บทบาทใหม่ "อพท."


เพิ่มเพื่อน    

 

           ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกชะลอตัวจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยในช่วงที่ผ่านมา แต่หากหันมามองธุรกิจท่องเที่ยวของไทยก็ยังคงเติบโต แม้จะไม่มากเท่าที่ประมาณการไว้แต่ต้นปี แต่ก็สร้างรายได้ให้กับประเทศจำนวนมหาศาล แต่ทว่าการเติบโตทางด้านรายได้และจำนวนนั้น ไม่สำคัญเท่ากับการเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน “ทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ” ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรือ อพท. กล่าวว่า หากต้องการให้การท่องเที่ยวของประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืน ต้องปรับกระบวนการการท่องเที่ยวให้มีวิธีบริหารจัดการที่ดี โดยเฉพาะการบริหารจัดการในทุนทางทรัพยากร วิถีชีวิต วัฒนธรรมประเพณี ให้มีคุณค่า ไม่ใช่เพียงแค่อนุรักษ์ แต่คือการสืบสาน เพราะทั้งหมดคือเสน่ห์การท่องเที่ยวของไทยที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวได้อย่างไม่เสื่อมคลาย

                ซึ่ง อพท. นั้นได้จัดตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2546 โดยทำหน้าที่เป็นองค์กรกลางในการประสาน ส่งเสริมและสนับสนุนทุกภาคีการพัฒนาให้เข้ามามีส่วนร่วมการบริหารจัดการเพื่อการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการ ผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมแบบ Co-Creation ร่วมคิด ร่วมวางแผน รวมปฏิบัติ ร่วมรับผิดชอบและร่วมรับผลประโยชน์โดยรับผิดชอบในการพัฒนาพื้นที่พิเศษ 6 แห่ง ได้แก่ พื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง, พื้นที่พิเศษเมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยง,  พื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร, พื้นที่พิเศษเลย, พื้นที่พิเศษเมืองเก่าน่าน และพื้นที่พิเศษเมืองโบราณอู่ทอง

                ล่าสุด จากพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2562 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2562 เริ่มมีผลใช้บังคับในวันที่ 7 เมษายน 2562 มีผลให้ “อพท.” เข้าไปอยู่ในกำกับดูแลของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ทำให้พื้นที่การทำงานด้านการพัฒนาเพื่อการท่องเที่ยวครอบคลุมในเขตพัฒนาการท่องเที่ยว (คลัสเตอร์) รวม 38 จังหวัด ตามที่คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติประกาศ จากก่อนหน้านี้ อพท. จะรับผิดชอบใน 6 พื้นที่พิเศษ รวม 6 จังหวัด

                ทั้งนี้ ภายใต้ภารกิจการดูแลพื้นที่ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ อพท.อยู่ระหว่างการปรับยุทธศาสตร์องค์กรระยะ 4 ปี ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ โดยหลักๆ ของแผนดำเนินงานระยะ 4 ปี ของ อพท. แบ่งเป็น 4 กลุ่มการทำงาน คือ การพัฒนาพื้นที่ต้นแบบเพื่อสร้างการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ตามเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก ทั้ง 6 แห่งในพื้นที่พิเศษ ได้แก่ ชุมชนนาเกลือ, ชุมชนเกาะหมาก, ชุมชนเมืองเก่า,  ชุมชนเชียงคาน, ชุมชนในเวียง และชุมชนอู่ทอง

                 พัฒนาการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยการพัฒนาและส่งเสริมต้นแบบการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยชุมชนที่ได้มาตรฐาน 40 ชุมชน, ส่งเสริมการท่องเที่ยวสร้างสรรค์ เสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชน ภายใต้แนวคิด “เมืองสร้างสรรค์” และบูรณาการร่วมกับทุกภาคีเพื่อพัฒนาขีดความสามารถการแข่งขันทางการท่องเที่ยว เพื่อกระจายรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำ เช่น ขยายพื้นที่พัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวลไปยังจังหวัดทางภาคตะวันออก และการนำนวัตกรรมมาใช้ เช่น ทำระบบฐานข้อมูลท่องเที่ยวในรูปแบบแอปพลิเคชันบนมือถือ อย่างเกม 3 มิติ
                ซึ่งสิ่งจับตามองจากนี้ หากการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวภายใต้การกำกับดูแลของ อพท.ให้เป็นไปตามมาตรฐานการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ต้องมีแนวทางการบริหารจัดการที่สามารถครอบคลุมได้ 4 มิติ คือ มิติด้านการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน, มิติด้านการเพิ่มผลประโยชน์และลดผลกระทบเชิงลบทางสังคม- เศรษฐกิจแก่ชุมชนท้องถิ่น, มิติด้านการเพิ่มผลประโยชน์และลดผลกระทบเชิงลบทางวัฒนธรรมแก่ชุมชนและนักท่องเที่ยว และมิติด้านการเพิ่มผลประโยชน์และลดผลกระทบด้านลบทางสิ่งแวดล้อม

                ดังนั้น บทบาทการทำงานของ “อพท.” นับจากนี้ไป ย่อมเป็นความท้าทายเพื่อนำพาให้ “อพท.” ก้าวขึ้นเป็นหน่วยงานแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Organezation : SDO ในอนาคต โดยเฉพาะการตอบโจทย์การท่องเที่ยวที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่นให้ดียิ่งขึ้น อันจะนำมาซึ่งความยั่งยืนของระบบเศรษฐกิจไทยที่มาจากฐานรากอย่างแท้จริง. 

บุญช่วย ค้ายาดี


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"