8 กองทุนสวัสดิการชุมชนรับรางวัล'ผู้สรรค์สร้างความมั่นคงของมนุษย์' ตามแนวคิดของ 'อ.ป๋วย อึ๊งภากรณ์' 'คุณภาพแห่งชีวิต ปฏิทินแห่งความหวัง จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน' ครั้งที่ 3


เพิ่มเพื่อน    

รางวัล ผู้สรรค์สร้างความมั่นคงของมนุษย์ตามแนวคิดของศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์  “คุณภาพแห่งชีวิต  ปฏิทินแห่งความหวัง  จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน ปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 3

มีกองทุนสวัสดิการชุมชนทั่วประเทศส่งผลงานเข้าประกวดรวม 49 กองทุนฯ  ผ่านการพิจารณารอบแรก 30 กองทุน  และคณะกรรมการได้พิจารณาคัดเลือกกองทุนที่ได้รับรางวัลในประเภทต่างๆ รวม 8 กองทุน โดยจะมีพิธีมอบรางวัลในวันที่ 9 มีนาคมนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย

ผศ.ดร.จิตติ  มงคลชัยอรั­­ คณบดีวิทยาลัยพัฒนศาสตร์  ป๋วย  อึ๊งภากรณ์  กล่าวว่า  การจัดประกวดรางวัล ผู้สรรค์สร้างความมั่นคงของมนุษย์ระดับชาติ จะจัดขึ้นทุกปี เริ่มครั้งแรกในปี 2559 โดยในปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ยกย่อง เชิดชู องค์กร/กองทุนสวัสดิการชุมชนที่ดำเนินการงานช่วยเหลือ  ดูแลคุณภาพชีวิตคนในชุมชนอย่างโดดเด่นในด้านต่างๆ 

2.เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของกองทุนสวัสดิการชุมชนในพื้นที่  จังหวัด  ภาค  และประเทศ  และขยายผลกองทุนฯ ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ 3.เพื่อกระตุ้นให้รัฐบาล ภาคเอกชน และสังคม ตระหนักถึงคุณค่าของแนวคิดเรื่องคุณภาพชีวิต ปฏิทินแห่งความหวัง จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน และนำไปสู่การพัฒนาระบบปฏิบัติการด้านสวัสดิการให้ประชาชนเข้าถึงและเหมาะสมต่อไป

ทั้งนี้กองทุนสวัสดิการที่ส่งผลงานเข้าประกวดจะต้องมีคุณสมบัติต่างๆ ตามหลักเกณฑ์  เช่น 1.เป็นกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบล/เมืองที่มีการดำเนินงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี 2.สมาชิกและผู้รับประโยชน์ของกองทุนสวัสดิการชุมชนมีความ

หลากหลาย  ครอบคลุมทุกเพศ  ทุกวัย  รวมถึงเยาวชน คนชรา  คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส  และสมาชิกกระจายพื้นที่ในตำบล รวมทั้งมีแผนการพัฒนา  และมีการขยายจำนวนสมาชิกในแต่ละปี  

3.มีการจัดสวัสดิการชุมชนไม่น้อยกว่า 6 เรื่อง  เช่น  เกิด  เจ็บ  ตาย การศึกษา  อาชีพ  การจัดการที่อยู่อาศัย/ที่ดินทำกิน  การดูแลทรัพยากรธรรมชาติ ฯลฯ ที่ครอบคลุมทั้งสมาชิกและคนในชุมชน โดยรวมการจัดสวัสดิการที่เป็นตัวเงิน  และไม่ใช่ตัวเงิน  และเชื่อมโยงสวัสดิการกับงานพัฒนาด้านต่างๆ ในชุมชน ฯลฯ

การพิจารณามอบรางวัลแบ่งออกเป็น 9 ประเภท  คือ 

1. ด้านการสร้างครอบครัวอบอุ่น   การดูแลผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตและคุณค่าในสังคม  2. ด้านการส่งเสริมสุขภาพ  การรักษาดูแล  ป้องกันสุขภาวะในชุมชน  3. ด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชนและการศึกษา  เพื่อการเติบโตเป็นคนดีและมีคุณภาพ  4. ด้านการพัฒนาการประกอบอาชีพ  พัฒนาระบบเศรษฐกิจของครัวเรือนและชุมชน  และการแก้ไขปั­หาหนี้สิน

5.ด้านการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

การอนุรักษ์พลังงาน  การจัดการขยะ  การจัดการและฟื้นฟูภัยพิบัติ

6. ด้านการจัดการที่ดิน/จัดสรรที่ดินทำกิน การสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารและที่อยู่อาศัย 7. ด้านการบริหารจัดการกองทุนที่ดีและมี

ธรรมาภิบาล  8. ด้านผลงานการจัดสวัสดิการชุมชนแบบองค์รวม  หลายมิติ  สามารถเชื่อมโยงและบูรณาการทรัพยากรจากหลากหลายแห่งเพื่อ

แก้ไขปั­หาของสมาชิกได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ 9.ด้านการฟื้นฟูระบบคุณค่าทางวัฒนธรรม  การอยู่ร่วมกัน การช่วยเหลือเกื้อกูลระหว่างกลุ่ม หนุนช่วยเพื่อน รวมทั้งร่วมมือกับหน่วยงาน ภาคี เครือข่ายต่างๆ เพื่อแก้ไขปั­หาของชุมชนและสังคม

    

กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ตำบลน้ำขาว จ.สงขลา   ต้นแบบกองทุนสวัสดิการภาคประชาชน

 

สวัสดิการภาคประชาชนถือเป็นเรื่องใหม่ในสังคมไทย  เพราะที่ผ่านมาผู้ที่จะได้รับสวัสดิการสังคมต่างๆ จะเป็นข้าราชการ  พนักงานรัฐวิสาหกิจ  ลูกจ้างรัฐ  และพนักงานบริษัทเอกชน  โดยมีรูปแบบสวัสดิการที่หลากหลายและแตกต่างกัน  เช่น  สวัสดิการเบิกค่ารักษาพยาบาล (ครอบคลุมครอบครัวการลาคลอด  ลาบวช  ลาหยุด (ได้รับเงินเดือนและค่าจ้างตามปกติการประกันอุบัติเหตุ  ประกันสังคม  เงินค่าชดเชย  ฯลฯ 

ส่วนเกษตรกร  ชาวไร่  ชาวนา  ประมงพื้นบ้าน  แรงงานนอกระบบ  แรงงานเร่ร่อนไร้สังกัด  ฯลฯ  ซึ่งเป็นประชากรกลุ่มให­่ของประเทศ  ล้วนแต่ไม่มีสวัสดิการใดๆ มารองรับ  โดยเฉพาะสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาล จนเข้าสู่ยุค

’30 บาทรักษาทุกโรค  ตั้งแต่ปี 2545  เป็นต้นมา  ประชากรกลุ่มนี้จึงมีหลักประกันด้านสุขภาพขึ้นมา

อย่างไรก็ตาม  ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา  มีการรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่นโดยประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ  ผ่านกิจกรรมต่างๆ  ที่ได้รับการสนับสนุนทั้งจากภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชน  เช่น  การจัดตั้งกลุ่มอาชีพ  กลุ่มปุ๋ย  กลุ่มทำนา  กลุ่มโรงสีข้าวชุมชน  กลุ่มยางพารา  กลุ่มประมงพื้นบ้าน  กลุ่มออมทรัพย์  กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ กลุ่มสหกรณ์  กองทุนหมู่บ้าน ร้านค้าชุมชน  กลุ่มผู้สูงอายุ  กลุ่มสตรี  กลุ่มฌาปนกิจ ฯลฯ 

กลุ่มต่างๆ เหล่านี้จะช่วยเหลือสมาชิกในด้านต่างๆ  เช่น  การให้กู้ยืมเงินประกอบอาชีพ  หรือเมื่อมีผลกำไรจากการดำเนินการก็จะนำมาปันผลให้สมาชิก  หรือช่วยเหลือสมาชิกในยามเจ็บไข้ได้ป่วย ฯลฯ  ถือเป็นสวัสดิการภาคประชาชนที่ประชาชนช่วยเหลือกันเอง  ก่อนจะพัฒนามาเป็น กองทุนสวัสดิการชุมชนเช่นในปัจจุบัน

ดังตัวอย่างกลุ่มออมทรัพย์ที่ ครูชบ 

ยอดแก้ว (ปัจจุบันเสียชีวิต) จัดตั้งขึ้นในตำบลน้ำขาว อ.จะนะ จ.สงขลา  ในช่วงปี 2522 เริ่มจากกลุ่มออมทรัพย์ในโรงเรียนวัดน้ำขาวที่ครูชบเป็น

ครูให­  เมื่อได้ผลดีจึงขยายไปจัดตั้งในหมู่บ้านต่างๆ ในตำบล  ในรูปแบบของกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ คือ  สมาชิกและคณะกรรมการจะต้องมี สัจจะ 

ทั้งในเรื่องการฝากเงินเข้ากลุ่มอย่างสม่ำเสมอ 

ตรงเวลา  เมื่อกู้ยืมเงินจากกลุ่มไปใช้ก็จะต้องชำระเงินคืนตามสัจจะที่ให้ไว้แก่กลุ่ม  เพื่อกลุ่มจะได้มีเงินเอาไว้ช่วยเหลือสมาชิกที่เดือดร้อนคนอื่นๆ ต่อไป

นอกจากนี้กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ของครูชบ

ยังมีเป้าหมายเพื่อ  1.ให้เกิดนิสัยพึ่งตนเอง  มีความเสียสละ  เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม  ไม่เห็นแก่ตัว

2. เพื่อให้เกิดวินัยในตนเอง  มุ่งมั่นการทำงานให้สำเร็จ  3.เพื่อให้เกิดนิสัยขยันหมั่นเพียร  ซื่อสัตย์  ประหยัด  อดทน และอดออม  ฯลฯ

จะเห็นได้ว่ากลุ่มสัจจะออมทรัพย์ของครูชบไม่ได้มีเพียงการ ฝากเงินเพื่อกู้ยืมเท่านั้น  แต่ยังเป็นการพัฒนาคนทางอ้อม  ให้มีวินัย  มีสัจจะ  มีความซื่อสัตย์  โดยใช้เงินหรือกลุ่มสัจจะเป็นเครื่องมือในการพัฒนา

จากกลุ่มสัจจะออมทรัพย์  ในช่วงเวลาต่อมาครูชบได้ขยายแนวคิดไปสู่กลุ่มสัจจะออมทรัพย์แบบพัฒนาครบวงจรชีวิต โดยสมาชิกจะต้องนำเงินมาฝากที่กลุ่มเดือนละ 1 ครั้ง  และสมาชิกที่เดือดร้อนจำเป็นจะกู้ยืมเงินไปหมุนเวียนประกอบอาชีพหรือใช้จ่ายในครอบครัว  โดยเสียดอกเบี้ยตามที่กลุ่มกำหนด  เมื่อสิ้นปีกลุ่มจะนำผลกำไรมาเฉลี่ยแบ่งปันสมาชิก 50 % ส่วนอีก 50 % จะนำมาจัดตั้งเป็นกองทุนสวัสดิการเพื่อช่วยเหลือสมาชิกจนครบวงจรชีวิต  หรือช่วยเหลือสมาชิกในยาม เกิด  แก่  เจ็บ  ตาย รวมถึงนำเงินมาพัฒนาสาธารณประโยชน์และชุมชนด้วย

ในปี 2542  กลุ่มสัจจะออมทรัพย์แบบพัฒนาครบวงจรชีวิตตำบลน้ำขาว  มีสมาชิกทั้งหมด  19 กลุ่ม  จำนวนสมาชิกทั้งหมด 2,653 คน  มีเงินออมรวมทั้งหมด  10.9 ล้านบาทเศษ  และมีเงินกองทุนสวัสดิการรวม  3.6 ล้านบาทเศษ  ถือเป็นต้นแบบของกลุ่มออมทรัพย์และกองทุนสวัสดิการชุมชนทั่วประเทศ 

ในช่วงปี 2547 ครูชบได้เดินสายไปให้ความรู้และคำแนะนำแก่กลุ่มองค์กรชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศที่มีแนวคิดจะจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนเพื่อช่วยกันเอง  โดยมีหลักคิดคือ ให้สมาชิกลดค่าใช้จ่ายวันละ 1 บาท  เพื่อนำมาสมทบเข้ากองทุนสวัสดิการ  เมื่อมีเงินกองทุนมากขึ้นก็นำเงินมาช่วยเหลือสมาชิกตั้งแต่เกิดจนตาย

ตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช.’ 

ได้สนับสนุนให้กลุ่มและองค์กรในตำบลต่างๆ 

ทั่วประเทศ  รวมตัวกันจัดตั้งเป็น กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลเพื่อจัดสวัสดิการช่วยเหลือสมาชิกในตำบลของตนเอง  โดยชุมชนบริหารจัดการกองทุนด้วยตัวเอง  เงินกองทุนมาจากการสมทบของสมาชิกรายละ 1 บาทต่อวัน  เมื่อจัดตั้งกองทุนได้อย่างน้อย  6 เดือน  กองทุนจึงจะให้การช่วยเหลือสมาชิกตามกฎระเบียบของกองทุนนั้นๆ 

เช่น  คลอดบุตรช่วยเหลือ 500 บาท  นอนโรงพยาบาลช่วยเหลือคืนละ 100 บาท  ช่วยค่ารถไปโรงพยาบาลครั้งละ 100 บาท (ปีหนึ่งไม่เกิน 10 คืน/ 10 ครั้ง) เสียชีวิตช่วยเหลือ  5,000 บาท  ช่วยเหลือภัยพิบัติ  2,000  บาท  นอกจากนี้บางกองทุนอาจช่วยเหลือทุนการศึกษา  งานบวช  งานแต่ง  ช่วยเหลือคนพิการ  คนด้อยโอกาส  ผู้สูงอายุ  ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม  แม้ว่าสวัสดิการที่กองทุนแต่ละแห่งให้การช่วยเหลือสมาชิกจะเป็นเงินไม่มากนัก  แต่ในยามเดือดร้อนจำเป็น  เงินน้อยนิดก็มีความหมาย  ที่มากไปกว่านั้นก็คือ  คุณค่าในการช่วยเหลือดูแลกันของคนในตำบล  เพราะกองทุนสวัสดิการส่วนให­่จะยึดหลักว่า  เงินที่สมาชิกทุกคนสมทบเข้ากองทุน

วันละ 1 บาทนั้น  ถือเป็น การออมบุ­” เพื่อช่วยเหลือคนที่เดือดร้อนจำเป็น  ส่วนใครที่ยังไม่ได้ใช้สวัสดิการก็ถือว่าตนเองสมทบเงินเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น   สมดังกับแนวคิดในการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการที่ว่า ให้อย่างมีศักดิ์ศรี  และรับอย่างมีคุณค่า

 

จัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนฯ ทั่วประเทศแล้ว  5,944  กองทุน สมาชิก รวม 5.5  ล้านคน  เงินกองทุนรวมกัน  13,244  ล้านบาท

 

กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลที่จัดตั้งขึ้นมาทั่วประเทศ  ส่วนให­่จะนำแนวคิดของครูชบมาใช้  คือลดค่าใช้จ่ายวันละ 1 บาท  แล้วนำมาสมทบเข้ากองทุน  ถือเป็นการออมบุ­  เพื่อช่วยเหลือดูแลกันเอง  โดยกำหนดให้สมาชิกสมทบเงินเป็นรายเดือนหรือรายปีเพื่อความสะดวกในการบริหารจัดการ เช่น  เดือนละ 30 บาท  หรือปีละ 365 บาท 

โดยแต่ละกองทุนจะมีการจัดตั้งคณะกรรมการกองทุนขึ้นมา  มีคณะกรรมการประมาณ  10-15 คน  แบ่งหน้าที่กันทำงาน  หรือให้มีตัวแทนคณะกรรมการในแต่ละหมู่บ้านเข้ามาร่วมบริหารงาน  และจัดเก็บเงินสมทบจากสมาชิกในหมู่บ้านนั้นๆ  ตามเวลาที่กำหนด  แล้วนำเงินสมทบของแต่ละหมู่บ้านมารวมกัน  

หากสมาชิกรายใดเจ็บไข้ได้ป่วย  เสียชีวิต  หรือจะใช้สิทธิสวัสดิการในด้านใดก็ให้นำหลักฐานมาแสดง เช่น ใบรับรองแพทย์  ใบมรณบัตร บัตรประชาชน ฯลฯ  เมื่อมีหลักฐานครบถ้วน  คณะกรรมการก็จะมอบเงินให้แก่สมาชิกหรือทายาทตามระเบียบของกองทุนแต่ละแห่งที่กำหนดเอาไว้  เช่น  คลอดบุตรช่วยเหลือ 500 บาท  นอนคลอดที่โรงพยาบาล 3 วัน ช่วยเหลือวันละ 100 บาท  กรณีเสียชีวิต เมื่อเป็นสมาชิกครบ 3 ปีขึ้นไปช่วยเหลือ 10,000 บาท  สมาชิกที่มีอายุเกิน 60 ปี  และเป็นสมาชิกมาแล้ว

10 ปี ได้รับเงินบำนา­เดือนละ 100  บาท ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม  นอกจากเงินสมทบของสมาชิกวันละ 1 บาทหรือปีละ 365 บาทแล้ว  ในช่วงปี 2553-2555  รัฐบาล (ในขณะนั้น) มีนโยบายสนับสนุนกองทุนสวัสดิการชุมชนเพื่อให้ประชาชนจัดสวัสดิการช่วยเหลือกันเอง  จึงได้สมทบเงินเข้ากองทุนสวัสดิการชุมชนทั่วประเทศผ่านทางสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนหรือพอช.’   โดยจะสมทบเงินเข้ากองทุนที่ดำเนินการมาแล้วไม่ต่ำกว่า 1 ปี  ในอัตรา 1 ต่อ 1

เช่น  กองทุนสวัสดิการ ก. มีสมาชิกที่สมทบเงินครบ 1 ปี (365 บาท) จำนวน  100 คน  (รวมเป็นเงิน  36,500 บาทรัฐบาลจะสมทบเงินจำนวน  36,500 บาทเข้ากองทุนสวัสดิการ ก.

นอกจากนี้องค์กรปกครองท้องถิ่น เช่น  อบต. เทศบาล  ยังสามารถสนับสนุนเงินเข้ากองทุนในอัตรา 1 ต่อ 1 หรือมากน้อยตามฐานะการคลัง  หรือตามแผนงานของท้องถิ่นนั้นๆ  ได้ด้วย

รวมทั้งกองทุนสวัสดิการบางแห่งที่เล็งเห็นถึงความยั่งยืนของกองทุน  อาจจะมีการลงทุนในระยะยาวเพื่อนำดอกผลมาสนับสนุนกองทุน  เช่น  ซื้อสลากออมสิน  สลาก ธกสบางแห่งนำเงินกองทุนไปทำวิสาหกิจชุมชน  เช่น  สร้างโรงงานผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดหรือถังพลาสติก  ทำร้านค้าชุมชน  ร้านกาแฟ  แปรรูปสินค้าชุมชน  ให้สมาชิกกู้ยืมเพื่อประกอบอาชีพโดยเสียดอกเบี้ยเล็กน้อย  ฯลฯ  ซึ่งนอกจากจะสร้างรายได้เข้ากองทุนแล้ว  ยังเป็นการสร้างงานและส่งเสริมอาชีพชุมชนด้วย

อย่างไรก็ตาม  นอกจากสวัสดิการที่กองทุนแต่ละแห่งจะให้การช่วยเหลือสมาชิกเป็นเงินตามระเบียบที่กำหนดเอาไว้แล้ว  ปัจจุบันมีหลายกองทุนที่ขยายสวัสดิการไปสู่สมาชิกและคนในชุมชนในด้านต่างๆ  เช่น  การพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก  ผู้สูงอายุ  ครอบครัว  การดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  การสร้างงาน  สร้างอาชีพให้สมาชิก ฯลฯ  นอกจากนี้บางกองทุนยังมีบทบาทในการเชื่อมโยงหน่วยงานต่างๆ ทั้งในท้องถิ่นและภายนอกให้เข้ามา

สนับสนุนกองทุนด้วย

ตัวอย่างเช่น  กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลหนองพ้อ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง  นอกจากช่วยเหลือสวัสดิการสมาชิกเป็นตัวเงินแล้ว

กองทุนยังมีกิจกรรมต่างๆ เช่น  จัดตั้งธนาคารขยะ

โดยใช้เงินกองทุนจำนวน  115,000 บาท จัดตั้งธนาคารรับซื้อ-ขายขยะรีไซเคิล  โดยส่งเสริมให้สมาชิกคัดแยกขยะแล้วนำมาขายที่ธนาคาร  สร้างรายได้ให้ธนาคารประมาณเดือนละ  2,000-3,000 บาท  

หากสมาชิกมีความจำเป็นสามารถยืมเงินจากธนาคารได้ไม่เกินครั้งละ 1,000 บาท  และชำระคืนเป็นขยะตามจำนวนเงิน  ส่วนขยะเปียกนำมาทำปุ๋ยอินทรีย์  ปุ๋ยชีวภาพ  ทำให้ลดปริมาณขยะในชุมชน

นอกจากนี้กองทุนได้ร่วมกับสำนักงานพลังงานจังหวัดพัทลุง   จัดทำตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์เพื่ออบกล้วยตาก  อบปลา  และสมุนไพร  เพื่อถนอมอาหารและแปรรูปผลผลิตส่งเสริมให้สมาชิกทำนาอินทรีย์  ปลูกผักอินทรีย์  เพื่อลดการใช้สารเคมี  สมาชิกและผู้บริโภคได้กินอาหารปลอดภัย  ลดต้นทุนการผลิตจากสารเคมี, นำเงินของกองทุนมาซื้อที่ดิน 1 ไร่  เพื่อสร้างบ้านให้สมาชิกที่ยากไร้อยู่อาศัยได้ 6 หลัง  รวมทั้งยังมีแผนการในการเฝ้าระวังภัยพิบัติ  เช่น  จัดตั้งคณะกรรมการเฝ้าระวังภัยในแต่ละหมู่บ้าน  มีวิทยุสื่อสาร  หอกระจายข่าว  เตรียมความพร้อมเพื่อรับมือภัยพิบัติต่างๆ เช่น 

น้ำท่วม ฯลฯ

จากผลงานต่างๆ ดังกล่าว  กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลหนองพ้อ  จึงได้รับรางวัลจากการประกวดรางวัล อ.ป๋วย  อึ๊งภากรณ์  ครั้งที่ 1 ปี 2559  (ประเภทที่ 4 ) ด้านการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  การจัดการที่อยู่อาศัย  การสร้างความมั่นคงด้านอาหาร  การอนุรักษ์พลังงาน  การจัดการขยะ  การจัดการและการฟื้นฟูภัยพิบัติ

ปัจจุบันมีกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลที่จัดตั้งขึ้นทั่วประเทศจำนวน  5,944  กองทุน 

มีสมาชิกรวมทั้งหมดประมาณ  5.5  ล้านคน 

มีเงินสวัสดิการรวมกันทั้งหมด  13,244  ล้านบาท    แยกเป็นเงินสมทบจากสมาชิก  8,423  ล้านบาท (64 %)  รัฐบาลสมทบเข้ากองทุน (ผ่าน พอช.)  รวม  2,482  ล้านบาท (19 %)  และอื่นๆ (อปท./เอกชน/หน่วยงานรัฐรวม 2,339  ล้านบาท

(17 %)  โดยมีผู้ที่ได้รับสวัสดิการไปแล้ว รวม  1.58  ล้านคน

ส่วนในปี 2561 นี้  รัฐบาลให้การสนับสนุนกองทุนสวัสดิการ โดยอนุมัติงบประมาณจำนวน 127 ล้านบาท  เป้าหมายกองทุนสวัสดิการ  500  ตำบล  ประชาชนได้รับผลประโยชน์ รวม  350,000 คน

    

8 กองทุนสวัสดิการรับรางวัล อ.ป๋วย

 

การจัดประกวดรางวัลผู้สรรค์สร้างความมั่นคงของมนุษย์ตามแนวคิดของศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย  อึ๊งภากรณ์คุณภาพแห่งชีวิต ปฏิทินแห่งความหวัง  จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน ครั้งนี้เป็นการประกวดปีที่  3  มีการพิจารณารางวัลเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2561 ที่ผ่านมา ที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) เขตบางกะปิ  กรุงเทพฯ 

โดยมีองค์กรและสถาบันที่ทำงานเพื่อสังคมจำนวน 8 องค์กรร่วมกันจัดประกวดรางวัล  ประกอบด้วย  สถาบันป๋วย  อึ๊งภากรณ์มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยฯเครือข่ายสวัสดิการชุมชนคณะอนุกรรมการส่งเสริมองค์กรสวัสดิการชุมชนฯศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน), มูลนิธิมั่นพัฒนาวิทยาลัยพัฒนศาสตร์  ป๋วย  อึ๊งภากรณ์   และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)      

ในปีนี้มีกองทุนสวัสดิการชุมชนทั่วประเทศส่งผลงานเข้าประกวดทั้ง 9 ประเภท  รวม 49  กองทุน  ผ่านการพิจารณาในรอบสุดท้ายรวม 30 กองทุน  ส่วนการพิจารณาเพื่อคัดเลือกกองทุนที่จะได้รับรางวัลในแต่ละประเภท  คณะกรรมการซึ่งประกอบด้วย  ผู้แทนหน่วยงานต่างๆ (มูลนิธิบูรณะชนบท, ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) มูลนิธิ

มั่นพัฒนา,วิทยาลัยพัฒนศาสตร์  ป๋วย 

อึ๊งภากรณ์ ฯลฯ)   ผู้แทนกองทุนสวัสดิการที่เคยได้รับรางวัล  และตัวแทนคณะทำงานสวัสดิการชุมชน  5 ภาค  จะให้ผู้แทนแต่ละกองทุนมานำเสนอผลงานกองทุนละ 10 นาที  และคณะกรรมการจะซักถามอีก 10 นาที  หลังจากนั้นจะนำผลการลงคะแนนของคณะกรรมการมารวบรวมเพื่อพิจารณาให้รางวัลแก่กองทุนที่ได้คะแนนสูงสุดในแต่ละประเภท

    

ทั้งนี้ผลการพิจารณาของคณะกรรมการมีดังนี้  ประเภทที่  1. ด้านการสร้างครอบครัวอบอุ่น   การดูแลผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตและคุณค่าในสังคม  ได้แก่  กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลห้วยงู  อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท

2. ด้านการส่งเสริมสุขภาพ  การรักษา   ดูแล  ป้องกัน  สุขภาวะในชุมชน  ได้แก่  กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลทับพริก อำเภออรั­ประเทศ จังหวัดสระแก้ว

3. ด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชนและการศึกษา  เพื่อการเติบโตเป็นคนดีและมีคุณภาพ  ได้แก่   กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลบ้านเหล่า  อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา

4. ด้านการพัฒนาการประกอบอาชีพ  พัฒนาระบบเศรษฐกิจชุมชน  และการแก้ปั­หา

หนี้สิน  ได้แก่  กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลท่างาม  อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี

5.ด้านการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและ

สิ่งแวดล้อม  การอนุรักษ์พลังงาน  การจัดการขยะ การจัดการและฟื้นฟูภัยพิบัติ  ได้แก่  กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลออย อำเภอปง จังหวัดพะเยา

6. ด้านการจัดการที่ดิน/จัดสรรที่ดินทำกิน

เพียงพอต่อการดำรงชีพ  การจัดการที่อยู่อาศัย 

การสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร ไม่มีกองทุน

ที่ได้รับรางวัล

7. ด้านการพัฒนาระบบบริหารจัดการกองทุนที่ดีและมีธรรมาภิบาล  ได้แก่  กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลคลองทับจันทร์  อำเภออรั­ประเทศ จังหวัดสระแก้ว

8. ด้านผลงานการจัดสวัสดิการชุมชน

แบบองค์รวม  หลายมิติ  สามารถเชื่อมโยงและ

บูรณาการทรัพยากรจากหลากหลายแห่งเพื่อแก้ไขปั­หาของสมาชิกได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ได้แก่   กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลบางเลน  อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม

9.ด้านการฟื้นฟูระบบคุณค่าทางวัฒนธรรม  

การอยู่ร่วมกัน  การช่วยเหลือเกื้อกูลระหว่างกลุ่ม  หนุนช่วยเพื่อน  รวมทั้งร่วมมือกับหน่วยงาน  ภาคี  เครือข่ายต่างๆ เพื่อแก้ไขปั­หาของชุมชนและสังคม   ได้แก่  กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลหนองหงส์  อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ทั้งนี้กองทุนสวัสดิการที่ได้รับรางวัลทั้ง 8 กองทุนจะเข้ารับรางวัลในวันที่  9  มีนาคมนี้  ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย  ซึ่งถือเป็นวันคล้ายวันเกิดของ อ.ป๋วย   อึ๊งภากรณ์  และถึงแม้ว่ารางวัลที่แต่ละกองทุนได้รับจะเป็นโล่และใบประกาศเกียรติคุณ  ไม่มีเงินตราตอบแทน  แต่รางวัลนี้ก็ถือว่าเป็นรางวัลระดับประเทศที่แต่ละกองทุนต่างก็ภาคภูมิใจในเกียรติยศที่ได้รับ

 

8 กองทุนสวัสดิการชุมชนทั่วประเทศรับรางวัล อ.ป๋วย  ครั้งที่ 3

1.กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลห้วยงู  

กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลห้วยงู อ.หันคา จ.ชัยนาท ได้รับรางวัลด้านการสร้างครอบครัวอบอุ่น การดูแลผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตและคุณค่าในสังคม 

ผลงานเด่น  คือการดูแลผู้สูงอายุแบบบูรณาการ โดยเริ่มจากการก่อตั้งชมรมผู้สูงอายุในปี 2546 และต่อยอดมาเป็นกองทุนสวัสดิการชุมชน กองทุนมีกิจกรรมหลายอย่าง เช่น การดูแลและส่งเสริมสุขภาพกาย-จิตใจผู้สูงอายุ นำความรู้ภูมิปั­­าของผู้สูงอายุมาถ่ายทอดให้แก่เด็กและเยาวชนในตำบล เช่น ความรู้ด้านสมุนไพร  นวดแผนไทย  อุปกรณ์กายภาพทำจากวัสดุในท้องถิ่น ทำไม้กวาด งานจักสาน จัดดอกไม้ กลองยาว ฯลฯ  มีกลุ่มเยาวชนจิตอาสาไปดูแลผู้ป่วย และมีอผส.’ หรืออาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุทุกหมู่บ้าน

นอกจากนี้ยังส่งเสริมครอบครัวให้มีความอบอุ่น  โดยมีแนวคิดว่า ครอบครัวเป็นสถาบันหลักของชุมชน  ถ้าเราช่วยกันสร้างครอบครัวให้มีความอบอุ่น  มีความเข้มแข็ง  ชุมชนก็จะมีความสุข  มีความเข้มแข็ง ไม่มีปั­หายาเสพติด- ปั­หาท้องไม่พร้อมในวัยเรียน”  ฯลฯ

ปัจจุบันกองทุนมีสมาชิก 1,148 คน  มีเงินกองทุน 2.2 ล้านบาท  สมาชิกสมทบเงินเป็นรายปีๆ ละ 365  บาท ช่วยเหลือสวัสดิการ เช่น คลอดบุตร  รับขวั­บุตร  500 บาท  แม่  1,000 บาท  พ่อ 500 บาท, เจ็บป่วยนอนโรงพยาบาลช่วย 500 บาท  ปีหนึ่งไม่เกิน 2 ครั้ง, เสียชีวิตช่วย 6,000 บาท (เป็นสมาชิกครบ 3 ปีรับเพิ่มอีก 2,000 บาท)

 

2.กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลทับพริก

กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลทับพริก อ.อรั­ประเทศ จ.สระแก้ว ได้รับรางวัลด้านการส่งเสริมสุขภาพ  การรักษา  ดูแล ป้องกัน  สุขภาวะในชุมชน 

ผลงานเด่น จัดตั้งกองทุนขึ้นในปี 2551 มีเลขานุการกองทุนเป็นผู้อำนวยการ รพ.สต.ทับพริก  จึงนำแนวคิดเรื่องการจัดการสุขภาวะมาใช้กับสมาชิกกองทุนและคนในตำบล  โดยเน้นการมีพฤติกรรมสุขภาพดี มีการออมเงินเพื่อสุขภาวะ มีสิ่งแวดล้อมดี

และมีครอบครัวที่อบอุ่น  มีกิจกรรมต่างๆ  เพื่อสนับสนุนให้สมาชิกมีสุขภาวะที่ดี  เช่น  สมาชิกตั้งครรภ์  มาฝากครรภ์ที่ รพ.สต.ครั้งแรกก่อน 12   สัปดาห์  มอบชุดแรกคลอด ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งมอบมุ้ง เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 6 เดือน มอบเงิน 500 บาท  ทำให้มีอัตราผู้มาฝากครรภ์ตามเกณฑ์มากกว่า

ร้อยละ 90

นอกจากนี้ยังมีโครงการช่วยเหลือให้เกษตรกรที่เป็นสมาชิกและไม่มีที่ดินทำกินยืมเงินจากกองทุนสวัสดิการไปเช่าที่ดินทำกิน   ปลูกพืชผัก  พืชไร่  เลี้ยงสัตว์  ครัวเรือนละ 2 ไร่  จำนวน  30   ราย, ส่งเสริมกิจกรรมเด็กและเยาวชน เช่น สวยใส

ไม่ท้อง ในกลุ่มเยาวชน  กิจกรรมสร้างสรรค์  เช่น  ศิลปะ ฝึกว่ายน้ำเพื่อเอาตัวรอด จิตอาสา เยี่ยม

ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย ป้องกันเอดส์ ยาเสพติด ส่งเสริม

ทุนการศึกษาให้เยาวชนในตำบลเรียนต่อด้านพยาบาล เมื่อจบการศึกษาให้เข้ามาทำงานที่ รพ.สต.เพื่อรับใช้ชุมชน ขณะนี้เรียนจบแล้ว 2 คน

ปัจจุบันกองทุนสวัสดิการมีสมาชิก 561 คน

เงินกองทุนประมาณ  300,000 บาท  ช่วยเหลือสมาชิก เช่น สมาชิกนอนโรงพยาบาลช่วยเหลือคืนละ 200 บาท  ปีหนึ่งไม่เกิน 10 คืน เสียชีวิตช่วยเหลือ 3,000  บาท ทุนการศึกษาปีหนึ่งไม่เกิน 10 ราย  รายละ 500  บาท ช่วยเหลือภัยพิบัติรายละไม่เกิน 2,500 บาท ฯลฯ

 

3.กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลบ้านเหล่า

กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลบ้านเหล่า  .แม่ใจ  .พะเยา  ได้รับรางวัลด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชนและการศึกษา  เพื่อการเติบโตเป็นคนดีและมีคุณภาพ

ผลงานเด่น  ตำบลบ้านเหล่ามีการจัดกิจกรรมสนับสนุนการพัฒนาเด็กและเยาวชนมาตั้งแต่ปี 2547 มีกิจกรรมต่างๆ เช่น  สภาเด็ก  โดยให้เด็กและเยาวชนจัดรายการเสียงตามสาย  กระจายเสียงทุกเย็นวันเสาร์  นำเสนอข่าวสารและสาระด้านสุขภาพอนามัย  กิจกรรมของชุมชน  เมื่อก่อตั้งกองทุนสวัสดิการขึ้นมาในปี 2551 จึงยังเน้นเรื่องการพัฒนาและส่งเสริมกิจกรรมเยาวชน  เช่น  โครงการขยะฮอมบุ­เพื่อการศึกษา โดยรับบริจาคขยะรีไซเคิลในชุมชน  แล้วนำมาคัดแยกขาย  นำรายได้เข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการศึกษาเด็กและเยาวชน   มีรายได้จากการขายขยะประมาณเดือนละ 400-500 บาท

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมจิตอาสา  โดยให้เด็กและเยาวชนออกไปเยี่ยมผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุ

ติดเตียง  เพื่อให้กำลังใจ ช่วยนวดตัว ทำให้ผู้ป่วยมีสภาพจิตใจอารมณ์แจ่มใส 

ปัจจุบันกองทุนมีสมาชิกทั้งหมด 2,229 คน  (มีเด็กเป็นสมาชิกประมาณ 200 คนมีเงินกองทุน 2 ล้านบาทเศษ  สมาชิกสมทบเงินเป็นรายปีๆ ละ 300 บาท สวัสดิการ เช่น เป็นสมาชิกครบ 4 ปี  เสียชีวิตกองทุนช่วยเหลือ 20,000 บาท

 

4.กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลท่างาม

กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลท่างาม

.อินทร์บุรี  .สิงห์บุรี ได้รับรางวัลด้านการพัฒนาการประกอบอาชีพ พัฒนาระบบเศรษฐกิจชุมชน และการแก้ปั­หาหนี้สิน 

ผลงานเด่น   กองทุนก่อตั้งในปี 2551  ปี 2554 ตำบลท่างามเกิดน้ำท่วมให­  เกษตรกรได้รับผลกระทบ  กองทุนจึงทำเรื่องธุรกิจชุมชน โดยเริ่มจากการทำโรงงานน้ำดื่มในปี 2555 หลังจากนั้นจึงทำร้านกาแฟชุมชน  และนำเงินกองทุนให้สมาชิกกู้ยืมไปประกอบอาชีพ  เช่น ซื้อปุ๋ย  ปลูกมะนาว  ฟักทอง มะละกอ ทำนา รายละไม่เกิน 50,000 บาท ดอกเบี้ยร้อยละ 3 บาทต่อปี

ปัจจุบันกองทุนมีสมาชิกทั้งหมด 1,536 คน  มีเงินกองทุนประมาณ 5 ล้านบาท  มีรายได้จากธุรกิจชุมชนประมาณ ปีละ  50,000-100,000 บาท  และยังให้สมาชิกนำสินค้าชุมชนต่างๆ มาวางขายในร้านกาแฟ  รวมทั้งขายทางออนไลน์  ช่วยสร้างอาชีพ  สร้างรายได้ให้สมาชิกกองทุน

 

5.กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลออย

กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลออย อ.ปง จ.พะเยา ได้รับรางวัลด้านการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  การอนุรักษ์พลังงาน การจัดการขยะ การจัดการและฟื้นฟูภัยพิบัติ

ผลงานเด่น ในช่วงกลางปี 2557  พื้นที่ในอำเภอปงเกิดปั­หาฝนทิ้งช่วง  ชาวบ้านไม่มีน้ำในการทำนา  แกนนำกองทุนสวัสดิการจึงมีแนวคิดในการสร้างฝายชะลอน้ำในแม่น้ำ  เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้  โดยนำไม้ไผ่และกระสอบทรายมาทำเป็นฝาย  ในช่วงฤดูฝน  น้ำที่หลากมาจะไม่ไหลทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์  เพราะฝายจะช่วยชะลอให้น้ำไหลล้นไปอย่างช้าๆ และน้ำที่ถูกกักไว้จะซึมลงไปใต้ดิน 

ในช่วงฤดูแล้งจะช่วยให้ชาวบ้านทั้งตำบลมีน้ำใช้  ถือว่าเป็น ฝายมีชีวิต  เพราะเกิดแหล่งอาหารในน้ำ  เช่น  ผักกูด  มีปลามาอาศัย  มีเขตอภัยทานบริเวณแม่น้ำหน้าวัด  ทำให้ผืนดินชุ่มชื้น  ป้องกันการเกิดไฟป่า  และป้องกันโรคที่เกิดจากควันไฟป่า  เช่น  โรคทางเดินหายใจในเด็กและคนชรา 

นอกจากนี้สมาชิกกองทุนยังช่วยกันปลูกแฝกเพื่อป้องกันตลิ่งริมน้ำพังทลาย  ทำ เสวียน โดยเอาไม้ไผ่มาสานและขัดเป็นวงกลมรอบต้นไม้ให­  เพื่อให้ใบไม้ที่ร่วงกลายเป็นปุ๋ย โดยทำน้ำหมักชีวภาพรดใส่กองใบไม้  ช่วยลดการเผาใบไม้ ลดปั­หาควันไฟ  ถือว่าเป็น สวัสดิการที่มากกว่าตัวเงิน”  ปัจจุบันกองทุนมีสมาชิก 1,272 คน เงินกองทุน

1.2 ล้านบาทเศษ

 

6.กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลคลองทับจันทร์

กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลคลอง

ทับจันทร์ อ.อรั­ประเทศ จ.สระแก้ว ได้รับรางวัลด้านการพัฒนาระบบบริหารจัดการกองทุนที่ดีและมี

ธรรมาภิบาล 

ผลงานเด่น 1.กองทุนมีการจัดเก็บข้อมูล

อย่างเป็นระบบ  โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์และสมุดบันทึกข้อมูล  เก็บข้อมูลสำคั­ เช่น สมาชิกกองทุน  วัสดุอุปกรณ์ของกองทุน  ข้อมูลการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ  2.มีระบบติดตาม

ตรวจสอบผลการดำเนินงาน 3.มีการเผยแพร่ข้อมูล

ข่าวสารกองทุนต่อสาธารณะ เช่น การประชุมหมู่บ้านทุกเดือน  ฯลฯ

นอกจากนี้ยังเกิดการเชื่อมโยงการจัดสวัสดิการร่วมกับหน่วยงานภาคีอื่นๆ  มีองค์ประกอบของกรรมการที่หลากหลาย  จัดสวัสดิการให้แก่สมาชิกตามระเบียบข้อบังคับอย่างเท่าเทียมไม่เลือกปฏิบัติ มีความโปร่งใส จัดทำระบบบั­ชีหลายประเภท เช่น สมุดบั­ชีรายวันต่างๆ การลงบั­ชีรับเงินสมาชิกสมทบแต่ละหมู่บ้าน ฯลฯ

ปัจจุบันกองทุนมีสมาชิก 1,633 คน ช่วยสวัสดิการสมาชิก เช่น เกิด/คลอดบุตร เจ็บป่วยนอนโรงพยาบาล  คืนละ 200 บาท ไม่เกิน 7 คืน

คนเฝ้าไข้คืนละ 100  บาท ไม่เกิน  7  คืน

เสียชีวิตช่วยสูงสุดไม่เกิน 20,000 บาท นอกจากนี้

ยังมีสวัสดิการด้านทุนการศึกษา  คนด้อยโอกาส 

ผู้สูงอายุ  พิการ  ประเภทละ 10,000 บาทต่อปี

 

7.กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลบางเลน

กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลบางเลน  .บางเลน จ.นครปฐม  ได้รับรางวัลด้านผลงานการจัดสวัสดิการชุมชนแบบองค์รวมหลายมิติ  

สามารถเชื่อมโยงและบูรณาการทรัพยากรจากหลากหลายแห่งเพื่อแก้ไขปั­หาของสมาชิกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลงานเด่น  กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลบางเลนได้เชื่อมโยงกลุ่มต่างๆ ในตำบลและภายนอกมาทำงานและสนับสนุนซึ่งกันและกัน เช่น ชุมชนในเขตเทศบาล 15 ชุมชน ชมรมผู้สูงอายุ อสมรพ.สต. วัด เทศบาล  อำเภอ  .มหิดล  .ราชภัฏ  พอช. ฯลฯ รวมทั้งภาคเอกชน เช่น ห้างสรรพสินค้าโลตัส ทำให้ห้างฯ เห็นความสำคั­ของการจัดสวัสดิการช่วยเหลือกันในชุมชน  และส่งเจ้าหน้าที่ลงมาทำกิจกรรมและเยี่ยมชุมชน  

นอกจากนี้ห้างฯ ยังตั้งกล่องรับบริจาคจากลูกค้าที่มาใช้บริการเพื่อนำเงินสมทบเข้ากองทุนตั้งแต่ปี 2559  ปัจจุบันมีเงินสมทบเข้ากองทุนแล้วประมาณ  100,000  บาท  ขณะที่เทศบาลตำบลบางเลนได้สนับสนุนกองทุนอย่างต่อเนื่อง  โดยส่งเจ้าหน้าที่มาช่วยทำงานด้านเอกสาร  สนับสนุนสถานที่ทำงาน  และสมทบเงินเข้ากองทุนตั้งแต่ปี 2553 ในอัตรา 360 บาท/ปี/สมาชิก 1 ราย

ปัจจุบันกองทุนมีสมาชิกทั้งหมด 1,757  คน  มีเงินกองทุน แยกเป็นเงินสด 1 ล้านบาทเศษ  และเงินลงทุนซื้อสลาก ธกส. จำนวน 3 ล้านบาท  

 

8.กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลหนองหงส์  อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลหนองหงส์  .ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช  ได้รับรางวัลด้านการฟื้นฟูระบบคุณค่าทางวัฒนธรรม  การอยู่ร่วมกัน 

การช่วยเหลือเกื้อกูลระหว่างกลุ่ม  ฯลฯ  

ผลงานเด่น   กองทุนสวัสดิการชุมชนเป็นแกนนำในการรื้อฟื้นวัฒนธรรมประเพณีชุมชนท้องถิ่นให้กลับคืนมา เช่น การลงแรงหรือลงแขกเพื่อช่วยงานของคนในตำบล ทั้งการทำนา ใส่ปุ๋ยสวนยางพารา  ช่วยงานศพ  งานบวช  งานแต่งงาน  โดยช่วยกันทำอาหาร ทำขนม ประดับตกแต่งงาน ฯลฯ ให้สมาชิกและกรรมการกองทุนหิ้วปิ่นโตอาหารหวานคาวมากินร่วมกันเมื่อมีการประชุม ทำให้ประหยัดงบกองทุน   สนับสนุนให้สมาชิกกองทุนปลูกผัก เลี้ยงปลา เลี้ยงไก่  เป็นอาหารของครอบครัว  โดยไม่ใช้สารเคมี ฯลฯ

นอกจากนี้ในตำบลยังมีกลุ่มสตรีทำแกงขมิ้น  แกงไตปลา  น้ำยาเอนกประสงค์  สารอินทรีย์ขับไล่แมลง  โดยส่งเสริมให้สมาชิกกองทุนสวัสดิการปลูกผักสวนครัว  ข่า  ตะไคร้  พริก  ส่งขายให้แก่กลุ่มอาชีพสตรี  สร้างอาชีพ  สร้างรายได้ให้แก่คนในตำบล

ปัจจุบันกองทุนมีสมาชิก  981 คน  มีเงินกองทุนประมาณ 500,000 บาท  

 

(อ.ป๋วย (นั่งด้านซ้าย) กับชาวบ้านในชนบท)

45 ปีจากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอนแนวคิดที่ไม่เคยล้าสมัย

.ป๋วย  อึ๊งภากรณ์  เกิดเมื่อวันที่ 9 มีนาคม  2459  เคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (..2502-2514) และอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (.. 2518-2519) ท่านได้รับการยอมรับว่าเป็นบุคคลที่ซื่อสัตย์ สมถะ มีผลงานด้านการบริหารที่โดดเด่นหลายด้าน ทั้งด้านการเงิน การคลัง งานวิชาการ ได้รับรางวัลแมกไซไซสาขาบริการสาธารณะในปี 2508  

นอกจากนี้ อ.ป๋วยยังให้ความสำคั­กับการพัฒนาชนบท โดยก่อตั้งมูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยในปี 2510 เพื่อทำงานพัฒนาชนบท 

ถือเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนหรือ NGO แห่งแรกของประเทศไทย  สนับสนุนงานพัฒนาชนบทแบบผสมผสาน โดยมีชาวบ้านเป็นแกนหลัก พัฒนาด้านอาชีพ การศึกษา สุขภาพอนามัย และการจัดการตนเอง เป็นการพัฒนาแบบองค์รวม เริ่มโครงการแห่งแรกที่จังหวัดชัยนาท

ในเดือนตุลาคม 2519 เกิดเหตุการณ์ล้อม

ปราบนักศึกษาประชาชนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  .ป๋วยได้รับผลกระทบ  ต้องหลบภัยการเมืองไปอยู่ที่ประเทศอังกฤษ  ท่านพำนักอยู่ที่นั่น  จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิตในปี  2542  รวมอายุได้  83 ปี

ส่วนแนวคิดคุณภาพชีวิต  ปฏิทินแห่งความหวัง  จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน หรือเรียกสั้นๆ ว่า จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอนเป็นบทความภาษาอังกฤษขนาด 2 หน้า  ซึ่ง อ.ป๋วยได้นำเสนอบทความชิ้นนี้ในที่ประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาการพัฒนาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเดือนตุลาคม  2516  หลังจากนั้นจึงได้มีการแปลและเผยแพร่บทความนี้ออกไปอย่างกว้างขวาง  เนื้อหากล่าวถึงความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ที่ควรจะได้รับบริการสวัสดิการจากรัฐตั้งแต่เกิดจนตาย  ดังเนื้อความตอนหนึ่งว่า.....

เมื่อผมอยู่ในครรภ์ของแม่   ผมต้องการให้แม่ได้รับประทานอาหารที่เป็นคุณประโยชน์  และได้รับความเอาใจใส่  และบริการอันดีในเรื่องสวัสดิการของแม่และเด็ก....ในระหว่าง 2 – 3 ขวบแรกของผม ซึ่งร่างกายและสมองผมกำลังเติบโตในระยะที่สำคั­   ผมต้องการให้แม่ผมกับตัวผมได้รับประทานอาหารที่เป็นคุณประโยชน์  ผมต้องการไปโรงเรียน  พี่สาวหรือน้องสาวผมก็ต้องการไปโรงเรียน จะได้มีความรู้หากินได้  และจะได้รู้คุณธรรมแห่งชีวิต  ถ้าผมมีสติปั­­าเรียนชั้นสูงๆ ขึ้นไป ก็ให้มีโอกาสเรียนได้ 

ไม่ว่าพ่อแม่ผมจะรวยหรือจน จะอยู่ในเมืองหรือชนบทแร้นแค้น                                                                                                 

เมื่อออกจากโรงเรียนแล้ว  ผมต้องการงานอาชีพที่มีความหมาย ทำให้ได้รับความพอใจว่าตนได้ทำงานเป็นประโยชน์แก่สังคม  บ้านเมืองที่ผมอาศัยอยู่ จะต้องมีขื่อมีแป ไม่มีการข่มขู่ กดขี่หรือประทุษร้ายกัน...ในฐานะที่ผมเป็นชาวนาชาวไร่ 

ผมก็อยากมีที่ดินของผมพอสมควรสำหรับทำมาหากิน   มีช่องทางได้กู้ยืมเงินมาขยายงาน  มีโอกาสรู้วิธีทำกิน

แบบใหม่ๆ  มีตลาดดีและขายสินค้าได้ราคายุติธรรม...

ผมต้องการสุขภาพอนามัยอันดี และรัฐบาลจะต้องให้บริการป้องกันรักษาโรคแก่ผมอย่างฟรี  กับบริการการแพทย์ รักษาพยาบาล

อย่างถูก อย่างดี เจ็บป่วยเมื่อใดหาหมอ หาพยาบาลได้สะดวก ผมจำเป็นต้องมีที่ว่างสำหรับเพลิดเพลินกับครอบครัว  มีสวนสาธารณะที่เขียวชอุ่ม สามารถมีบทบาทและชมศิลปะ วรรณคดี นาฏศิลป์ ดนตรี วัฒนธรรมต่างๆ...ผมต้องการอากาศบริสุทธิ์สำหรับหายใจ  น้ำบริสุทธิ์สำหรับดื่ม...

เรื่องที่ผมเรียกร้องข้างต้นนี้  ผมไม่เรียกร้องเปล่า  ผมยินดีเสียภาษีอากรให้ส่วนรวมตามอัตภาพ 

ผมต้องการโอกาสที่มีส่วนร่วมในสังคมรอบตัว 

ผมต้องการมีส่วนในการวินิจฉัยโชคชะตาทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของชาติ เมียผมก็ต้องการโอกาสต่างๆ เช่นเดียวกับผม และเราสองคนควรได้รับ

ความรู้ และวิธีการวางแผนครอบครัว  เมื่อแก่

ผมและเมียก็ควรได้รับประโยชน์ตอบแทนจากการประกันสังคม ซึ่งผมได้จ่ายบำรุงตลอดมา

จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน  ไม่เพียงแต่เป็นข้อคิดด้านสวัสดิการสังคมที่ก้าวหน้าในห้วงเวลา 40 ปีก่อนเท่านั้น แต่ยังเป็นแรงบันดาลใจให้คนรุ่นต่อมาได้สืบสานปณิธานที่ท่านได้วางไว้อย่างเป็นรูปธรรมอีกด้วย ดังที่ นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ (เสียชีวิตปี 2551) อดีตเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  ผู้ผลักดันโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือที่รู้จักกันในชื่อ “30 บาทรักษาทุกโรค  ที่ส่งผลให้คนยากคนจนทั่วประเทศได้เข้าถึงบริการทางการแพทย์มาจนถึงทุกวันนี้ โดย นพ.สงวนเคยให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนตอนหนึ่งว่า  

ส่วนหนึ่งที่ได้แรงบันดาลใจจาก อ.ป๋วย ก็คือเรื่องที่จะทำอย่างไรให้ประชาชนมีหลักประกันสุขภาพตั้งแต่จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน สิ่งที่ผมตั้งใจจะทำคือ  ทำอย่างไรให้ประชาชนมีหลักประกันสุขภาพอย่างครบถ้วน” 

นับจากบทความ จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอนที่ อ.ป๋วยนำเสนอเมื่อปี 2516  จนถึงบัดนี้เวลาผ่านมาได้ 45 ปีแล้ว  แต่แนวคิดของท่านยังไม่ล้าสมัย หลายๆ เรื่องเป็นสวัสดิการที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นในสังคมไทย  และมีเรื่องที่น่ายินดีว่า...

บัดนี้คนยากคนจน คนเล็กคนน้อย ทั้งในเมืองและชนบท  ได้ร่วมกันจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนขึ้นมาเกือบ 6,000 กองทุนทั่วประเทศ เพื่อช่วยเหลือกันเองแล้ว เหลือเพียงแต่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเท่านั้นจะนำแนวคิดเหล่านี้ไปสนับสนุนให้เกิดสวัสดิการที่ยั่งยืนและครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย...ได้อย่างไร...!


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"