อ.สมพงษ์ เชียร์"ณัฏฐพล-คุณหญิงกัลยา"รวมพลังลุยงานปฎิรูปการศึกษาให้เห็นเป็นรูปธรรม


เพิ่มเพื่อน    

9ก.ค.62- นายสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ตามที่เว็บไซด์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรีแล้วนั้น สำหรับในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ที่นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) นั้น ตนมองว่านายณัฏฐพลมาจากภาคเอกชนระบบการตัดสินใจ ระบบการเปลี่ยนแปลง ความรวดเร็วและความคล่องตัวจะดี อีกด้านหนึ่งคือ นายณัฏฐพล ทำเรื่องโรงเรียนเอกชนก็จะทำให้รู้เรื่องปัญหาการศึกษาประมาณหนึ่ง ดังนั้นจึงไม่ใช่คนที่ไม่มีพื้นฐานด้านการศึกษาเลย และอาจจะมีวิสัยทัศน์ และนโยบายที่มุ่งไปสู่ความเป็นสากล การมีงานทำ โรงเรียน 2 ภาษา การสร้างทักษะของศตวรรษที่ 21 สำหรับคุณหญิงกัลยา โสภณพนิช ที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) ซึ่งเคยเป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก็มีความรู้ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบสะเต็มศึกษา และนางกนกวรรณ วิลาวัลย์ รมช.ศธ. ตนก็เห็นถึงเรื่องการกระจายอำนาจไปสู่พื้นที่ ซึ่งส่วนตัวตนคิดว่าหากมีการหลอมรวมกันดีก็จะเป็นจุดแข็งของ ศธ.ได้

นายสมพงษ์ กล่าวต่อว่า สำหรับนายสุวิทย์ เมษินทรีย์ ที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) นั้น ตนมองว่าเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญโดยเฉพาะเรื่องการตั้ง อว. และตนคิดว่านายสุวิทย์ จะมองอนาคต แผนการดำเนินงานไปในทิศทางของอุตสาหกรรม นวัตกรรม เศรษฐกิจ ภาคเอกชน ซึ่งแนวความคิดชุดนี้มันค่อนข้างจะทำให้มหาวิทยาลัยได้รับอิทธิพลในด้านการบริหารการศึกษาและการจัดการการเรียนรู้ มีการปรับตัวครั้งใหญ่ ดังนั้น อว.จำเป็นที่จะต้องวางตำแหน่งตัวเองให้ดี ระหว่างอุตสาหกรรม นวัตกรรม เศรษฐกิจ และสังคมศาสตร์ สิ่งแวดล้อม ความเหลื่อมล้ำ คุณภาพชีวิต ต้องทำให้เกิดความสมดุลในระดับ 50 ต่อ 50 เพราะหากทำไม่ได้ในอนาคตมหาวิทยาลัยจะไปอยู่ในจุดที่เสี่ยงพอสมควร เพราะปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำ สิ่งแวดล้อม เป็นปัญหาที่ใหญ่เทียบเท่ากับอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจ ต้องดำเนินไปอย่างควบคู่กัน และนำไปสู่การปฏิบัติ ไม่ใช่แค่พูดลอยๆ เพื่อไม่ให้ระบบการศึกษาไทยเป็นไปตามแนวคิดเรื่องตลาดแรงงานเป็นใหญ่ ที่ไม่ใช่วิธีคิดแบบสร้างคุณภาพคน 


"ผมมีข้อเสนอแนะ ในฐานะที่เป็นผู้ที่จับตาเฝ้าระวังระบบการศึกษามาอย่างยาวนาน คือ 1.ควรจะนำประวัติการปฏิรูปการศึกษามาศึกษา ว่าเหตุใดจึงไม่สำเร็จ และงานส่วนใหญ่จะเป็นการตั้งคณะกรรมการ ประชุม และผลิตเอกสารให้คำแนะนำ แต่ไม่มีการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง ซึ่งการปฏิรูปการศึกษา ผมเชื่อว่าจะทำให้เห็นจุดแข็ง จุดอ่อน และได้โจทย์การปฏิรูปที่เป็นตัวตนและได้รับการยอมรับ 2.ควรฟังเสียงเด็กมากขึ้น ต้องเน้นให้เด็กมีส่วนร่วมกล้าแสดงออก 3.และผมอยากเห็นการสานต่องานปราบปรามทุจริต เรื่องนี้ ถือเป็นวิกฤตที่ศธ.ต้องดำเนินการต่อ 4.การบูรณาการนโยบายที่หาเสียงไว้ มาปฎิรูปการศึกษา หาคนที่ไม่ใช่พรรคพวก เพื่อตอบโต้ทางความคิด "
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"