เศรษฐกิจหมุนเวียน ทางเลือกเพื่อสิ่งแวดล้อม


เพิ่มเพื่อน    

 วิกฤตการณ์ทรัพยากรของโลกที่กำลังลดลงอย่างต่อเนื่อง ตรงข้ามกับขยะที่เพิ่มขึ้นจนกลายเป็นปัญหาขยะล้นโลก โดยเฉพาะ “ขยะพลาสติก” ถือเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมของโลก จากรายงานสถานการณ์ของกรมควบคุมมลพิษ พบว่าประเทศไทยมีขยะเกิดขึ้นในปี 2560 ถึง 27.4 ล้านตัน หรือ 75,046 ตันต่อวัน ในจำนวนนี้ถูกนำไปกำจัดถูกต้อง 11.7 ล้านตันต่อปี, ใช้ประโยชน์ 8.52 ล้านตันต่อปี, กำจัดไม่ถูกต้อง 7.18 ล้านตันต่อปีขยะ ในส่วนนี้เป็นขยะพลาสติกถึง 12% หรือ 2 ล้านตันต่อปี

ทำให้ประเทศไทยได้ชื่อว่ามีปริมาณขยะพลาสติกติดอันดับ 5 ของโลก และมีขยะในทะเลมากที่สุดติดอันดับ 6 ของโลก ซึ่งมีปริมาณมากถึง 50,000-60,000 ตันต่อปี ซึ่งในจำนวนนี้เป็นถุงพลาสติก 80% อีก 20% เป็นขวดน้ำและเศษอาหาร

ดังนั้น รัฐบาลจึงได้เร่งรณรงค์ให้ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงภาคประชาชนร่วมกันลดขยะ อาทิ ลดใช้ถุงพลาสติก, ใช้ถุงพลาสติกหูหิ้ว และงดใช้โฟมบรรจุอาหารในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ การลดใช้ถุงพลาสติกหูหิ้ว และให้อาคารสำนักงานของหน่วยงานภาครัฐทั้งหมดมีกิจกรรมลดและคัดแยกขยะมูลฝอย

สำหรับในภาคเอกชนนั้น โดยเฉพาะ บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล หรือ GC ได้นำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือเซอร์คูลาร์อีโคโนมี (Circular Economy) มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนอย่างมีประสิทธิภาพและให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามหลักการ 3R ได้แก่ Reduce การลดการใช้ Reuse การใช้ซ้ำ Recycle การแปรรูปมาใช้ใหม่ ใช้ในการดำเนินงานเพื่อลดมลพิษจากขยะพลาสติก รวมถึงพัฒนาปรับปรุงระบบการจัดการขยะพลาสติกในประเทศอย่างครบวงจร ทันสมัย และเป็นไปตามหลักสากล รวมทั้งมุ่งเน้นความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนสู่ความยั่งยืน

นอกจากนี้ ยังร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย  (ททท.) และมูลนิธิอีโคอัลฟ์ ส่งเสริมการจัดการปัญหาขยะในแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลของไทย รวมถึงพื้นที่ชายฝั่งและหมู่เกาะในรูปแบบที่สร้างสรรค์และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยการแปรรูปขยะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่า และส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบเพื่อลดปริมาณขยะในทะเลไทยอย่างยั่งยืน

พร้อมทั้งต่อยอดทำโครงการ Upcycling Plastic Waste (อัพไซเคิล พลาสติก เวซท) ซึ่งเป็นโครงการเก็บรวบรวมขยะขวดน้ำพลาสติกในจังหวัดระยอง โดยเปลี่ยนขวดน้ำพลาสติกใช้แล้ว ให้เป็นเส้นใย ทอเป็นผืนผ้า และตัดเย็บออกมาเป็นสินค้าแฟชั่น และเปิดโอกาสให้หน่วยงานต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการสั่งซื้อหรือจัดทำสินค้าแฟชั่นจากผ้าของโครงการ อัพไซเคิล พลาสติก เวซท รวมถึงการมุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์ไบโอพลาสติก ซึ่งย่อยสลายไปตามธรรมชาติ เนื่องจากผลิตจากพืชจึงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งยังส่งเสริมการใช้บรรจุภัณฑ์จากพลาสติกทางเลือก หรือพลาสติกย่อยสลายได้ในรั้วมหาวิทยาลัย

ล่าสุด เมื่อมีการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 34 ในวันที่ 20-23 มิ.ย.ที่ผ่านมานั้น ประเทศไทยในฐานะที่เป็นประธานอาเซียน แสดงวิสัยทัศน์ในการเป็นหุ้นส่วนเพื่อความยั่งยืนระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหาขยะทะเล บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล หรือ GC ได้รับความไว้วางใจให้จัดทำของที่ระลึกที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิล โดยใช้กระบวนการแปรรูปขยะพลาสติก

ด้วยการออกแบบใส่ความคิดสร้างสรรค์ซึ่งเป็นการลดขยะพลาสติก ผสมผสานการถักทอด้วยฝีมือของชุมชน ได้แก่ ซองใส่ iPad และกระเป๋าแบบซองใส่เครื่องเขียนที่ผลิตจากพลาสติกประเภทโพลิเอทิลีน (PE) นับเป็นการกระจายรายได้สู่ชุมชนได้อีกทางหนึ่ง รวมไปถึงเสื้อโปโลตราสัญลักษณ์อาเซียนที่ผลิตจากขวดพลาสติกเหลือใช้ ประเภทโพลิเอทิลีน เทเรฟทาเลต (PET) สำหรับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการในการจัดประชุมตลอดทั้งปี นอกจากนี้ GC ยังได้สนับสนุนช้อนส้อมที่ผลิตจากพลาสติกชีวภาพ ที่สามารถย่อยสลายไปตามธรรมชาติเพื่อใช้ตลอดการประชุมด้วยเช่นกัน 

อย่างไรก็ตาม สุดท้ายแนวทางแก้ไขปัญหาขยะที่ถูกต้องที่สุดคือการสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนรักษาสิ่งแวดล้อมและการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างถูกวิธีและมีคุณค่าสูงสุด คือ แนวทางที่ดีที่สุด และแก้ปัญหาขยะล้นโลกได้อย่างถูกจุดที่สุด.

       บุญช่วย ค้ายาดี


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"