ค้าปลีก…อินฟินิตเกม


เพิ่มเพื่อน    

 

        ยังคงเป็นประเด็นอย่างต่อเนื่อง สำหรับวิกฤติและหนทางอยู่รอดในผู้ประกอบการค้าปลีกแบบดั้งเดิม ว่าจริงๆ แล้วทางออกคืออะไร และในปัจจุบันนี้ร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมยังจำเป็นอยู่หรือไม่ เพราะจากการเข้ามาของเทคโนโลยีที่ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปค่อนข้างมาก ความสะดวกสบายเป็นสิ่งที่ใครๆ ก็ต่างต้องการ ไม่อยากไปรถติดบนถนน หรือเข้าคิวรอรับประทานอาหารตามห้างสรรพสินค้า แทบทุกอย่างกำลังเป็นออนไลน์สไตล์กันหมด หากเป็นเช่นนั้นแล้วรูปแบบร้านค้าปลีกดั้งเดิมในยุคนี้จะต้องมีโมเดลอย่างไร จึงจะเดินไปให้ถูกทาง ไม่ต้องล้มหายไปจากตลาดเหมือนหลายรายที่เป็นมาก่อนหน้า

                วีรวัฒน์ ปัณฑวังกูร รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย เรียกเกมค้าปลีกในทุกวันนี้ว่า Infinite Game หรือเกมที่ไม่มีวันจบ คนซื้อเปลี่ยน สิ่งที่ผู้ประกอบการทำวันนี้ไม่เหมือนเดิม แต่ก่อนโลกไม่มีเทคโนโลยี ทำให้ต้นทุนหลายอย่างค่อนข้างแพง แต่ตอนนี้บางสิ่งที่เคยแพง อย่างโลจิสติกส์ ก็ไม่แพง ต่อมาในเรื่องของคนขายก็เปลี่ยนไปเช่นเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น เดิมทีหากอยากจะรับประทานอะไรสักอย่าง ก็เดินไปปากซอยแถวบ้าน เดี๋ยวนี้ร้านอาหารไกลๆ บ้านก็สามารถใช้บริการได้ เพียงแค่เข้าแอปพลิเคชันก็ได้อาหารอย่างที่ต้องการ เรียกว่ามีผู้เล่นที่มองไม่เห็นโผล่มาจากไหนก็ไม่รู้ ร้านค้าปากซอยเลยอาจจะไม่ค่อยมีคนเข้า

                หากย้อนกลับไปเมื่อช่วงวิกฤติปี 2540 ก็ต้องบอกว่าเป็นประวัติศาสตร์ที่จะเชื่อมว่าโลกเป็นเช่นนี้ นิวรีเทลอาจไม่มีอยู่จริง โอลรีเทลไม่มีอยู่จริง ความจริงคือคนที่ยังอยู่และไป หรือเหลือแค่บางคน ถามว่าแล้วเรื่องรีเทลตอนนี้เกี่ยวอะไรกับวิกฤติในปีดังกล่าว ส่วนตัวรู้สึกว่ามันมีโอกาสไปข้างหน้า แต่ว่าทำยังไงที่ตัวเองจะไม่ใช่คนที่หลุดหายไประหว่างทาง ในช่วงวิกฤติเจอแต่คนล้ม ทำยังไงให้เล่นเกมนี้ได้

                “นับว่าโชคดีเกมนี้ไม่โหดร้ายเหมือนครั้งก่อน ตอนนี้มีเทคโนโลยีเป็นตัวช่วย แต่วันนี้จะเลวร้ายกว่าหากตัวเราเองไปติดกับดัก เพราะเพียงแต่คิดว่าเทคโนโลยีมาดิสรัป ฉันตายแน่เลย แต่ทุกคนมีสมาร์ทโฟนกันทุกคน มันเป็นตัวช่วยสำหรับคนที่ใช้ และเป็นดาบที่ทิ่มแทงของคนที่ไม่ใช้”

                ในโลกปัจจุบันที่ทุกคนอยู่ หากเคยขายให้ใครก็ขายต่อไป และดูกำไรยอดขาย ผลคือผู้ประกอบการไม่รู้ว่ามีอย่างอื่นในสมการด้วย แล้วลูกค้าล่ะ! เขาก็หาแวลูอะไรใหม่ด้วย ไม่ใช่ว่าสินค้าคุณภาพดี แต่บางทีต้องการแวลู อย่างเช่นว่าทุกคนขายเสื้อผ้าเหมือนกันหมด แต่ลูกค้าต้องการแวลูบางอย่าง อะไรที่ลูกค้าต้องการมากกว่าที่เราเห็น ทำยังไงให้ไม่ติดกับดักอยู่ที่เดิม นี่คือสิ่งที่เทคโนโลยีจะช่วยได้

                อินฟินิตเกม (Infinite Game) คืออะไร?  มันคือเกมที่ไม่มีวันจบ กติกาอะไรก็ไม่รู้ ใครเป็นคนบอกว่าวันนี้ต้องกำไร ทำไมไม่กำไรปีหน้า เป็นการเล่นที่ไม่จบ ไม่รู้กติกา ไม่รู้จุดเริ่ม เล่นเพื่อให้รู้ว่าพรุ่งนี้ยังเล่นต่อ ซึ่งธุรกิจก็เป็นเช่นนั้น มองแบบนี้ก็มามองตัวเองที่เป็นธนาคาร ไม่รู้จะชนะอะไร แพ้อะไร และสุดท้ายก็เล่นต่อวันพรุ่งนี้

                หากจะอยู่ในเกมต้องมีทำอย่างไร....อย่างแรก Just Cause เหตุผลที่ชัดเจน หากเปิดร้านชานมไข่มุก เปิดไปทำไม หากเปิดเพราะทำไรก็จบ จริงๆ จัสคอสเหมือนรากแก้ว หากไม่มีรากแก้ว คือความตั้งใจของคนทำธุรกิจ และจะเป็นตัวที่พาให้ธุรกิจก้าวข้ามความไม่สะดวกสบาย และความลำบากระหว่างทางไปได้ ข้อต่อมา Leader ก็คือ คนมีตำแหน่งสูงกว่าใครหลายคน เป็นคนที่มีคนพร้อมจะตาม แล้วในบริบทของอินฟินิตเกม ต้องมีความแน่วแน่จะยึดตามจัสคอส

                สำหรับเรื่องต่อมาจะเป็น Team ไม่ได้ว่าใหญ่หรือเล็ก เขาบอกว่าหากมีเฮดเคาต์คือนับหัวคน แต่ถ้าเป็นฮาร์ตเคาต์คือคนที่ใจตรงกับเราและให้ใจกับงาน ทีมที่ไปได้คือทีมที่มีใจ แล้วต้องมีสองบนข้างต้นที่กล่าวมา ส่วน Worthy Rivals คือแข่งที่มีคุณค่า เพราะไม่ได้เปิดธุรกิจมาเพื่อชนะทุกคน คู่แข่งที่ทำให้เราก้าวไปข้างหน้า บางทีคิดไม่ออกก็ลอกเพื่อน แต่ต้องทำแล้วเป็นอะไรที่มีแรง พรุ่งนี้ฉันต้องดีกว่าวันนี้ การมีคู่แข่งที่มีความหมาย นั่นคือเราจะไม่ได้ไปฆ่าเขา เพราะไม่มีธุรกิจอะไรไม่มีคู่แข่ง และข้อสุดท้าย Open Playbook ท่าไม้ตายไม่เพียงพอต่อการแข่ง ต้องรู้จักเล่นได้หลากหลาย ไม่ใช่อะไรก็ขายเพียงอย่างเดียว ต้อง Flexible บ้าง เพราะหากจะอยู่ในอินฟินิตเกม (Infinite Game) เล่นเป็นจะมีสิทธิเล่นต่อไป.......

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"