กรมชลฯยืนยัน น้ำ4เขื่อนพอใช้ พายุจ่อเข้าไทย


เพิ่มเพื่อน    

 อธิบดีกรมชลฯ ยัน 4 เขื่อนหลักยังมีน้ำพอใช้ 40 วัน อย่ากังวลไม่วิกฤติแน่นอน เพราะฝนตกน้ำไหลเข้าเขื่อนทุกวัน แต่เตือนพื้นที่นาดอนลุ่มเจ้าพระยาชะลอปลูกข้าวไปก่อน คาดเดือนหน้าฝนมา พายุแถมมา 1 ลูก

     นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า จากปริมาณน้ำใช้การได้ใน 4 เขื่อนหลัก ลุ่มเจ้าพระยามีน้ำน้อย เช่น เขื่อนภูมิพล 682 ล้านลบ.ม. หรือ 4%, เขื่อนสิริกิติ์ 391 ล้าน ลบ.ม. หรือ 4%, เขื่อนแควน้อย 80 ล้าน ลบ.ม. หรือ 8%, เขื่อนป่าสักฯ 35 ล้าน ลบ.ม. หรือ 4% รวมน้ำใช้การได้ 1.18 พันล้าน ลบ.ม. ระบายออกรวม 42.60 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน ปริมาณน้ำไหลเข้า 4 เขื่อน รวม 4.35 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน จึงสั่งการให้ทุกโครงการชลประทานบริหารตามแนวทางของกรมที่วางแผนไว้อย่างเคร่งครัด โดยประสานกลุ่มผู้ใช้น้ำและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เพื่อให้การใช้น้ำเกิดประสิทธิภาพและประหยัดน้ำสำหรับประโยชน์ของภาคส่วน ได้วางแนวทางปฏิบัติไว้ดังนี้
         1.ให้ทุกโครงการชลประทานประสานกลุ่มผู้ใช้น้ำในพื้นที่ปฏิบัติตามแผนส่งน้ำแต่ละรอบเวรอย่างเคร่งครัด เพื่อให้น้ำไปทั่วถึงเกษตรกรและผู้ใช้น้ำทุกภาคส่วนอย่างเป็นธรรม โดยเฉพาะรักษาพื้นที่เพาะปลูกคือนาข้าวที่ปลูกแล้วประมาณ 6.21 ล้านไร่ 
    2.กำชับให้สถานีสูบน้ำของ อปท.ทั้ง 339 แห่ง สูบน้ำตามรอบเวร ที่กรมชลประทานวางแผนไว้เพื่อป้องกันการสูบนอกแผนงาน อันจะกระทบกับพื้นที่อื่น
          3.สำหรับเกษตรกรในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาที่เป็นพื้นที่นาดอน ให้เจ้าหน้าที่ทำความเข้าใจให้เกษตรกรชะลอการปลูกข้าวไปจนกว่าจะมีฝนปกติ เพื่อป้องกันความเสียหาย 
    และ 4.โครงการบางระกำโมเดล ที่กรมชลประทานส่งเสริมให้ปลูกข้าวช่วงเดือนเมษายน เพื่อให้เกี่ยวข้าวเสร็จก่อนน้ำหลาก ขณะนี้เก็บเกี่ยวหมดแล้ว โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษายมน่าน แจ้งให้เกษตรกรในพื้นที่ทราบว่าจะเริ่มงดส่งน้ำเพื่อการเกษตรตั้งแต่ 31 ก.ค.2562 ตามที่ได้วางไว้ และประสบความสำเร็จด้วยดีเช่นปีที่ผ่านมา
          "ยืนยันว่าภายใน 40 วัน น้ำไม่หมดเขื่อน และยังไม่เกิดวิกฤติขาดน้ำตามที่วิตกกังวล เพราะความจริงจะมีฝนตกและน้ำไหลเข้าเขื่อนแต่ละพื้นที่ทุกวัน เมื่อเทียบกับสถานการณ์ฝนน้อยในปี 2558 ซึ่งระบายน้ำเพียงวันละ 18 ล้าน ลบ.ม. เพื่อการบริโภคอุปโภคเท่านั้น และงดส่งน้ำเพื่อการเกษตร แต่ในปีนี้ยังระบายน้ำได้วันละกว่า 40 ล้าน ลบ.ม. เมื่อเทียบกันแล้วสถานการณ์น้ำในปีนี้ดีกว่าปี 2558 อย่างไรก็ตาม แม้สถานการณ์ภาพรวมปีนี้ยังมีน้ำใช้การมากกว่าปี 2558 ก็ตาม แต่การประหยัดน้ำจะช่วยป้องกันวิกฤติที่อาจเกิดขึ้นในสภาวะอากาศผันผวน"
    นายทองเปลวกล่าวว่า สำหรับการปลูกพืชในเขตชลประทาน (นาปี) ปี 2562 ตามแผนกำหนดไว้ 16.21 ล้านไร่ ปัจจุบันเพาะปลูกแล้ว 11.23 ล้านไร่ (69%) ในส่วนพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาแผนการเพาะปลูกข้าวนาปี 7.65 ล้านไร่ ปลูกแล้ว 6.21 ล้านไร่ (81.14%) ของแผน ทั้งนี้ กรมยืนยันว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ในเขตชลประทานยังคงมีน้ำเพียงพอสำหรับน้ำเพื่อการเกษตร อุปโภคบริโภค อุตสาหกรรม และรักษาระบบนิเวศ
          เขากล่าวว่า แม้ในเขตชลประทานจะมีน้ำพอใช้ แต่ต้องใช้อย่างประหยัดและคุ้มค่า เน้นใช้น้ำแบบรอบเวร โดยเฉพาะเดือนสิงหาคม-กันยายน ขอความร่วมมือการประปาส่วนภูมิภาค การประปาส่วนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้สูบตามระยะเวลาที่กำหนด และให้ลดระยะเวลาการสูบ พร้อมสนับสนุนการปลูกพืชเบบเปียกสลับแห้งที่ช่วยลดปริมาณการใช้น้ำได้ถึง 20-30%
         สำหรับการเตรียมการรับมือภัยแล้งของกรมชลประทาน ได้สั่งการให้เฝ้าระวังในพื้นที่ 22 จังหวัด ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก โดยในส่วนภาคเหนือนั้นเข้าดำเนินการก่อนฝนทิ้งช่วง ด้วยวิธีจัดรอบเวรส่งน้ำให้เกษตรกรผู้ปลูกลำไย และส้ม ซึ่งปัญหาคลี่คลายลงเป็นลำดับ นอกจากนี้ กรมยังเตรียมเครื่องสูบน้ำทั้งประเทศ 1,935 เครื่อง รถบรรทุกน้ำ 106 คัน รวมทั้งเครื่องจักรกลสนับสนุนอื่นๆ อีกกว่า 2,000 หน่วย เพื่อช่วยประชาชนและเกษตรกร
         “การบริหารจัดการน้ำ ได้วางแผนให้สอดคล้องตามการคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา ระบุว่าฤดูฝนปีนี้จะมีปริมาณฝนทั้งประเทศน้อยกว่าปีที่ผ่านมา และน้อยกว่าค่าปกติประมาณ 10% โดยมีฝนทิ้งช่วง เมื่อปลาย มิ.ย.-กลาง ก.ค. และจะมีฝนตกชุกช่วงปลาย ก.ค.-ก.ย. และคาดว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อนเข้าไทย 1 ลูก” อธิบดีกรมชลประทานกล่าว.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"