ท่องเที่ยวยั่งยืน


เพิ่มเพื่อน    

         

                รัฐบาลเดินหน้านโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเมืองรองเพื่อกระจายรายได้ไปสู่ท้องถิ่น ซึ่งสอดคล้องกับองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)  หรือ อพท. ที่มุ่งเน้นการพัฒนาท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก และเพื่อให้มีการบริหารจัดการที่มีศักยภาพ การกระจายรายได้ลดความเหลื่อมล้ำ การส่งเสริมวัฒนธรรมให้คงอยู่และการรักษาสิ่งแวดล้อม ดังนั้น อพท.จึงมีนโยบายพัฒนาพื้นที่ในรูปแบบที่เปิดให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วม ส่งผลให้ปัจจุบันได้มีการพัฒนาท่องเที่ยวโดยชุมชนใน 14-15 ชุมชนต้นแบบ ซึ่งพบว่าประชาชนในพื้นที่พิเศษเลยมีรายได้เสริมจากการท่องเที่ยวมากขึ้น

                ดังนั้น เชียงคานถือเป็น 1 ใน 9 อำเภอของจังหวัดเลยที่มีความโดดเด่นในวิถีชีวิตริมโขง มีความเป็นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ซึ่งการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา โดยเฉพาะถนนคนเดินได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากนักท่องเที่ยว

                ทั้งนี้ นายธรรมนูญ ภาคธูป ผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษเลย องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ได้ระบุว่า สิ่งที่ อพท.จะมีหน้าที่เข้าไปช่วยในด้านการบริหารจัดการพื้นที่ในการมุ่งเน้นความปลอดภัยทั้งด้านการจราจรและสุขภาพ และยังมองการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวกับ สปป.ลาว ที่จะเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวเข้ามายังไทยโดยทางรถยนต์ เพื่อกระจายจุดท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ซึ่งขณะนี้ได้หารือผ่านคณะทำงานท่องเที่ยวเชิงภูมิภาคที่จะยกระดับการประชาสัมพันธ์พื้นที่ท่องเที่ยวเชื่อมโยงสี่เหลี่ยมวัฒนธรรมล้านช้าง (CBT ล้านช้าง) ที่เชื่อมโยง 4 จังหวัดไทยกับ 4 แขวง สปป.ลาว ด้วยการจัดทำ “แอปพลิเคชัน ล้านช้าง” เพื่อแนะนำแหล่งท่องเที่ยว โรงแรม อาหาร ฯลฯ คาดว่าจะพัฒนาแล้วเสร็จในปี 2563

                นอกจากถนนคนเดินในเชียงคานแล้ว ยังมีการพัฒนาจุดท่องเที่ยวใกล้เคียงเป็นถนนศิลปะ (Street Art) มี 2 กิจกรรมคือ ภาพสามมิติ (3D) ภายใต้ธีมแม่โขง ริเวอร์อาร์ต ซึ่งได้รับความร่วมมือจากศิลปินจิตอาสาจากที่ต่างๆ มาวาดไว้ ณ ลานวัฒนธรรม ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากถนนคนเดิน ติดริมแม่น้ำโขง โดยภาพดังกล่าวสามารถมองเห็นได้ทั้งบนบกและทางเรือ

                รวมไปถึงการนำความเชื่อของคนเชียงคานแต่โบราณ มาจัดเป็นกิจกรรม ดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มีความเชื่อในเรื่องการปลดปล่อยความทุกข์ โดยใช้พิธี ”ลอยผาสาดลอยเคราะห์” ซึ่งอยู่ในบริเวณศูนย์ข้อมูลเชียงคาน ที่จะทำหน้าที่จัดหาอุปกรณ์เครื่องมือ และคนทำพิธีมาให้บริการ

                และส่งเสริม “ศูนย์เรียนรู้ประมงพื้นบ้านเชียงคาน" ซึ่งเป็นชุมชนดั้งเดิมที่ประกอบอาชีพประมงเป็นอาชีพหลัก และยังคงรักษาวิถีของชุมชนไว้ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถล่องเรือเรียนรู้วิถีประมง ที่สามารถร่วมกิจกรรมการจับปลาแบบประมงพื้นถิ่น รวมถึงร่องเรือริมแม่น้ำโขง เพื่อท่องเที่ยวชมบรรยากาศงานศิลปะ ”แม่โขงริเวอร์อาร์ต” ได้อีกด้วย

                และในระยะยาว อพท.ได้เตรียมความพร้อมเพื่อสร้างการตลาดท่องเที่ยวเพื่อความยั่งยืน โดยอาศัยโครงสร้างระบบพื้นฐานที่รัฐบาลได้ลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อม 3 สนามบินของไทย ซึ่งจะทำให้มีการรองรับนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้นทั้งใน สปป.ลาว จีน และยุโรป และจะทำให้เกิดศักยภาพในการเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ของไทยและ สปป.ลาว ไปยังจีน โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวกลุ่มคาราวานที่จีนและ สปป.ลาวมีความสนใจเดินทางเข้ามาไทยอย่างต่อเนื่อง

                โดยพบว่านักท่องเที่ยว สปป.ลาว ชอบเดินทางมาไทยโดยมีเป้าหมายไปเที่ยวพัทยา ซึ่งหากมีการสร้างจุดแวะท่องเที่ยวระหว่างทางใหม่ๆ ได้ก็จะทำให้เกิดการดึงดูดการเข้ามาของนักท่องเที่ยวมากขึ้น ขณะเดียวกันนักท่องเที่ยวกลุ่มยุโรปที่มาท่องเที่ยวพัทยา 10 ล้านคนต่อปี จุดนี้ก็สามารถที่จะดึงมาท่องเที่ยวในเส้นทางที่จัดไว้ได้เช่นกัน

                อย่างไรก็ตาม การส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนถือเป็นสิ่งที่ดี เพราะช่วยสร้างรายได้ให้กับชุมชน ลดปัญหายาเสพติด แต่สิ่งที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนลืมไม่ได้คือ การจัดการกับขยะที่จะตามมา ทางชุมชนต้องร่วมกันดูแลและบริหารจัดการเรื่องนี้อย่างเข้มงวด เพราะยิ่งมีปริมาณนักท่องเที่ยวมากเท่าไหร่ ปริมาณขยะก็จะมากขึ้นตามไปด้วย ถ้าไม่สามารถบริหารจัดการได้ คิดแต่กอบโกยผลกำไร ไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ท้ายสุดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่คาดหวังกันไว้ก็จะค่อยหายไปเหมือนกับหลายๆ เมืองของประเทศไทยที่กำลังประสบปัญหาอยู่ขณะนี้.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"