กรมสมเด็จพระเทพฯเสด็จเปิดนิทรรศการ"นครรัฐไทยในสุวรรณภูมิ"


เพิ่มเพื่อน    

กฎหมายตราสามดาง


  24 ก.ค.62- นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดนิทรรศการพิเศษ เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย  พ.ศ.2562 เรื่อง “นครรัฐไทยในสุวรรณภูมิ” ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  ในวันที่ 25 ก.ค.นี้ เวลา 09.00 น.  สำหรับนิทรรศการดังกล่าว นำเสนอประวัติศาสตร์โบราณคดีในประเทศไทย  แบ่งเป็นหัวข้อย่อย ได้แก่ 1.คนแรกเริ่มบนแผ่นดินเรา   นำเสนอเกี่ยวกับการก่อร่างสร้างบ้านเมืองไทยบนแผ่นดินไทย  2.นครรัฐไทยในสุวรรณภูมิ นำเสนอเกี่ยวกับความเป็นมาของบ้านเมือง รัฐ หรือนครรัฐ และอาณาจักรของกลุ่มคนตระกูลภาษาไทย - ลาวบนแผ่นดินไทย โดยมีการจัดโซนนำเสนอแยกย่อย อีก 2 หัวข้อหลัก คือ โซนเรื่องจากรัฐโบราณสู่บ้านเมืองไทย ตั้งแต่การสร้างบ้านเมืองไทยบนดินแดนสุวรรณภูมิก่อนการสถาปนารัฐไทยในพุทธศตวรรษที่ 19 และเรื่องรัฐไทยในสุวรรณภูมิแสดงถึงเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของแต่ละรัฐ เช่น ภาคใต้ คือ นครศรีธรรมราช ภาคกลาง คือ อยุธยา ภาคเหนือ คือ สุโขทัย และล้านนา จนเป็นราชอาณาจักรสยามจนถึง ราชอาณาจักรไทย เริ่มตั้งแต่กรุงธนบุรีหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยา เข้าสู่กรุงรัตนโกสินทร์และการปรับเปลี่ยนเข้าสู่โลกแห่งศิลปวิทยาสมัยใหม่

พระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่

                นายอนันต์ กล่าวว่า และอีกหนึ่งโซน คือ ราชาธิปัตย์รัฐสยาม นำเสนอความเป็นปึกแผ่นของบ้านเมือง  ตั้งแต่สมัยการปกครองโดยระบอบราชาธิปไตยของนครรัฐไทย สืบเนื่องนับต่อมาเป็นเวลามากกว่า 700 ปี ตั้งแต่กษัตริย์ในระบอบพ่อขุน ถึงระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช ภายใต้คติความเชื่อเรื่องเทวราชา จักรพรรดิราช และธรรมราชา พระมหากษัตริย์ผู้กอปรด้วยทศพิธราชธรรมในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แก่อาณาประชาราษฎร์ ทรงแผ่พระอำนาจรวบรวมสยามเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายใต้รัฐสยามจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อบ้านเมืองมีการปรับเปลี่ยนไปให้สอดคล้องกับความเป็นไปของโลกภายนอก และได้พัฒนามาสู่ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข แม้ว่าพัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมไทยจะเปลี่ยนไปเท่าใดก็ตาม สัญลักษณ์ความเป็นชาตินั้นยังคงอยู่ที่พระมหากษัตริย์เสมอมา

บังลังค์ล้านนาจำลอง

 

               อธิบดีกรมศิลปากรกล่าวอีกว่า ที่สำคัญนิทรรศการครั้งนี้ ได้มีการคัดเลือกโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ สำคัญกว่า 200 รายการ   นำมาจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั่วประเทศ 19 แห่ง สำนักหอสมุดแห่งชาติ คลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และหอประติมากรรมต้นแบบ สำนักช่างสิบหมู่  มาจัดแสดง อาทิ พระเจดีย์ทรงระฆังจำลอง ทำจากทองคำประดับอัญมณี ที่พบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จ.พระนครศรีอยุธยา พระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ปางมารวิชัย ศิลปะอยุธยาตอนปลาย บัลลังก์จำลอง พร้อมเครื่องสูง ศิลปะล้านนา กฎหมายตราสามดวง รัชกาลที่ 1 สมุดไทย พระพุทธรูปทรงเครื่องรัตนโกสินทร์ปี 2411 ทำจากโลหะสำริดปิดทองประดับกระจก ภาพจารึกลานทองวัดส่องคบ อักษรขอมภาษาไทย พ.ศ. 1951 จังหวัดชัยนาท ภาพรถไฟจำลอง เครื่องราชบรรณาการแด่รัชกาลที่ 4 จากสมเด็จพระนางเจ้าวิตกเรียแห่งอังกฤษ และภาพพระที่นั่งพุดตานวังหน้า ราชบัลลังก์ที่ประทับและราชยานของรัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯสร้างเฉลิมพระเกียรติยศพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้สนใจสามารถเข้าได้ตั้งแต่วันที่ 25 ก.ค. – 25 ต.ค.  เว้นวันจันทร์ - วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ 

พระเจดีย์จำลอง

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"