เปิดบ้าน แม่ขวัญจิต ศรีประจันต์  แหล่งเรียนรู้สืบสานเพลงอีแซว


เพิ่มเพื่อน    

แม่ขวัญจิค ศรีประจันต์ ตำนานครูเพลงอีแซว ในวัย 72ปี



"เพลงอีแซว"  เป็นเพลงพื้นบ้านของจังหวัดสุพรรณบุรี  เป็นการร้องโต้ตอบกันระหว่างผู้ร้อง ที่ต้องใช้ปฎิภาณไหวพริบ  ใช้คำพูดคารมคมคายมาโต้กลับอีกฝ่าย จนถูกใจผู้ชมผู้ฟัง   อีกทั้งยังมีดนตรีประกอบเที่เล่นเข้าจังหวะเนื้อหา  สร้างความสนุกสนานคึกครื้นมากยิ่งขึ้น   ในอดีตเมื่อ 50ปีที่แล้วเพลงอีแซวโด่งมาก และผู้ที่เป็นตำนานแห่งเพลงอีแซวนั้นก็คือ แม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ หรือนางเกลียว เสร็จกิจศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง(เพลงพื้นบ้าน-อีแซว) ปี2539 


ปัจจุบันเด็กรุ่นใหม่ ส่วนใหญ่ไม่รู้จักว่าเพลงอีแซวคืออะไร  ร้องเล่นกันแบบไหน  กรมส่งเสริมวัฒนธรรม(สวธ.) จึงพยายามจัดทำโครงการอนุรักษ์ เพลงอีแซว ไม่ให้สูญหาย ด้วยการพาไปงานเปิดบ้าน แม่ขวัญจิต ศรีประจันต์   ณ บ้านเลขที่ 9 หมู่1 ตำบลสนามชัย   ถนนสุพรรณ-โพธิ์พระยาอำเภอเมืองฯจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเปิดเป็นพื้นที่เรียนรู้ สำหรับนักเรียน นักศึกษา และประชาชน เกี่ยวกับภูมิปัญญาทางด้านศิลปะการแสดงเพลงพื้นบ้าน-อีแซว 

พื้นที่ชั้นล่างสอนเพลงอีแซวให้เยาวชนที่สนใจ


บ้านทรงเรือนไทยของแม่ขวัญจิต ท่ามกลางธรรมชาติและพันธุ์ไม้ บริเวณชั้นล่างมีการจัดนิทรรศการชีวประวัติของแม่ขวัญจิตผลงานที่มีตั้งแต่ยังเป็นตลับเทปซีดีและสมุดเนื้อเพลงที่แม่ขวญจิตเป็นเขียนเองและรางวัลต่างๆที่นี้ก็ได้แบ่งพื้นที่ฝึกสอนเพลงอีแซวสำหรับผู้ที่สนใจอยากมาเรียน 


นายธีระชัย   ทศรฐ     รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี  ที่มาเป็นประธานเปิดบ้านแม่ขวัญจิต กล่าวว่าแม่ชวัญจิต นับว่าเป็นผู้มีพรสวรรค์ทางด้านศิลปะการแสดง  เป็นแม่เพลงที่มีไหวพริบปฏิภาณสำนวนกลอนคมคายเป็นที่จับใจของผู้ชมสามารถนำเหตุการณ์ปัจจุบันมาเขียนเป็นเพลงอีแซวเพื่อสอดแทรกเนื้อหาด้านคุณธรรมจริยธรรมแก่ประชาชนได้อย่างมีศิลปะ   ทำให้มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับทั่วประเทศ    จนกลายเป็นสัญลักษณ์แม่เพลงพื้นบ้านแห่งจังหวัดสุพรรณบุรี นอกจากนี้ยังเป็นวิทยากรพิเศษให้ความร่วมมือแก่สถานบันศึกษาต่างๆในจังหวัดสุพรรณบุรีอนุรักษ์ส่งเสริมศิลปะเพลงพื้นบ้านมาโดยตลอดโดยมีเจตนารมณ์อันแน่วแน่ที่จะดำรงรักษาองค์ความรู้และผลงานด้านศิลปะการแสดงเพลงพื้นบ้าน-อีแซวให้เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมแก่เยาวชนคนรุ่นหลังจึงได้เปิดพื้นที่ของบ้านแห่งนี้เป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาทางด้านศิลปะการแสดงเพลงพื้นบ้าน-อีแซวเพื่อเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านศิลปะการแสดงเพลงพื้นบ้านออกไปอย่างกว้างขวางสืบไป

ตลับเทปผลงานเพลงอีแซวของแม่ขวัญจิต


แม่ขวญจิตในวัย72 ปี ซึ่งทุกวันนี้ ก็ยังคงทำหน้าที่สืบสานและอนุรักษ์เพลงอีแซว โดยสัญจรไปตามโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อให้คนรุ่นหลังได้รู้จักและสานต่อสิ่งเหล่านี้   เล่าว่า  ตั้งแต่เด็กชอบร้องเพลงมากพอเรียนจบชั้นป.4 ก็ขอพ่อแม่มาเรียนรู้การร้องเพลงกับพ่อไสว วงษ์งามแทน และ  แม่บัวผัน    จันทร์ศรี    จึงเริ่มมีความสนใจในเพลงพื้นบ้าน ถึงแม้แม่บัวผันจะไม่ค่อยรู้หนังสือ   ตนเองก็มีความรู้น้อยในตอนนั้น   ต้องอาศัยความพยายาม ความขยันอย่างมาก  ในการจดจำเนื้อเพลงทำนองมากกว่าคนอื่นๆ เวลาพ่อไสว หรือแม่บัวผันไปออกงาน   ก็จะคอยตามไปคอยเก็บเกี่ยวสิ่งที่แสดงบนเวทีร้องตามเขาบ้างจนเราคล่อง   ก็เริ่มออกงานเอง ซึ่งในสมัยก่อน   และพยายามพัฒนาตัวเองมาตลอด

สมุดเนื้อเพลงอีแซว


แม่ขวัญจิตเล่าอีกว่า    เพลงอีแซวนับว่าเป็นสมบัติของชาวสุพรรณและประเทศไทยซึ่งก็มีการปรับเปลี่ยนเรื่องตามสถานการณ์อย่าง   ในอดีตอาจจะร้องเกี่ยวกับตำนานเรื่องเล่าพอมาถึงยุคปัจจุบัน  ก็มีการปรับเปลี่ยนคำร้องให้ล้อไปกับสถานการณ์ต่างๆ     ตอนนั้นร้องรับส่งกันด้วยจังหวะที่สนุกสนานและกระชับมากขึ้น ซึ่งตนก็ได้สอนให้กับลูกศิษย์มาแล้วหลายรุ่นสำหรับลูกศิษย์ที่เป็นครูก็ได้มีการนำไปเผยแพร่ให้กับนักเรียนก็ดีใจที่มีเด็กรุ่นใหม่ยังสนใจเพลงอีแซวอยู่ 


“ต้องขอบคุณที่ทางภาครัฐได้เห็นถึงความสำคัญและคุณค่าของเพลงอีแซวในการสนับสนุนให้บ้านของแม่ ได้เป็นพื้นที่เรียนรู้เพลงพื้นบ้านโดยหลังจากนี้ก็จะมีการปรับเปลี่ยนการสอนให้เป็นแบบแผนและจัดเวลาให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้นสำหรับผู้ที่สนใจมาเรียนรู้หรือมาเยี่ยมชมเพราะไม่อยากให้เพลงอีแซวสูญหายให้คงมีอยู่คู่ภาคกลางต่อไป” แม่ขวัญจิตเล่าถึงความมุ่งมั่น

พีรพงษ์(ขวา)- จิระพงศ์(ซ้าย)


นายพีรพงษ์    บุญสิทธิ์ นักเรียนชั้นปวช.1 วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการจำนงค์วิทยาเขตดินแดง กรุงเทพฯหนึ่งในลูกศิษย์ ที่มาเรียนรู้เพลงอีแซว กับแม่ขวัญจิต  บอกว่าตนเป็นญาติกับพี่สามารถซึ่งเป็นลูกศิษย์แม่ขวัญจิตได้เห็นเขาร้องเพลงอีแซว   ตอนแรกไม่ค่อยสนใจแ ต่ก็ได้ซึมซับและเรียนรู้เริ่มจากร้องฮึมฮัมคนเดียวจนได้เริ่มฝึกร้องอย่างจริงจัง   ซึ่งเพลงอีแซวมีหลายเพลง  และมีความไพเราะด้วย จนทำให้เกิดเป็นความชอบและพัฒนาตนเองเรื่อยมา


อีกหนึ่งเยาวชนที่ลูกคอ  นายจิระพงศ์ ตามสมัย นักเรียนชั้นปวช. 1 วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการจำนงค์วิทยาเขตดินแดงกรุงเทพฯบอกว่าเริ่มฝึกเพลงพื้นบ้านตั้งตอนอายุ8 ขวบ ฝึกกับครูสามารถเป็นผู้ฝึกสอนเข่นเดียวกันตอนหัดครั้งแรกๆก็เริ่มจากเล่นดนตรีให้กับวงไปก่อน   พอออกงานเราก็เริ่มจำและหัดร้อง   พอครูเห็นแววก็ให้เป็นผู้ขับร้องจริง  นับว่าเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการหารายได้เสริมและยังได้อนุรักษ์เพลงพื้นบ้านไทยด้วย


ด้านนางพิมพ์รวี วัฒนวรางกูรที่ปรึกษากรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวว่าได้เล็งเห็นคุณค่าของศิลปินแห่งชาติผู้สร้างสรรค์ผลงานอันเป็นภูมิปัญญาของแผ่นดิน โดยเฉพาะบ้านศิลปินแห่งชาติซึ่งเป็นแหล่งสั่งสมองค์ความรู้ภูมิปัญญาและเป็นสถานที่ที่สร้างผลงานอันล้ำค่าดังนั้นจึงสมควรที่ปรับปรุงและพัฒนาให้เป็นแหล่งศึกษาสร้างเสริมทักษะและถ่ายทอดประสบการณ์จากศิลปินแห่งชาติซึ่งบ้านแม่ขวัญจิตศรีประจันต์   เป็นหลังที่26 ที่ได้ทำการเปิดบ้านศิลปินในปีนี้  และอย่างที่ทราบกันว่าเพลงพื้นบ้านหรือการละเล่นพื้นบ้านไม่ค่อยได้รับความสนใจหรือนิยมเท่าไหร่นักเยาวชนที่อยากจะสานต่อก็ค่อนข้างน้อย ดังนั้น    สิ่งสำคัญคือการได้ศิลปินที่มีความเชี่ยวชาญด้านนี้ได้ถ่ายทอดต่อไปเพราะเราคงไม่หวังให้เยาวชนต้องร้องเพลงอีแซวได้แต่ให้เขาได้รู้จักก็ยังดีอีกทั้งยังเป็นแหล่งเรียนรู้และสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมต่อไป   ทั้งของชาวไทยและชาวต่างชาติด้วย

ในงานเปิดบ้าน ยังมีการแสดงพิเศษเพลงอีแซวโดยแม่ขวัญจิตศรีประจันต์และศิลปินแห่งชาติมาขับร้องบทเพลงสร้างความสนุกสนานอาทิ   สมเศียร   พานทอง  หรือ  ชายเมืองสิงห์ , ผ่องศรีวรนุช, ไวพจน์  เพชรสุพรรณฯลฯและการแสดงชุดปิติศิลปินภูมิแผ่นดินเมืองสุพรรณ     โดยวิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรีและชุดฝากไว้ให้สืบสานโดยกลุ่มพ่อเพลงแม่เพลงลูกเพลงพื้นบ้านสุพรรณบุรีและการแสดงอื่นๆอีกมากมายในบรรยากาศที่มีผู้ร่วมงานทั้งนักเรียนและบุคคลทั่วไปอย่างอบอุ่นและสนุกสาน

การแสดงภาคพิเศษ

 

 

บ้านแม่ขวัญจิต ที่มองจากด้านนอก 



 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"