”ส่งออก”ต้องลุ้นกันต่อไป


เพิ่มเพื่อน    

               ในช่วงครึ่งหลังของปี 2562 นี้ เศรษฐกิจของประเทศไทยยังคงต้องเผชิญสิ่งท้าท้ายอีกหลากหลายรูปแบบ ทั้งความท้าทายจากภายนอกประเทศ โดยเฉพาะความผัวผวนของเศรษฐกิจโลกที่ถึงแม้จะมีการเจรจาเพื่อยุติปัญหาของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน แต่ดูเหมือนว่าจะเป็นการหยุด แต่ไม่ใช่การยุติเพียงชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น เพราะดูท่าทีสงครามการค้านั้นคงไม่จบลงง่ายๆ แน่นอนว่าจะส่งผลกระทบไปทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย

                นายศรชัย สุเนต์ตา ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลด้านการลงทุนและที่ปรึกษาการลงทุน (CIO Office) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า นโยบายทางการเงินที่ผ่อนคลายของธนาคารกลางของสหรัฐและทั่วโลก จะเป็นตัวกำหนดทิศทางการลงทุน ในขณะที่ความขัดแย้งทางการค้าจะยืดเยื้อไม่จบลงง่ายๆ ซึ่งความขัดแย้งน่าจะขยายตัวไปยังหลายประเทศ จนกว่าจะถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐ ก่อนการเลือกตั้งภายใต้การชูนโยบาย “Make America Great Again” ในเดือน พ.ย.2563

                ซึ่งเป็นที่คาดการณ์กันได้ว่า ธนาคารกลางทั่วโลกจะดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากขึ้น เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ และจะต้องรักษา policy space กับอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐที่จะปรับลดลง ไม่ให้เกิดแรงกดดันกับอัตราแลกเปลี่ยนให้ซ้ำเติมการส่งออกมากขึ้นอีกด้วย โดยธนาคารกลางสหรัฐมีกระสุนที่จะลดดอกเบี้ยมากที่สุด โดยคาดว่า Fed จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้รวม 2 ครั้งจากปัจจุบัน ซึ่งจะถือเป็นสัญญาณเชิงบวกว่า Fed พร้อมจะดำเนินนโยบายการเงินอย่างทันที เป็นเหมือนการฉีดวัคซีนป้องกันให้กับเศรษฐกิจก่อนที่โรคร้ายแรงจะเกิด

                อย่างไรก็ตาม ด้วยสถานการณ์ของเศรษฐกิจโลกที่มีความผันผวนต่อเนื่อง ย่อมส่งผลกระทบต่อประเทศไทย ทั้งนี้ นายกำพล อดิเรกสมบัติ ผู้อำนวยการอาวุโส Economic and Financial Market Research สถานบันอีไอซี ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ได้เปิดเผยถึงมูลค่าการส่งออกไทยเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา ว่า โดยรวมหดตัวที่ -2.1% แต่หากหักทองคำ การส่งออกหดตัวถึง -8.7% ซึ่งจากการส่งออกทองคำเดือน มิ.ย.ขยายตัวในระดับสูงถึง 317.4%

                โดยหากไม่รวมการส่งกลับอาวุธไปยังสหรัฐในเดือน ก.พ. มูลค่าส่งออกของไทยหดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 8 และในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ มีมูลค่าการส่งออกหดตัวที่ -4.4% ส่วนสินค้าสำคัญที่มีการหดตัวยังคงเป็นสินค้าที่เป็นส่วนหนึ่งในห่วงโซ่อุปทานของการผลิตสินค้าส่งออกของจีนที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐ เช่น คอมพิวเตอร์-อุปกรณ์และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์และพลาสติก และแผงวงจรไฟฟ้า

                นอกจากนี้ ยังมีสินค้าส่งออกประเภทอื่นที่มีการหดตัว เช่น ข้าว เม็ดพลาสติก เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ยาง และน้ำตาลทราย ขณะที่สินค้าสำคัญที่มีการขยายตัวในเดือน มิ.ย. คือยางพาราที่พลิกกลับมาขยายตัวที่ 11.8% จากการส่งออกไปยังตลาดจีนและสหรัฐ

                ส่วนการส่งออกหดตัวเกือบทุกตลาดสำคัญ โดยเฉพาะการส่งออกไปจีนที่หดตัวถึง -14.9% รวมถึงการส่งออกไป CLMV ที่หดตัว -9.3% โดยมีการหดตัวทั้งการส่งออกไป กัมพูชาหดตัวมากจากการส่งออกจักรยานยนต์ ลาวหดตัวมากจากการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป เมียนมาหดตัวมากจากการส่งออกเครื่องจักร และหดตัวมากจากการส่งออกเม็ดพลาสติก อย่างไรก็ดี การส่งออกไปยังอินเดียยังสามารถขยายตัวได้ที่ 8.1%

                สำหรับในช่วงครึ่งปีหลังนี้ การส่งออกของไทยยังไม่มีสัญญาณฟื้นตัว เช่นเดียวกับหลายประเทศในภูมิภาค โดยมูลค่าการส่งออกของหลายประเทศมีการหดตัวต่อเนื่องและหากพิจารณาอัตราการขยายตัวของมูลค่าส่งออกในเดือน มิ.ย. พบว่าในหลายประเทศการส่งออกมีทิศทางหดตัวมากขึ้นจากตัวเลขในเดือน พ.ค. ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเกิดจากสงครามการค้าที่ยกระดับความรุนแรงเพิ่มขึ้นเมื่อเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งเดือน มิ.ย.เป็นเดือนแรกที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงที่เพิ่มขึ้น

                อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้คงต้องลุ้นกันต่อไปว่าสถานการณ์การส่งออกของไทยจะรอดโดยมีอัตราการเติบโตเป็นบวก หรือจะร่วง เติบโตแบบติดลบหรือไม่!!!.

 ศรยุทธ เทียนสี


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"