา 82 ตามรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรนมูญ สามารถสั่งพิจารณาสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราว ซึ่งเกิดกับนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ  หลังจากที่ กกต.ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ซึ่งคำสั่งของศาลระบุว่า มีเหตุอันควรสงสัย และหากปล่อยให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจะเกิดปัญหาทางกฎหมาย จนเป็นอุปสรรคในสภาผู้แทนราษฎร

ทั้งสองกรณีทำให้เราต้องมาไล่กันว่า กรณีอื่นๆ ที่เคยเกิดขึ้น และกำลังจะเกิดขึ้น จะยึดบรรทัดฐานแบบไหน ทั้งนี้ มี 4 กรณีที่ใกล้เคียงกันได้แก่ 1.กรณีนายดอน ปรมัตถ์วินัย รมว.ต่างประเทศ 2.กรณี 4 รัฐมนตรี 3.กรณีของนายธนาธร 4. กรณี 41 ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล  ซึ่งกรณีนายดอน กกต. มีการยื่นคำร้องในวันที่ 1 พ.ค. 2560 ใช้เวลาพิจารณา 386 วัน ก่อนส่งศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญใช้เวลาพิจารณาว่าจะสั่งให้หยุดหรือไม่หยุดอีก 70 วัน สุดท้าย ศาลมีคำวินิจฉัยว่า นายดอนไม่ผิด

 กรณี 4 รัฐมนตรี กกต. มีการยื่นคำร้องต่อกกต.ในวันที่ 23 ม.ค. 2561 ใช้เวลา 355 วัน ถึงส่งคำร้องไปศาลรัฐธรรมนูญ ก่อนศาลรัฐธรรมนูญ ใช้เวลาพิจารณาอีก 75 วัน ก่อนวินิจฉัยว่าไม่ต้องหยุด และจนถึงตอนนี้ก็ยังรอคำวินิจฉัยอยู่ว่า ผิดหรือไม่ 

3.กรณีนายธนาธร มีการยื่นคำร้องต่อ กกต.ในวันที่ 25 มี.ค. 2562 กกต. ใช้เวลา 51 วัน ส่งคำร้องไปศาลรธรรมนูญ ก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญใช้เวลาเพียง 7 วันพิจารณารับคำร้อง ก่อนมีคำสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่เป็นการชั่วคราว ด้วยเหตุบังเอิญเป็นอย่างยิ่ง สั่งให้หยุด ในวันที่ 23 พ.ค. ซึ่งในวันที่ 24 เป็นวันเปิดสภา และวันที่ 25  พ.ค. เป็นวันประชุมสภาครั้งแรก 

เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ กล่าวต่อว่า ส่วนกรณี 41 ส.ส. นั้น ได้มีการยื่นเรื่องในวันที่ 4 มิ.ย 2562 ให้ประธานสภา ซึ่งประธานสภาใช้เวลา 8 วัน ก่อนยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ก่อนศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่อง ตอนนี้ก็ยังรอคำตอบอยู่ว่า ศาลมีคำสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่เป็นการชั่วคราวหรือไม่ จนถึงวันนี้ก็ผ่านไป 9 วันแล้ว ซึ่งก็ไม่ทราบว่า จะใช้บรรทัดฐานแบบใดกันแน่ ในเมื่อข้อเท็จจริงคล้ายกันทั้ง 4 กรณี เหตุใดกรณีของนายธนาธรจึงเร็วผิดปกติ

“ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการโต้แย้งกันว่า กรณีของนายธนาธรนั้นต่างกับกรณีอื่น ผมต้องเรียนว่า การถือหุ้นสื่อของนายธนาธร เมื่อเทียบกับกรณี 41 ส.ส. นั้นไม่เหมือนกันจริงๆ เพราะนายธนาธรโอนหุ้นหมดแล้วตั้งแต่วันที่ 8 ม.ค. 2562 ทำให้ไม่มีหุ้นสื่ออยู่ในมือ แต่ กรณี 41 สส นั้น ยังคงมีหุ้นอยู่หลังวันที่ 8 ม.ค. ไปแล้วอย่างชัดเจน โดยไม่ได้มีการถกเถียงกันด้วยซ้ำว่า ถือหุ้นอยู่จริงหรือไม่ แต่ที่พยายามบอกว่า บริษัทของพวกเขาไม่ได้ทำสื่อ ซึ่งผมอยากถามว่าแล้วกรณี นายภูเบศร์ และนายคมสันต์ ละ ตกลงประเทศนี้จะเอามาตรฐานแบบไหนกันแน่” เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ระบ

นายปิยบุตร กล่าวอีกว่าหากยึดเอาตามมาตรฐานของศาลฎีกา อย่างไรเสีย ก็ต้องวินิจฉัยว่า อยู่ในลักษณะต้องห้าม นอกจากนี้มีการโต้แย้งกันอีกว่า กรณีของนายธนาธรใช้เวลา 7 วัน แต่กรณี 41 ส.ส. นั้น เป็นการเข้าชื่อกันของสส. ซึ่งตนต้องเรียนว่า กรณีของนายธนาธร ไปเอามาจากคำร้องของนายคนหนึ่ง ที่ก็อปปี้มาจากข่าวของสำนักข่าวแห่งหนึ่ง โดยพิจารณาดูเพียง เอกสาร บอจ. 5 และหนังสือบริคนห์สนธิ โดยไม่ได้ไต่สวนให้ละเอียด 

นอกจากนี้ คณะกรรมการไต่สวนของกกต. ยังไต่สวนไม่จบ แต่ กกต.ทั้ง 7 ท่านกลับมีมติส่งเรื่องไปศาลรัฐธรรมนูญแล้ว หากจะบอกว่า กกต. ตรวจสอบละเอียดนั้นไม่น่าใช่ ขณะที่กรณี 41 ส.ส. เราค้นไปถึงว่ามีการประชุมผู้ถือหุ้นอยู่จริง มีพยานหลักฐานชัดเจนทั้งหมด หรืออย่าง กรณีนายคมสันต์ และนายภูเบศร์ นั้น กกต. ไม่ได้เรียก ทั้ง 2 ไปให้ข้อมูลใดๆ แต่ส่งเรื่องให้ศาลฎีกาตัดสินเลย เมื่อนำมาเทียบเคียงกันดู กับกรณีของนาย ดอน และ 4 รัฐมนตรี ใช้เวลาเกือบปี ในการตรวจสอบ พอไปถึงศาลยังใช้เวลาอีก 2 เดือนเศษก่อนจะบอกว่าไม่ต้องหยุดฏิบัติหน้าที่ เพราะฉะนั้นไม่เกี่ยวว่าผู้ร้องเป็น ส.ส. เข้าชื่อยื่นเรื่องผ่านประธานสภา หรือเป็นประชาชนที่ร้องไปยัง กกต.

กรณี 27 ส.ส. พปชร. ระบุว่าสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ เพราะกำลังปฏิบัติเรื่องสำคัญอยู่ ซึ่งตนต้องชี้แจงว่า คำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญนั้น ระบุว่า หากให้นายธนาธรปฏิบัติหน้าที่ต่อจะก่อให้เกิดปัญหาในสภา เนื่องจากเป็นการปฏิบัติภารกิจสำคัญ แต่ 27 ส.ส.กลับบอกว่า พวกเขากำลังทำหน้าที่สำคัญ เพราะฉะนั้นปล่อยให้พวกเขาทำหน้าที่เถอะ แล้วสุดท้ายมาตรฐานนั้นอยู่ตรงไหน หากเป็นเรื่องสำคัญเหมือนกัน ก็ต้องหยุด ไม่อย่างนั้นก็ยิ่งเสียหาย เพราะทั้ง 27 ท่านอยู่ในรัฐบาล เสียงปริ่มน้ำ ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงนายกรัฐมนตรีได้เลย หากใช้มาตรฐานเดียวกัน กรณี 41 ส.ส. ต้องได้รับการปฏิบัติแบบเดียวกัน

"พรรคอนาคตใหม่ยืนยันว่า ถ้าเลยเวลาแบบนี้ไปเรื่อยๆ ทั้งที่เป็นกรณีเดียวกัน เราไม่ได้มีอำนาจไปแทรกแซงการทำงานของศาล ศาลมีอำนาจพิจารณา แต่เราก็มีเสรีภาพในการแสคงความเห็น ที่อย่างน้อยต้องกระตุ้นเตือน ให้สังคมเห็นว่าทำไมเรื่องที่คล้ายกันถึงปฏิบัติไม่เหมือนกัน"  

เขา กล่าวอีกว่าขอเรียนว่า เราไม่ได้ตั้งคำถามต่อองค์กรใดองค์กรหนึ่ง แต่เป็นการตั้งคำถามต่อกระบวนการยุติธรรม พรรคอนาคตใหม่ไม่ได้เรียกร้องอะไรเลย เพียงแต่ขอให้มีมาตรฐานต่อกระบวนการยุติธรรมอย่างเท่าเทียมกัน สิ่งที่เหมือนกันต้องได้รับการปฏิบัติเหมือนกัน สิ่งที่แตกต่างกันก็ต้องได้รับการปฏิบัติแตกต่างกัน ความยุติธรรมจะเกิดขึ้นได้นั้นต้องตั้งอยู่บนศรัทธาของพี่น้องประชาชน ไม่ใช่การเขียนกฎหมาย ต่อให้คุณเขียนกฎหมายว่า ทุกองค์กรต้องใช้อำนาจด้วยความยุติธรรม ก็ไม่สามารถสร้างกระบวนการยุติธรรมได้

ผู้สื่อข่าวถามว่า การรวมคำร้องของ 27 ส.ส.เข้าไปในคราวเดียวกัน ทั้งที่แต่ละกรณีอาจมีการกระทำแตกต่างกัน นายปิยบุตร กล่าวว่าช่องทางตมมารตรา 82 เวลาเราเข้าชื่อ ต้องเอา สส เกิน  1 ใน 10 มาเข้าชื่อ ส่วนทั้งหมดจะแตกต่างกันอย่างไรนั้นในข้อเท็จจริงมีสาระสำคัญเหมือนกัน คือเป็นกรณีที่ ส.ส. ถือหุ้นหรือไม่ บริษัทที่ถือหุ้นนั้นทำสื่อหรือไม่ วิธีอธิบายคำร้องที่เราส่งไปยังประธานสภาฯ ก็ชี้แจงเรียงคน ทุกอย่างเป็นข้อเท็จจริงแบบเดียวกันหมด เราไม่ได้เขียนแบบคลุมเครือ

เมื่อถามว่า คำร้องของ พปชร. เป็นการใช้เทคนิคทางกฎหมายเพื่อชี้ช่องทางออกให้ศาลรัฐธณรมนูญ มีความกังวลเรื่องนี้หรือไม่ นายปิยบุตรกล่าวว่า ไม่มีปัญหา ตนเคารพวิธีการสู้คดีของแต่ละฝ่าย จะสู้เรื่องหยุมหยิมระหว่างเรื่องหนังสือกับคำร้องก็ไม่เป็นไร แต่มันไม่ส่งผลถึงขั้นยกฟ้อง แต่เรายืนยันว่า ทำเป็นคำร้องอย่างครบถ้วน

“ส่วนจะขอใช้วิธีการสู้คดีในการไต่สวน ทางเราดูกฎหมายแล้วพบว่าทำไม่ได้ แต่ถ้าท่านทำได้และศาลให้ทำ ผมก็ขอทำบ้างกับกรณีของนายธนาธร”นายปิยบุตร ระบุ

ถามถึงกรณี นายธนาธรขอขยายเวลาเข้าชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญไปอีก 15 วัน นายปิยบุตร กล่าวว่า ในชั้นการพิจารณาของศาล ถือเป็นชั้นสุดท้ายแล้ว มันต้องรอบคอบ และใช้สิทธิของเราตรวจสอบเอกสารให้แม่น ชัดเจนครบถ้วน

เมื่อถามว่า มีกรณีไหนหรือไม่ ที่ศาลฎีกามีคำตัดสินไปแล้ว แต่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินโดยสร้างบรรทัดฐานใหม่ นายปิยบุตรกล่าวว่า ยังไม่เคยมี คดีนี้ต้องลองจับตาดูว่าจะเป็นอย่างไร
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"