'มาร์ค-ปริญญา'ประสานเสียง วิพากษ์ยับรัฐธรรมนูญ 2560


เพิ่มเพื่อน    

10 ก.ค.62 - ในงานงานเสวนาหัวข้อ “การเมืองไทยภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560 ถอยหลังหรือเดินหน้า”  ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ วานนี้โดยมีนายปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายความยั่งยืนและบริหารศูนย์รังสิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ร่วมเสวนาด้วย

โดยนายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าการเมืองจะเดินหน้าหรือถอยหลังขึ้นอยู่กับเป้าหมายเราคืออะไร มองว่าเป้าหมายคือ 1.การกำหนดอนาคตทิศทางของประเทศต้องอยู่ในมือประชาชน 2.ทำให้คนที่ใช้อำนาจยึดหลักนิติรัฐนิติธรรมสุจริตตรวจสอบได้ นี่จึงเป็นเกณฑ์ชี้วัด เมื่อมองจากมุมนี้ต้องฟันธงว่า รัฐธรรมนูญ 2560 ทำให้การเมืองถอยหลัง อย่างรัฐธรรมนูญ 2550 ไม่ได้บอกเป็นฉบับปฏิรูป แต่มีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีนัยสำคัญ ถามว่าเป้าหมายของรัฐธรรมนูญ 2560 คืออะไร กระบวนการจัดทำไม่เคยพูดชัดว่า การจัดวางโครงสร้างทำไปเพื่ออะไร มีเพียง 2 คำคือ 1.การปฏิรูป แต่บทบัญญัติมากมาย ไม่ได้ส่งผลให้เกิดขึ้นอย่างที่คนคาดหวังเลย เช่นเดียวกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ก็ไปส่งเสริมรัฐราชการ 2.ปราบโกง แต่ถามว่า มีอะไรที่ปราบโกงมากกว่าฉบับอื่น แต่เป็นการวางเส้นทาง วางวัตถุประสงค์ทางการเมือง ถอยหลังไปถึงรัฐธรรมนูญ 2521

"ความเป็นจริงวันนี้ยิ่งชัด ถามว่าประชาชนมีความรู้สึกแค่ไหนว่า เจตนารมณ์ที่แสดงออกมาผ่านการเลือกตั้ง ได้สะท้อนออกมาในรัฐบาลชุดต่อไป ถ้าไม่มี 250 ส.ว.มาเลือกนายกฯ รัฐบาลที่จะเกิดขึ้นจะประกอบด้วย 19 พรรคแบบนี้ มันไม่เป็นแบบนั้น แต่เป็นเพราะ 250 คนที่ถูกตั้งมาแล้วเลือกไปในทิศทางเดียวกันหมด ส.ส.รัฐบาลให้สัมภาษณ์ชัดเจนว่ารัฐธรรมนูญออกมาเพื่อพวกเรา"

นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่าปัญหาที่ยิ่งใหญ่กว่านั้น ความขัดแย้งทางการเมืองยังสูงมาก หากมีการใช้อำนาจอย่างเป็นธรรมยังพอเห็นโอกาสว่าบ้านเมืองจะไปข้างหน้า แต่มีปัญหาตั้งแต่ก่อนเลือกตั้ง มีการใช้เงินรุนแรงที่สุดครั้งหนึ่ง ซื้อเสียงกันอย่างโจ่งแจ้ง ละเอียด ถี่ รวมถึงการใช้ทรัพยากรรัฐ ชัดเจนว่ามีการใช้อย่างโจ่งแจ้ง ส.ส.ทุกคนในสภาฯ ยืนยันได้ ไม่เพียงกติกาที่ออกแบบมาเอื้อฝ่ายหนึ่งแล้ว พฤติกรรมก็ยิ่งไปตอกย้ำสิ่งที่เกิดขึ้น มาถึงสูตรคำนวณ พรรคที่ได้คะแนน 30,000 กลับได้ ส.ส. แต่พรรคคะแนนหลักแสนไม่ได้ ต้องเอะใจได้แล้วว่ามันมีปัญหา

เขา กล่าวว่าการร้องเรียนน่าจะชัดเจนมาก เพราะมีเทคโนโลยีคอยช่วยดู แต่กลับแจกใบส้มเพียงหนึ่งใบ จึงคาดว่าไม่น่าจะมีเลือกตั้งซ่อม ที่จะกระทบดุลอำนาจของรัฐบาลเสียงปริ่มน้ำในสภาฯ จะเดินไปข้างหน้าอย่างไร คำตอบส่วนหนึ่งต้องกลับมาที่รัฐธรรมนูญ แต่เราก็ยังไม่เคยนำปมความขัดแย้งมาคลี่ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล ยังปล่อยให้การเมืองเดินเหมือนเดิม ท่ามกลางความขัดแย้งที่สูงขึ้น และเสถียรภาพรัฐบาล 

"สิ่งที่น่ากลัวคือการเอาชนะกัน สุดท้ายหนีไม่พ้นการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญด้วย ปัญหาคือ มันยากจนแทบเป็นไปไม่ได้ ถูกออกแบบมาเพื่อปกป้องให้เดินไปตามเส้นทาง ยิ่งลากไปความขัดแย้งก็ยิ่งสูงขึ้น ถ้ารัฐธรรมนูญไม่ได้แก้ เลือกตั้งใหม่ก็เป็นแบบนี้อีก ถ้าผู้มีอำนาจใช้อำนาจเพื่อประโยชน์ของตนเอง มันจะยาว ปัญหาคือสังคมจะยอมรับได้แค่ไหน ถ้าไม่ได้ แล้วรัฐธรรมนูญแก้ไม่ได้ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ไม่ใช่ฉบับสุดท้ายของประเทศไทย ต้องเริ่มกันใหม่อีก ต้องช่วยสร้างแรงกดดันให้ผู้อำนาจเห็น เพื่อคลายอำนาจเสีย ให้บ้านเมืองเดินหน้า"นายอภิสิทธิ์ กล่าว

ขณะที่นายปริญญา  กล่าวว่าตนไม่สบายใจนักเมื่อทราบว่าท่านมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธานกรรมาธิการยกร่าง จากเหตุการณ์นองเลือดปี 2535 ซึ่งเป็นผลสะท้อนจากการร่างรัฐธรรมนูญปี 2534 ที่ล้มเหลว สำหรับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันนั้นมองว่า ระบบเลือกตั้ง ส.ส. ทั้งแบบแบ่งเขต และแบบบัญชีรายชื่อ แต่การเลือกตั้งมีแบบแบ่งเขตอย่างเดียว ที่นำคะแนนทั้งหมดมาคิดเป็นที่นั่งแบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นในส่วนของตัวผู้สมัครรับเลือกตั้ง ในปี 2554 แม้จะมีเขตมากกว่า แต่ผู้สมัครแบบแบ่งเขตมีเพียง 2,422 คน เฉลี่ยเขตละ 7-8 คน แต่การเลือกตั้งที่ผ่านมามีถึง 11,128 คน เช่นเดียวกับจำนวนพรรคการเมืองที่เพิ่มขึ้น จึงมีการส่งสมาชิกไปในหลายเขต ที่ทำให้มีปัญหาสำหรับคนที่ต้องการเลือก ส.ส.แบบแบ่งเขต และบัญชีรายชื่อ คนละพรรคกัน

เมื่อผู้สมัครมากขึ้น และแต่ละเขตมีการจับเบอร์ใหม่ ยิ่งทำให้ประชาชนสับสนเรื่องเบอร์ของผู้สมัคร ต่างกันไปในแต่ละเขต ซึ่งผลลัพธ์คือ การเลือกตั้งครั้งนี้มีบัตรเสียมากที่สุดในประวัติศาสตร์ กรณีต่อมาคือ การคำนวณ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ที่สามารถคำนวณในรูปแบบที่เห็นต่างกันได้อีก ทำให้กว่า กกต.จะประกาศผลการเลือกตั้งต้องใช้เวลาถึง 45 วัน จากเดิมที่ใช้เพียงไม่เกิน 30 วัน

นายปริญญา กล่าวว่านอกจากนี้ ตอนที่ยังไม่ประกาศผลการเลือกตั้ง คิดว่าโอกาสที่ พล.อ.ประยุทธ์จะเป็นนายกฯ นั้นลำบาก เพราะอีกฝ่ายรวมเสียงได้แล้วเกิน 250 เสียง จนมีการตีความสูตรคำนวณ ส.ส.แบบบัญชีตามมาตรา 270 จนทำให้เป็นรัฐบาล 19 พรรค และกลายเป็นรัฐบาลที่มีพรรคการเมืองร่วมมากที่สุด เช่นเดียวกับการตั้ง ครม.ที่เรียกได้ว่าเปลี่ยนทุก 3 วัน เนื่องจากมีเพียง 35 เก้าอี้ ที่เป็นปัญหาตลอดทั้งสมัย เพราะทุกพรรคก็อยากมีส่วนร่วม  

"ขณะที่ระบบการได้มาซึ่ง ส.ว. ที่มีการตั้งงบไว้ 1,300 ล้าน แต่ใช้จริงเพียง 600 ล้านบาทนั้น แม้จะบอกว่า ส.ว.เป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย แต่ คสช.เป็นคนเลือกมา แล้วเราจะพูดได้อย่างเต็มปากหรือไม่ว่าเป็นตัวแทนของประชาชน รวมทั้งมีสิทธิ์เลือกนายกรัฐมนตรี ร่วมกับนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน"

ขณะที่ที่มาของนายกรัฐมนตรี หลังเหตุการณ์พฤษภา 35 เป็นต้นมา เรามีการแก้รัฐธรรมนูญให้นายกฯ ต้องมาจาก ส.ส. เพราะเราต้องการกันทหารออกไปจากการเมือง หากผู้นำเหล่าทัพประสงค์มีอำนาจต่อ ต้องลงมาเลือกตั้ง จนรัฐธรรมนูญฉบับ 2560 ก็ได้ถอดหลักการนี้ทิ้งไป ก่อนใส่มาตรา 88 ที่ระบุว่าสามารถให้พรรคการเมืองที่มีที่นั่งมากกว่า 25 ที่นั่ง เสนอชื่อได้ แต่กรณีที่ต้องติดตามดู คือการเป็นหัวหน้า คสช.นั้นเป็นเจ้าหน้าที่รัฐหรือไม่

"ผมมองว่าตัวแทนทั้งที่มาและไม่มาจากประชาชน อย่าง คสช.ควรจะถูกตรวจสอบด้วยเช่นกัน จากทั้งศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 องค์กรต้องผ่านการรับรองจากสมาชิกวุฒิสภา คำถามคือ ส.ว.มาจากใคร แล้วพวกเขาเหล่านี้จะถูกศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระตรวจสอบหรือไม่"นายปริญญา กล่าว

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"