"ภัยแล้ง" เสี่ยงกระทบ ศก.


เพิ่มเพื่อน    

 

          ต้องยอมรับว่าปี 2562 สถานการณ์ภัยแล้งในประเทศได้ส่งผลกระทบค่อนข้างรุนแรงกับภาคเกษตรของไทย โดย "ศูนย์วิจัยกสิกรไทย" ได้ประเมินว่า ผลกระทบจากภัยแล้งนอกฤดูกาลในครั้งนี้ (พ.ค.-ก.ค.2562) ซึ่งมาจากอิทธิพลของเอลนีโญ กำลังอ่อนที่ทำให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงและมีภาวะฝนน้อยน้ำน้อย จนทำให้คาดว่าจะทำให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตข้าวนาปีเป็นหลัก เนื่องจากตรงกับฤดูกาลเพาะปลูก

                อีกทั้งผลผลิตข้าวนาปีส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คิดเป็นสัดส่วนผลผลิตถึง 46.4% ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งประเทศ ซึ่งพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปีในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่นอกเขตชลประทานมากถึง 90% ของพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปีทั้งหมดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงต้องอาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติเป็นหลัก

                ซึ่งภัยแล้งในช่วงนอกฤดูกาลดังกล่าวนี้ ทำให้ราคาข้าวนาปีเฉลี่ยขยับขึ้น ส่งผลต่อภาพรวมราคาข้าวนาปีเฉลี่ยในช่วงครึ่งแรกของปี 2562 ให้ขยับเพิ่มขึ้นถึง 6.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ด้วยความเสียหายจากปัญหาภัยแล้งที่ยืดเยื้อยาวนานที่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตข้าวนาปีที่ลดลงนี้ จึงยังเป็นแรงกดดันต่อภาพรวมรายได้ของเกษตรกรในที่สุด

                ทั้งนี้ "ศูนย์วิจัยกสิกรไทย" ประเมินถึงผลกระทบต่อความสูญเสียทางเศรษฐกิจในช่วงภัยแล้งนอกฤดูกาล (พ.ค.-ก.ค.2562) อาจไม่ต่ำกว่า 1.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นการประเมินความเสียหายของข้าวนาปี ทั้งในเขตชลประทานและนอกเขตชลประทาน หรือคิดเป็น 0.1% ของจีดีพี ซึ่งในส่วนนี้เป็นการประเมินในเบื้องต้น ซึ่งหากรวมผลเสียหายของพืชเกษตรอื่น อาจทำให้มีมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจมากกว่าที่ประเมินไว้

                อย่างไรก็ดี ยังต้องจับตาสถานการณ์ภัยแล้งในปีนี้ ที่อาจจะลากยาว และส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงปริมาณน้ำต้นทุนในเขื่อน ซึ่งจะใช้เป็นน้ำเพื่อทำการเกษตรในฤดูแล้งถัดไปในปีหน้า (พ.ย.2562-เม.ย.2563) โดยจะกระทบต่อพืชเกษตรหลักที่มีฤดูกาลเก็บเกี่ยวในช่วงฤดูแล้งที่สำคัญ คือ ข้าวนาปรัง มันสำปะหลัง และอ้อย ก็จะยิ่งทำให้ตัวเลขมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจมีความเสียหายต่อเนื่องไปจนถึงปี 2563 และกระทบกับรายได้เกษตรให้ยังคงลำบากต่อเนื่องไปอีก และจะยิ่งเป็นการฉุดกำลังซื้อครัวเรือนภาคเกษตร การมีงานทำ รวมทั้งปัญหาในภาคธุรกิจเอสเอ็มอีด้วย

                ด้านเกษตรกรเองก็ได้มีการออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งให้ความช่วยเหลือ โดยให้มีการแสดงจุดยืนที่ชัดเจนในเรื่องการช่วยเหลือเกษตรกรในการลดต้นทุน การหาเทคโนโลยี วิธีการต่างๆ เข้ามาช่วยเหลือ ขณะที่กระทรวงพาณิชย์เองก็ควรดูแลเกษตรกร โดยมองความจำเป็นสำหรับเกษตรกรไม่เชื่อข้อมูลที่บิดเบือน ทั้งๆ ที่ไม่มีผลต่อสุขภาพในเกษตรกร พร้อมทั้งเรียกร้องให้รัฐบาลชุดใหม่ให้ความสำคัญกับมาตรการด้านการส่งออก ภาษี และแรงงาน เนื่องจากปัจจุบันรัฐบาลสามารถดำเนินการเรื่องราคาสินค้าเกษตรได้ดีแล้ว แต่ยังไม่ชัดเจนในเรื่องนโยบายที่เกี่ยวข้องดังกล่าว จนส่งผลกระทบรุนแรงต่อภาคการผลิต

                ขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ไม่ได้นิ่งนอนใจเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้ออกมาตรการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบปัญหาภัยแล้ง โดยเตรียมวงเงิน 5.5 หมื่นล้านบาท สำหรับปล่อยกู้ใน 2 ส่วน คือ การปล่อยกู้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน คิดดอกเบี้ยปีแรก 0% และอีก 5 พันล้านบาท เพื่อฟื้นฟูการผลิตหรือปรับเปลี่ยนการผลิตที่สามารถลดความเสี่ยงจากภัยแล้ง คิดอัตราดอกเบี้ย 5% รวมทั้งยังขยายเวลาชำระหนี้ต้นเงินกู้ออกไปก่อนระยะหนึ่ง ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของภาคเกษตรได้ในระดับหนึ่ง

                จริงๆ เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องเร่งเข้ามาให้ความช่วยเหลือดูแล เพราะภาคเกษตรถือเป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญและมีน้ำหนักอย่างมากต่อภาพรวมเศรษฐกิจไทย ที่ผ่านมาภาคเกษตรได้รับผลกระทบอย่างมากแล้ว จากปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสามารถในการใช้จ่ายให้ชะลอตัวลงด้วย จนนำไปสู่หลายๆ ปัญหา โดยเฉพาะปัญหาหนี้ครัวเรือน และหนี้นอกระบบ หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่เร่งแก้ปัญหาในส่วนนี้ และปล่อยให้ลุกลาม อาจกลายเป็นผลเสียที่ส่งผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไปได้.

ครองขวัญ รอดหมวน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"