7พรรคแยกเขี้ยวขู่ลาก'ชวน-ศุภชัย'ขึ้นศาลฎีกาฯ ถ้าไม่บรรจุญัตติสอบที่มาสว.


เพิ่มเพื่อน    

27 มิ.ย.62 - เมื่อเวลา 16.00 น. ที่อาคารรัฐสภาฯชั่วคราว ห้องประชุมบริษัททีโอที ส.ส.ที่เป็นตัวแทนจาก7พรรคการเมืองฝ่ายค้าน อาทิ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน นายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ นายปิยบุตร แสงกนกกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ นายนิคม บุญวิเศษ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังปวงชนไทย เป็นต้น  ร่วมแถลงถึงกรณีนายชวน หลีกภัย ประธานสภา ไม่บรรจุญัตติที่ฝ่ายค้านยื่นร้องขอให้ตั้งกรรมาธิการวิสามัญตรวจสอบที่มาของส.ว.

นายปิยบุตรกล่าวว่า พรรคร่วมฝ่ายค้านได้ยื่นญัตติเกี่ยวกับเรื่องนี้ไปถึง 3 ญัตติ แต่กลับถูกรองประธานสภาคนที่ 2 ไม่บรรจุเข้าสู่วาระการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร อธิบายว่าส.ส.ไม่มีอำนาจในการตรวจสอบ จึงเสนอญัตติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญไม่ได้ แต่สิ่งที่เราตั้งญัตติไปนั้น ไม่ได้ไปตรวจคุณสมบัติต้องห้ามของส.ว. เพราะทราบดีกว่าคนที่จะตรวจสอบคือส.ว.ด้วยกันเอง แต่เราขอตรวจสอบการได้มาซึ่งส.ว. ทั้ง 7 พรรคการเมือง ให้ความสำคัญ เพราะเป็นประเด็นปัญหาที่อยู่ในความสนใจของประชาชน ทุกฝ่ายก็พยายามหาคำตอบว่ากระบวนการสรรหาเป็นอย่างไรกันแน่

"เราพยายามใช้ทุกช่องทาง แต่ถูกปิดหมด ในฐานะที่เป็นผู้แทน เมื่อประเด็นปัญหานี้ยังเป็นที่สงสัยในสังคม จะให้สภาผู้แทนฯ นั่งเฉยๆหรือ สิ่งที่รองประธานสภาฯ ไม่ยอมบรรจุ โดยอ้างว่าไม่มีอำนาจ คสช.ที่เป็นองค์กรสูงสุด เป็นรัฏฐาธิปัตย์ ไม่มีใครตรวจสอบได้นั้น มองว่าความเห็นแบบนี้เป็นอันตรายต่อระบอบประชาธิปไตย เพราะหมายความว่า อะไรที่เกี่ยวกับคสช. จะยุ่งกับไม่ได้เลยหรือ ทั้งที่อีกไม่กี่วันคสช. หมดอายุแล้ว"

นายปิยบุตร กล่าวว่าสภาผู้แทนฯ เป็นองค์กรที่มาจากการเลือกตั้งเพียงองค์กรเดียว จำเป็นต้องใช้อำนาจที่ได้รับมาจากประชาชนในการทำงานตรวจสอบต่างๆ ตามที่ประชาชนสงสัย หากรองประธานสภาฯ พิจารณาเช่นนี้ เท่ากับลดอำนาจของสภาผู้แทนฯลง วันข้างหน้าสภาฯ อยากพิจารณาเรื่องประกาศคำสั่งคสช. จะทำได้หรือไม่ หรือสุดท้ายแล้วเมื่อคสช.ไปแล้ว ผลผลิตการใช้อำนาจของเขายังอยู่ และเราไม่สามารถไปยุ่งอะไรกับเขาได้เลย แบบนี้เป็นอันตราย อยากให้รองประธานสภาฯ ทบทวน เพราะหากไม่ทบทวนจะมีปัญหาในทางกฎหมาย และพรรคร่วมฝ่ายค้านจะสงวนเรื่องนี้ไว้พิจารณาในทางกฎหมายต่อไป

ขณะที่ นพ.ชลน่าน กล่าวว่า หากประธานสภาฯ และรองประธานสภาวินิจฉัยเช่นนี้เป็นเจตนาที่จะละเมิดรัฐธรรมนูญ เพราะคสช. เป็นองค์กรที่เข้ามาใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ ฝ่ายนิติบัญญัติจึงมีหน้าที่ในการตรวจสอบ เรายื่นญัตติผ่านไป 8 วันแล้ว ข้อบังคับระบุว่า เมื่อสมาชิกยื่นญัตติด่วนให้กับประธาน ซึ่งประธานต้องแจ้งผู้ยื่นภายใน 5 วัน นับตั้งแต่วันรับญัตติ  แต่จนถึงวันนี้ยังไม่มีการแจ้งมา และหาก 7 วัน ไม่แจ้ง ญัตติเราเป็นญัติด่วนแน่นอน แต่ญัตติกลับไม่มีถูกบรรจุอยู่ในวาระ แปลว่าท่านเจตนาไม่บรรจุญัตติ และไม่แจ้งเจ้าของญัตติ 

ดังนั้นจึงมีความผิดคือ 1.เจตนาฝ่าฝืนกฎหมาย ป.ป.ช. มีหน้าที่ตรวจสอบ จะส่งเรื่องให้ป.ป.ช.ไต่สวนประธาน และรองประธานคนที่ 2 ที่ใช้อำนาจหน้าที่ในส่วนนี้ และส่งเรื่องให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และถ้ามีความผิดปรากฎชัดแจ้ง จะผิดกฎหมายอาญา มาตรา 157 ตามมาอย่างแน่นอน เป็นเรื่องที่เราไม่อยากให้เกิดขึ้น แต่จำเป็นต้องทำ หากไม่ทบวนบรรจุญัตติดังกล่าว จะเดินทางไปยื่นป.ป.ช. ในวันที่ 1 ก.ค. เพื่อให้ตรวจสอบในเรื่องดังกล่าวต่อไป.
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"