วิกฤติพลังงานไทยอยู่แค่คืบ


เพิ่มเพื่อน    

จากแรงกดดันขอกลุ่มคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ออกมาอดข้าวประท้วงกันที่หน้าสำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ประจำประเทศไทย ทำให้รัฐบาล โดย ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รมว.พลังงาน ยอมลงนามในบันทึกข้อตกลงร่วมกัน (เอ็มโอยู) กับกลุ่มผู้คัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่และเทพา

ด้วยข้อตกลงที่ประกอบไปด้วย 1.ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ.ถอนรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ของโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาและโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ออกจากสำนักงานนโยบายและแผนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ภายใน 3 วัน นับตั้งแต่วันลงนาม

2.ให้กระทรวงพลังงานจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ (SEA) เพื่อศึกษาว่าพื้นที่จังหวัดกระบี่ และอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา มีความเหมาะสมในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินหรือไม่ โดยดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในเวลา 9 เดือน และมีนักวิชาการที่เป็นกลางและเป็นที่ยอมรับทั้งสองฝ่าย หากผลออกมาว่าพื้นที่ไม่เหมาะสมทำโรงไฟฟ้าถ่านหิน กฟผ.จะต้องยุติสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งสองพื้นที่

3.หากผลรายงานออกมาว่าเหมาะสมต่อการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ในขั้นตอนการทำ EHIA จะต้องจัดทำโดยคนกลางที่ยอมรับร่วมกัน และ 4.ให้คดีระหว่างเครือข่ายผู้ชุมนุมกับ กฟผ.เลิกแล้วต่อกัน

แม้ว่าตามข้อเท็จจริงแล้ว การเดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่และเทพานั้นเป็นไปตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ พ.ศ.2558-2579 (PDP 2015) เพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าในภาคใต้ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเพื่อรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในภาคใต้เอง

ซึ่งจากกรณีดังกล่าวนั้นทำให้ต้องยอมรับกันว่า ความมั่นคงของระบบไฟฟ้านับจากนี้จะหายไปจากระบบทันที แม้ว่า รมว.พลังงานจะออกมาประกาศร้องว่า 5 ปีนับจากนี้ไม่จำเป็นต้องมีโรงไฟฟ้าถ่านหิน ภาคใต้สามารถมีไฟฟ้าเพียงพอ เพราะกระทรวงพลังงานได้มีแผนรองรับแล้ว การส่งเสริมให้มีการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 300 เมกะวัตต์ บอกเลยว่าขณะนี้ยังไม่มีเอกชนรายใดยื่นจำนงว่าจะเข้าไปผลิตเลย

ในขณะที่ความต้องการใช้กลับเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี ปีละ 3-4% โดยในปี 2560 มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด 2,624 เมกะวัตต์ มีปัจจัยหลักมาจากการส่งเสริมการท่องเที่ยวของรัฐบาล ช่วยดึงรายได้เข้าประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเมื่อมีการเติบโตของนักท่องเที่ยว ก็ต้องมีการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคต่างๆ รองรับ แต่เมื่อไม่สามารถที่จะพัฒนาได้ การส่งเสริมก็จะไม่ประสบความสำเร็จ

ที่สำคัญถือเป็นการส่งสัญญาณอย่างชัดเจนว่า นับจากนี้โครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่จะเกิดขึ้นก็คงยากเต็มที โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่จะไม่ใช่แค่โรงไฟฟ้าถ่านหินเท่านั้น แต่อาจจะหมายถึงโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าประเภทอื่นๆ อีกก็ได้

ดังนั้น จากนี้ไปคงต้องเป็นหน้าที่ของคนผูกที่ต้องไปแก้ปมของตัวเอง เพราะตามนโยบายของรัฐบาลที่พยายามผลักดันให้ประเทศไทยก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมได้สู่ยุค 4.0 และการผลักดันให้เกิดรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่จำเป็นที่จะต้องใช้ไฟฟ้าทั้งสิ้น เมื่อไม่สามารถสร้างโรงไฟฟ้าแล้วการส่งเสริมจะประสบความสำเร็จหรือ ก็คงต้องถามกับผู้ที่ออกมายืนยันว่าไม่เอาถ่านหิน และเอาพลังงานทดแทน

พร้อมกับต้องย้อนถามไปอีกว่า ประเทศไทยมีความพร้อมหรือยังที่จะใช้พลังงานทดแทนเป็นพลังงานหลักของประเทศ และถ้าบอกว่าซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อบ้านมาใช้แทน ก็ต้องถามว่าหากเกิดกรณีข้อพิพาทกันจะทำอย่างไร ส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง ก็บอกได้เลยว่าแหล่งสัมปทานที่ใกล้จะหมดอายุสัญญานั้น ยังไม่สามารถระบุได้ชัดว่าจะสามารถประมูลหาผู้รับสัมปทานรายใหม่ได้หรือไม่ เพราะยิ่งใกล้วันที่จะเปิดยื่นซองประมูลเท่าไหร่ กระแสการคัดค้านก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

ดังนั้นการคัดค้านโครงการใดๆ ก็ตาม อยากให้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงที่ไม่บิดเบือน หรือหยิบยกเอาข้อมูลเพียงส่วนหนึ่งมาพูดมาเขียนเท่านั้น ซึ่งการกระทำเช่นนี้มันจะสร้างความเสียหายให้กับประเทศอย่างมากมาย

และสุดท้าย รมว.พลังงานที่ลงนามเอ็มโอยูจะต้องหาทางออกให้กับปมปัญหาเหล่านี้ โดยเฉพาะวิกฤติพลังงานไทยที่กำลังคืบคลานเข้ามาใกล้ทุกที ก่อนที่จะขยายไปยังส่วนอื่นๆ ของเศรษฐกิจไทยจนลุกลามเป็นวงกว้างไม่สามารถแก้ไขปัญหาอะไรได้อีก.

บุญช่วย ค้ายาดี


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"