‘ไพบูลย์’ปูดมีคนจ้องขวางแก้ไขระบบเลือกตั้ง


เพิ่มเพื่อน    

4 ส.ค.2564 - นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่…) แก้ไขมาตรา 83 และมาตรา 91 ว่าด้วยระบบเลือกตั้ง กล่าวถึงกรณีที่ยังมีข้อถกเถียงเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระแรกว่า ในการประชุมจะมีการเสนอที่ประชุมตามข้อบังคับรัฐสภาข้อที่ 124 ซึ่งมีความชัดเจนอยู่แล้วว่า การที่จะขอแปรญัตติมาในเรื่องที่เป็นไปตามหลักการสามารถทำได้ โดยเฉพาะเรื่องแบ่งเขตการเลือกตั้งและการใช้บัตร 2 ใบ รวมถึงยังมีเรื่องที่เกี่ยวเนื่อง ซึ่งตามหลักการสามารถทำได้ เพราะข้อบังคับรัฐสภา ข้อที่ 124 มีความชัดเจนอยู่แล้ว เมื่อมีผู้แปรญัตติมาก็ถือเป็นเอกสิทธิ์ของแต่ละคน ในส่วนของกรรมาธิการฯมีหน้าที่อย่างเดียวคือ นำคำแปรญัตติไปพิจารณาว่าจะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในคำแปรญัตติเหล่านั้น ส่วนการพิจารณาข้อบังคับที่มีฝ่ายโต้แย้งหากมีปัญหาที่ต้องตีความก็ต้องเป็นไปตามข้อบังคับข้อที่ 151 ที่เป็นอำนาจของรัฐสภาไม่ใช่เป็นอำนาจของ กมธ. สมาชิกที่มีความสงสัยจะต้องเข้าชื่อกันไม่น้อยกว่า 40 คน จากนั้นยื่นเรื่องต่อประธานรัฐสภา เพื่อพิจารณาในที่ประชุม หากเสียงที่ประชุมเกินกึ่งหนึ่งของเท่าที่มี ที่มีผู้ไม่เห็นด้วยและเห็นด้วยที่สุดแล้ว แต่ตีความก็ถือว่าจะเป็นไปตามนั้น แต่ในชั้น กมธ.จะมาตีความข้อบังคับเองนั้นทำไม่ได้ เพราะจะถือเป็นการก้าวล่วงอำนาจของรัฐสภาและเราจะไปตัดสิทธิ์ของผู้แปรญัตติโดยพละการไม่ได้ 

นายไพบูลย์กล่าวว่า ส่วนคำขอแปรญัตติที่มีกว่า 40 ฉบับนั้น ต้องมอบหมายให้มีคณะอนุกรรมาธิการฯ หรือคณะทำงานก็สุดแล้วแต่ ซึ่งจะต้องไปรวบรวมแล้วพิจารณาแล้วเสนอมา ถือเป็นเรื่องที่ทำกันมาปกติ การตั้งอนุ กมธ.ถือเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและวุ่นวาย เพราะการประชุมต้องมีเบี้ยประชุม ทั้งที่ทุกคนมีจิตเสียสละในการทำงานอยู่แล้ว เชื่อว่าหากตั้งเป็นคณะทำงานก็สามารถดำเนินการได้ รวมทั้งตอนนี้มีสถานการณ์โควิด แต่เราตระหนักดีว่า มาตรการที่ให้ทำงานที่บ้านหรืองานออนไลน์ต่างๆ แต่เรื่องการพิจารณากฎหมายไม่สามารถทำได้ การประชุมครั้งนี้ก็ไม่อยากประชุม แต่ว่ามีความจำเป็น และทุกคนก็ได้รับการฉีดวัคซีนเรียบร้อยแล้ว มีการป้องกันกันอย่างเต็มที่ และเราตระหนักในหน้าที่การเป็นสมาชิกรัฐสภา 

เมื่อถามว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ปมปัญหาที่เกิดขึ้นจะไม่เป็นเหตุทำให้การแก้บัตรเลือกตั้งสูญเปล่าใช่หรือไม่ นายไพบูลย์ กล่าวว่า ทุกอย่างเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มั่นใจว่าไม่มีปัญหา การแก้ไขครั้งนี้เป็นการแก้ไขรายมาตรา ไม่ได้มีปัญหาและไม่ได้เป็นการแก้ประเด็นที่ไปเกี่ยวเนื่องกับรัฐธรรมนูญมาตรา 256 ดังนั้นไม่ต้องไปประชามติเชื่อว่า ปัญหาน้อยและมีประเด็นเดียวที่เกี่ยวกับระบบเลือกตั้ง เราพยายามกระชับเวลา แต่ไม่ใช่เป็นการรวบรัดและไม่ใช่ว่าจะให้ใครไปเตะถ่วงหรือยืดเยื้อ ใช้เกณฑ์การเมืองต่างๆ กมธ.จะดำเนินการตามข้อบังคับที่เขียนไว้ว่า ต้องทำงานให้มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล  

เมื่อถามว่าตามไทม์ไลน์แล้วในวาระ 3 จะเสร็จทันสมัยประชุมนี้หรือไม่ นายไพบูลย์ กล่าวว่า คิดว่าทันในวาระ 3 คือก่อนวันที่ 18 ก.ย. จะพิจารณาเสร็จในวาระ 3 จากนั้นสามารถนำขึ้นทูลเกล้าฯ และเชื่อว่าเรื่องนี้ไม่น่าจะมีประเด็นไปส่งศาลรัฐธรรมนูญได้ เพราะเป็นเรื่องที่เสนอในการประชุมสภาเพื่อตีความในข้อบังคับเท่านั้น เว้นแต่ฝ่ายที่ไม่อยากให้แก้ระบบเลือกตั้ง และเสียผลประโยชน์ก็จะพยายามขัดขวางทุกวิถีทาง ถามว่าคิดว่าคนอื่นไม่รู้หรือว่า ตัวเองจะพยายามขัดขวางอย่างไร ยืนยันว่าเรื่องนี้ขัดขวางไม่ได้เพราะเราทำตามรัฐธรรมนูญ ส่วนจะเป็นใครขอให้ไปดูกันในสภา 

“ผมเป็นประชาธิปไตยจริงๆ แต่บางคนที่อ้างว่าเป็นประชาธิปไตย ถามว่าเป็นประชาธิปไตยจริงหรือไม่ เราไม่ใช่เสียงข้างมากลากไป เพราะพูดกันด้วยเหตุผล และทำตามรัฐธรรมนูญทุกประการทั้งนี้หากพิจารณาผ่านวาระ 3 แล้วก็จะมีการยื่นแก้ไข พ.ร.บ.การเลือกตั้งและพ.ร.บ.พรรคการเมือง ซึ่งจะอยู่ในช่วงปลายเดือนกันยายน จากนั้นต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 77 เพื่อรับฟังความคิดเห็นและคาดว่าจะบรรจุเข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณาของรัฐสภาได้ในสมัยประชุมต่อไป คือประมาณเดือนพฤศจิกายนหรือธันวาคม” 

เมื่อถามว่ามีการคาดว่าเมื่อกฎหมายลูกเสร็จสิ้นจะมีโอกาสในการยุบสภาหรือนายกฯ ลาออกจากตำแหน่ง นายไพบูลย์ กล่าวว่า เป็นคนละเรื่อง เพราะการยุบสภาอยู่อีกสถานการณ์หนึ่งและอีกเหตุผลหนึ่งที่จะเกิดขึ้น ไม่ได้มีเขียนไว้ว่าจะเกิดขึ้นจากเหตุการแก้ไขรัฐธรรมนูญ  

เมื่อถามย้ำว่า แต่มีการมองว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้เพื่อรองรับการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในเร็ววันนี้ นายยไพบูลย์ กล่าวว่า ในเร็ววันนี้คือปี 2566 ที่รัฐบาลจะครบวาระซึ่งรัฐบาลก็ต้องทำหน้าที่ให้ครบวาระ ส่วนการเรียกร้องต่างๆ ก็เป็นฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลที่อยากให้พวกตนเองได้เป็นรัฐบาล ถามว่าคนที่มาเรียกร้องนั้นมีกี่คน ทำไมไม่เคารพเสียงของคนหลายสิบล้านคน ขอให้รอการเลือกตั้งเพื่อมาพิสูจน์กัน ทำไมเสียงของคนนั้นคนนี้จะต้องมีความสำคัญมากกว่าเสียงของประชาชนทั่วไปเสมอ เพราะต่างคนต่างก็มีเสียงเท่ากัน ใครจะเสียงใหญ่กว่ากันไม่ได้และยิ่งบางคนไปแอบอ้างเป็นเพื่อนลูกสาวนายกฯ ใช้อภิสิทธิ์เรียกร้องต่างๆ เพื่อให้เสียงดังกว่าชาวบ้านและประชาชนคนอื่น บุคคลเหล่านั้นถือเป็นอภิสิทธิ์ชนไม่ใช่นักประชาธิปไตยที่จะต้องคำนึงถึงความเท่าเทียมกันและมีเสียงเท่ากันคือ 1 เสียงรวมถึงเคารพเสียงของคนอื่นด้วย  

เมื่อถามว่ามีการมองว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะราบรื่นหากผู้มีอำนาจเอาด้วยเพื่อเตรียมปูทางสู่อำนาจใหม่ในอนาคต นายไพบูลย์ กล่าวว่า ถ้าผู้มีอำนาจหมายถึงสมาชิกรัฐสภา ถือว่าใช่เพราะมีอำนาจตามรัฐธรรมนูญ ถ้าสมาชิกรัฐสภาเห็นด้วยการแก้ไขก็ผ่านและบังคับใช้ต่อไป ถามต่อว่าแต่ถ้าผู้มีอำนาจหมายถึง คสช.หรือฝ่ายบริหาร นายไพบูลย์ กล่าวว่า รัฐธรรมนูญไม่ได้ให้อำนาจเขาไว้ เพราะอำนาจเป็นของสมาชิกรัฐสภาที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติเท่านั้น  

เมื่อถามว่าการออกมาชุมนุมของกลุ่มต่างๆ ในตอนนี้เป็นจำนวนมาก รัฐบาลจะอยู่ครบเทอมหรือไม่ นายไพบูลย์ กล่าวว่า ไม่ได้มีการเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญว่า คนออกมาชุมนุมแล้วเราจะต้องทำตาม ซึ่งมันไม่มีผลอะไรแต่คนที่ออกมาชุมนุมต่างหากควรจะตระหนักไม่ทำผิดกฎหมาย ทั้งนี้เท่าที่ตนผ่านการชุมนุมมามาก ไม่เคยเห็นการชุมนุมอะไรที่กระจิ๊บกระจ้อยขนาดนี้ ก็เคารพสิทธิ์ทุกสิทธิ์ แต่หากจะมีการพูดอะไรก็ต้องเคารพสิทธิ์ของตนด้วย เพราะหนึ่งเสียงของตนคือไม่เห็นด้วยกับเขา เพราะทุกคนมีเสียงเท่ากัน เราเป็นประชาชนคนไทยต่างคนต่างมีหนึ่งเสียงเท่ากัน ไม่มีใครใหญ่กว่าใคร
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"