"กูรู"การศึกษาเมืองโคราช แฉทุจริตอาหารกลางวัน เป็นธรรมเนียมปกติผู้บริหารรร.รุ่นก่อนๆทำกัน ให้จับตารร.ขนาดใหญ่-กลาง


เพิ่มเพื่อน    

 

 

10 ก.ค.62-  ความคืบหน้าการตรวจสอบโครงการอาหารกลางวันเด็กนักเรียนในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา หลังจาก สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)ได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่สุ่มตรวจสอบตามโรงเรียนหลายแห่งพบมีมูลการทุจริต 4 แห่ง และสาธารณะชนภาคสังคมกำลังจับตามองตามข่าวที่เสนอไปแล้วนั้น
              ผศ.ดร.อดิศร เนาวนนท์ ประธานกรรมการสถานศึกษา จ.นครราชสีมา (  รวม 3 โรงเรียนในตัว จ.นครราชสีมา  ) กล่าวถึง โครงการอาหารกลางวันที่สังคมกำลังให้ความสนใจว่ามีการทุจริตเกิดขึ้น   จากประสบการณ์ที่ตนเคยมีความใกล้ชิด ทั้งในฐานะที่เป็นนักวิชาการด้านศึกษาศาสตร์ ครุศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเป้นประธานกรรมการสถานศึกษาหลายแห่ง และเคยเป็นผู้บริหารโรงเรียนมาก่อน ตอบได้ว่ามีโอกาสเกิดเรื่องนี้ แต่ต้องให้ความเป็นธรรมกับครูด้วย และเรื่องแบบนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นส่วนใหญ่ แต่เป็นส่วนน้อยของโครงการที่มีการส่อว่าจะทุจริต และ ต้องให้ความเป็นธรรมกับ จ.นครราชสีมาด้วย เพราะจริงๆเรื่องอย่างนี้ไม่ได้มีเฉพาะที่ จ.นครราชสีมาเพียงจังหวัดเดียว  บังเอิญเพียงแต่ว่า ประชาชนได้มาตรวจสอบ 
           ทั้งนี้  กระบวนการจัดสรรงบประมาณอาหารกลางวันตามรายหัว บางโรงเรียนมีนักเรียนอยู่แค่ 40-50 คนเอา 20 บาทคูณต่อวัน ก็จะได้งบฯน้อยจึงต้องเห็นใจโรงเรียนเหล่านี้  และคงไปจ้างแม่ครัวมาทำอาหารไม่ได้ ครูต้องตื่นแต่เช้าไปจับจ่ายวัตถุดิบที่จะมาทำอาหาร  ถ้าถามว่าภาพลักษณ์ที่เกิดขึ้นว่าครูทุจริตโครงการอาหารกลางวันนึกถึงครูและโรงเรียนเหล่านี้บ้าง  และเป็นโรงเรียนส่วนใหญ่ของประเทศที่ครูทำแทบจะทุกอย่าง ไม่ใช่แค่โครงการอาหารกลางวันอย่างเดียว แต่ยังมีโครงการอื่นอีกมากมาย แต่ภาพที่เกิดขึ้นกระทบครูไปเสียทั้งหมด     ผศ.ดร.อดิศร กล่าวอีกว่า ส่วนที่โอกาสที่จะเกิดการทุจริตขึ้น น่าจะเกิดขึ้นที่โรงเรียนขนาดใหญ่มากกว่า ด้วยเหตุผลง่ายๆ เช่น โรงเรียนที่มีเด็ก 3,000 คนแล้วเอา 20 บาทต่อวันคูณเข้าไป หรือบางโรงเรียน หรือหลายโรงเรียนใจไม่แข็งพอเห็นเงินก้อนใหญ่ 1.เข้ากระเป๋าตัวเองมีแน่นอน และที่สอบสวนกันยังไม่เสร็จก็มีในหลายแห่ง ตนคิดว่าอยู่ที่ ป.ป.ช.   2. คิดในทางที่ดี เป็นเทคนิคในการบริหารเงิน เช่น เงินค่าอาหารกลางวันจ่ายไม่ต้องครบ แต่เบิกตังค์ครบ ส่วนที่เหลือเเอาไปใช้ประโยชน์ทางการจัดการศึกษาอย่างอื่นก็มี เช่น พาเด็กไปประกวด หรือไปแข่งขันกิจกรรมต่างๆ บางโรงเรียนเหลือมาก เพราะเด็กมีมาก แต่ไม่ได้หมายความว่าเป็นอย่างนี้ทุกโรงเรียนก็ใช้เงินตรงนี้ด้วย  ฉะนั้นมันจึงมีโอกาสรั่วไหลไปยังกระเป๋าผู้บริหารเองและรั่วไหลไปในการใช้ทางการศึกษาแบบอื่น   ซึ่งไม่ถูกต้องแน่นอน แต่ถามว่าผู้บริหารรุ่นพี่ ผู้บริหารคนก่อนๆก็ทำอย่างนี้ไว้จนกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กร ที่ไม่ถูกแล้วคิดว่าตัวเองทำถูก   
    " ฉะนั้นผมอยากให้จับตาโรงเรียนขนาดใหญ่ และขนาดกลาง ซึ่งตัวอย่างแค่ 1,000 คนก็ใช้ได้แล้ว ไม่ต้องถึง 3,000 คนต่อวันต่อคน ที่มีเม็ดเงินเหลือจำนวนมาก ตนขอย้ำว่าเรื่องนี้มีเกิดขึ้นจริง แต่ส่วนน้อย แต่ก็ต้องปราบต้องตรวจสอบต้องระมัดระวังกันไว้ด้วย"ประธานกรรมการสถานศึกษากล่าว
          ผศ.ดร.อดิศรฯ ตบท้ายอีกว่า  เรื่องนี้ก็คิดว่าการจะเอาผิดดูแล้วค่อนข้างยาก และยืนยันว่ามีเหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้นจริงและเป็นส่วนน้อย และตนท้า ป.ป.ช.ว่า ป.ป.ช.ทำอะไรไม่ได้ และเกี่ยวพันกับอดีตผู้บริหารอีกหลายรุ่นทำกันเป็นธรรมเนียมวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่ถูกต้องติดต่อกันมา ไม่ใช่เพิ่งมีหรือเพิ่งเกิดขึ้น  

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"