เอื้ออาทรหลอนวัฒนา! 


เพิ่มเพื่อน    


    "วัฒนา" ดิ้นยื่นคำร้องให้ศาลฎีกานักการเมืองไต่สวนคำให้การพยาน 2 ราย อ้างถูกตัดตอนข้อความของพยาน เอกสารต้นฉบับถูกดึงออกทั้งปึก แล้วนำรายละเอียดอื่นมาตัดต่อใส่ไว้แทน ยันอดีตผู้ว่าการการเคหะฯ ให้การว่าตนเองไม่เคยเข้าไปแทรกแซง ด่า ป.ป.ช.ทำตัวเป็นเทวดา โวยถูกลากมาศาลเพราะการเมือง ตีปี๊บห่วงไปถึงคดี "ปู" โกงข้าวก็อาจมียัดไส้
    นายวัฒนา เมืองสุข สมาชิกพรรคเพื่อไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) แถลงข่าวกรณียื่นคำร้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ขอให้ไต่สวนบันทึกคำให้การของพยาน 2 ราย ในคดีทุจริตโครงการบ้านเอื้ออาทร คือ นายพิทยา เจริญวรรณ อดีตรองผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ กับนายพรศักดิ์ บุณโยดม อดีตผู้ว่าการการเคหะฯ ในชั้นคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ถูกตัดตอนข้อความของพยานในสาระสำคัญ จึงขอให้ศาลไต่สวนหาตัวผู้กระทำ 
    โดยเฉพาะคำให้การของนายพรศักดิ์จำนวน 23 แผ่น ซึ่งปรากฏว่าเอกสารตั้งแต่แผ่นที่ 15-22 พยานไม่ได้เซ็นชื่อกำกับ เป็นไปไม่ได้ที่จะเกิดจากพยานหลงลืม น่าเชื่อว่าเอกสารต้นฉบับถูกดึงออกทั้งปึกแล้วนำรายละเอียดอื่นมาตัดต่อใส่ไว้แทน 
    เขากล่าวว่า นอกจากนี้ ในคำให้การของนายพิทยา เจริญวรรณ ซึ่งให้การยืนยันว่า รมว.พม.ไม่เคยเข้ามาสั่งการหรือแทรกแซงโครงการบ้านเอื้ออาทร ไม่ได้กำหนดทีโออาร์ตามอำเภอใจ อีกทั้งทีโออาร์บ้านเอื้ออาทรก็ยังใช้อยู่ แม้บ้านเมืองผ่านการปฏิวัติมาแล้วถึง 2 ครั้ง ซึ่งรายละเอียดดังกล่าวถูกตัดออก จงใจไม่นำเสนอในชั้นศาล
    นายวัฒนากล่าวอีกว่า บันทึกคำให้การของพยานในชั้นคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และ คตส. เจ้าพนักงานไม่มีสิทธิ์ไปแต่งคำให้การ สาระสำคัญในคำให้การต้องคงเดิม เมื่อมีการตัดทอน ต่อเติมข้อความที่พิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนแล้วปล่อยให้คลุมเครือ ซึ่งเป็นความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารราชการ และเป็นเจ้าพนักงานในกระบวนการยุติธรรมกระทำการหรือไม่กระทำการให้ผู้หนึ่งผู้ใดต้องรับโทษหรือไม่ได้รับโทษ ตนจึงขอให้ศาลไต่สวน โดยศาลสั่งให้อัยการส่งคำคัดค้านภายในวันที่ 18 ก.ค.นี้ เมื่อทราบตัวผู้กระทำตนจะยื่นฟ้องและดำเนินคดีให้ถึงที่สุด 
    “ที่ผ่านมาการตรวจสอบ ป.ป.ช.ทำได้ยาก ทำให้ป.ป.ช.วางตัวเป็นเทวดา เมื่อศาลฎีกามีมติแล้วว่าบุคคลธรรมดาสามารถฟ้อง ป.ป.ช.ได้ จะทำให้ ป.ป.ช.ระวังตัวมากขึ้น คดีของผมเป็นเรื่องการเมือง ผมถูกลากมาศาลเพราะการเมือง ป.ป.ช.เป็นพนักงานสอบสวน ต้องรู้ว่าอะไรเป็นจุดเป็นจุดตายในคดี เอกสารในชั้น ป.ป.ช.มีเป็นหมื่นแผ่น ถ้าผมไม่เป็นทนายความก็คงตรวจไม่พบความผิดปกติ จึงเป็นห่วงไปถึงคดีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งมีเอกสารมากกว่า 6 หมื่นแผ่น หากมีการยัดไส้เอกสารคงยากต่อการตรวจสอบ” นายวัฒนากล่าว
    เมื่อวันที่ 10 มิ.ย.ที่ผ่านมา ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไต่สวนพยานโจทก์คดีทุจริตโครงการบ้านเอื้ออาทร โดย น.ส.ประเทือง ภิรมย์นก อดีตพนักงานฝ่ายการเงิน บริษัท พาสทิญ่าไทย จำกัด เบิกความต่อศาลสรุปว่า ตนมีหน้าที่ทำเอกสารสั่งจ่ายเช็คตามคำสั่งของหัวหน้าฝ่ายการเงิน ซึ่งได้รับคำสั่งมาจากผู้บริหารอีกต่อหนึ่ง โดยบริษัทมีผู้ถือหุ้นเป็นชาวมาเลเซีย 3 คน และคนไทย 1 คน ซึ่งผู้อนุมัติเช็คเป็นชาวมาเลเซีย ส่วนเงินที่สั่งจ่ายถูกบันทึกว่าเป็นค่าที่ปรึกษา ซึ่งได้สั่งจ่ายเช็ค รวมทั้งหมด 60 ล้านบาท แต่แยกจ่ายเช็คหลายใบ สั่งจ่ายแต่ละครั้ง 1-2 ล้านบาท และการจ่ายจะระบุเป็นเงินสดโดยไม่ได้ระบุเป็นชื่อผู้รับเช็ค ทั้งนี้ หลังจากสั่งจ่ายเช็คไม่ทราบว่าเป็นของใคร หรือนำไปทำอะไร รวมถึงไม่ทราบว่าบริษัทมีที่ปรึกษากี่คน ส่วนที่เคยให้การกับ คตส.และกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) พนักงานสอบสวนไม่ได้สอบถามในรายละเอียดเกี่ยวกับการสั่งจ่ายเช็ค ถามเพียงข้อมูลการทำงานเท่านั้น
       ส่วนนางชดช้อย พงศ์ไพโรจน์ ผู้ประกอบการบริษัทเอกชน พยานปากที่ 2 เบิกความว่า บริษัทได้เข้าร่วมโครงการบ้านเอื้ออาทรกับการเคหะแห่งชาติ ก่อนที่นายวัฒนา จำเลยที่ 1 รับตำแหน่งเป็น รมว.พม. และไม่เคยหารือกับนายวัฒนาเกี่ยวกับการทำโครงการ โดยได้ติดต่อนายอริสมันต์ให้ช่วยหาที่ดิน ซึ่งนายอริสมันต์ได้แนะนำเสนอที่ดินในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 6 แปลง ซึ่งนายอริสมันต์แจ้งว่าหากได้รับการอนุมัติให้ร่วมโครงการต้องจ่ายค่าดำเนินการให้ผู้ใหญ่ 40 ล้านบาท และ 7.6 ล้านบาทเป็นค่านายหน้า โดยมีที่ดิน 2 แปลงผ่านหลักเกณฑ์ให้ทำโครงการได้ จึงทำการซื้อจำนวน 2 แปลง ภายหลังที่บริษัทได้รับการอนุมัติให้ทำโครงการ ก็มีผู้โทรศัพท์เข้ามาอ้างชื่อนายวัฒนา ทวงถามเงินค่าดำเนินการอนุมัติโครงการจำนวน 40 ล้านบาท ซึ่งตนไม่ทราบว่านายวัฒนา จำเลยที่ 1 อยู่ในนิวยอร์กเพื่อร่วมประชุมกับสำนักงานองค์การสหประชาชาติ ส่วนเงินจำนวนดังกล่าวยืนยันมีการจ่ายจริง โดยตนได้เป็นผู้ดำเนินการแทนเจ้าของที่ดิน ขณะที่โครงการประชาวัฒนาในพื้นที่ลาดกระบัง หลังจากได้รับอนุมัติโครงการ มีนายอภิชาต จันทร์สกุลพร จำเลยที่ 4 โทร.มาทวงเงินค่าดำเนินการให้กับผู้ใหญ่ในกระทรวง แต่ตนได้ปฏิเสธไป ทั้งนี้ ยืนยันว่าตลอดการทำโครงการบริษัทไม่ได้มีการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่การเคหะแห่งชาติหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ
    ต่อมาช่วงบ่าย อัยการโจทก์นำพยานขึ้นเบิกความอีก 2 ปาก โดย น.ส.วิชชุดา รักจันทร์ อายุ 43 ปี อดีตหัวหน้าฝ่ายการเงินบริษัท กล่าวว่า ตนมีหน้าที่รับผิดชอบการเบิกจ่ายเงินของบริษัท โดยระหว่างที่บริษัทเป็นคู่สัญญาในโครงการบ้านเอื้ออาทร ผู้บริหารได้สั่งให้จัดทำเช็ค 11 ฉบับ จำนวน 18 ล้านบาท และเช็ค 34 ฉบับ จำนวน 63 ล้านบาท เพื่อจ่ายให้กับผู้บริหารการเคหะแห่งชาติ จึงได้สั่งการต่อให้ผู้ใต้บังคับบัญชาจัดทำเช็คดังกล่าว ต่อมาทราบจากผู้บริหารอีกคนของบริษัทว่าเป็นการสั่งจ่ายให้นายวัฒนา เมืองสุข รมว.พม.ในขณะนั้น ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวถูกบันทึกในบัญชีไว้เป็นค่าใช้จ่ายต้องห้าม เพื่อหักออกจากรายได้ของบริษัท เพราะรายจ่ายนี้ไม่มีใบเสร็จ แต่ในเอกสารรายงานระบุเป็นค่าใช้จ่ายที่ปรึกษา อย่างไรก็ตาม ไม่ทราบว่าเช็คดังกล่าวถูกโอนเข้าบัญชีใคร เพราะเมื่อนำเช็คส่งให้ผู้บริหารที่สั่งให้ทำเช็คก็ไม่ได้สอบถาม
    ขณะที่ น.ส.รุ่งทิพย์ จารุทรรศนกุล เจ้าของที่ดินในโครงการบ้านเอื้ออาทร เบิกความสรุปว่า น้องชายตนแจ้งว่าจะหาคนมาซื้อที่ดิน ซึ่งน้องชายตนเป็นเพื่อนกับน้องชายของนายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง น้องชายตนบอกว่านายอริสมันต์จะช่วยให้ขายที่ดินได้ ต่อมานายอริสมันต์ได้มาติดต่อเสนอจะนำที่ดินของตนให้การเคหะฯ พิจารณาทำโครงการบ้านเอื้ออาทร โดยแนะนำให้บริษัทของนางชดช้อยเป็นผู้ซื้อที่ดิน และให้น้องชายตนเป็นกลุ่มนายหน้า ตนจึงเสนอขายที่ดินไร่ละ 2.5 ล้านบาท มีการทำสัญญาซื้อขายกับบริษัทของนางชดช้อยพร้อมวางมัดจำ 1 ล้านบาท ซึ่งการเจรจาซื้อขายมีครั้งหนึ่งนายอริสมันต์แจ้งว่าต้องมีค่าดำเนินการให้ผู้ใหญ่ 40 ล้านบาท และ 7.6 ล้านเป็นค่านายหน้า กระทั่งโครงการได้รับอนุมัติเมื่อเดือนม.ค.49 นางชดช้อยให้ตนเสนอราคาไปที่การเคหะฯ ไร่ละ 3 ล้านบาท เพราะต้องใช้ดินถมที่จำนวนมาก แต่ตนไม่มีประสบการณ์ติดต่อกับหน่วยงานราชการ ดังนั้น เงินค่านายหน้า ค่าถมที่ดิน และค่าดำเนินการที่ได้มอบให้นางชดช้อยดำเนินการ ซึ่งตนไม่เห็นตัวเลขที่แท้จริงของเงินที่จ่ายไป ไม่ทราบว่านางชดช้อยจ่ายให้ใครบ้าง และไม่ทราบว่าผู้ใหญ่ของการเคหะเป็นใคร
    “ดิฉันไม่รู้ว่าผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการเสนอราคาให้ส่วนราชการเท่าไหร่ แต่ดิฉันต้องการขายที่ดิน 2 แปลง รวม 97 ไร่เศษ ในราคาไร่ละ 2.5 ล้านบาท ดังนั้นส่วนต่างที่เป็นค่านายหน้าหรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ ดิฉันบอกไปว่าไม่ขอรับรู้ ให้ไปดำเนินการกันเอง แต่ต่อมาทราบว่าเช็คเงินสด 7.6 ล้านบาทเป็นค่านายหน้าให้น้องชายตน ส่วนเช็คเงินสด 40 ล้านบาทไม่ทราบว่าใครเป็นผู้รับไป” น.ส.รุ่งทิพย์กล่าว.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"