"แตกตัว"ที่ "เลย -มรกตอีสาน"เยียวยา"ต้นน้ำป่าสัก "


เพิ่มเพื่อน    

ไพโรจน์ กวียานันท์ ร่วมห่มฝางสร้างแหล่งอาหาร ที่ สวนรุ่งทิพย์เกษตรอินทรีย์

ในการเข้าสู่ปีที่ 7 "โครงการ พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน  หรือ "เอามื้อสามัคคี-หลุมขนมครก- โคก หนอง นา โมเดล " เป้าหมายเพื่อ "หยุดท่วม หยุดแล้ง ในลุ่มน้ำป่าสักอย่างยั่งยืน โดยมี ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร หรือ "อ.ยักษ์ "อดีตประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ เป็นตัวตั้งตัวตี ก่อกำเนิดโครงการ   ได้ลงพื้นที่จ.เลย ที่เป็นต้นกำเนิดแม่น้ำป่าสัก หรือที่เรียกว่า"สักหง่า"ที่เป็นแรงบันดาลใจต้นกำเนิดโครงการ

ขบวนจักรยานรณรงค์


กิจกรรมรณรงค์มีขึ้นเมื่อช่วงต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่าน ซึ่งมีทั้งการปั่นจักรยาน ร่วมกับอีก 7เครือข่าย อาทิ  เครือข่ายฟื้นฟูลุ่มน้ำป่าสัก 7 จังหวัด เครือข่ายมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ผู้ร่วมกิจกรรมผ่านเฟซบุ๊ก นักปั่นสะพานบุญ นักปั่นเชฤณฮฯ รวมผู้ร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 645คน เพื่อสร้างจิตสำนึกการรักษาสภาพการฟื้นฟูป่าต้นน้ำป่าสักให้คงอยู่สืบไป 

 


ในด้านปัญหาของจ.เลย เช่นเดียวกับพื้นที่อื่นๆของประเทศไทย ที่ป่าต้นน้ำถูกบุกรุกเทำลาย ทำให้ไม่มีพื้นที่ซับน้ำ  ไม่มีรากไม้ยึดเกาะดิน เกิดปัญหาดินถล่ม เกิดการชะล้างหน้าดิน ดินตะกอนทับถมในแม่น้ำจนตื้นเชิน เกิดน้ำท่วมและน้ำแล้งอย่างรุนแรง 

ขุนเขาแห่งนี้ คือต้นน้ำป่าสัก ที่สักหง่า บ้านหินสอ อ.ภูเรือ จ.เลย มรกตอีสานและอาเซียน


อ.ยักษ์ กล่าวว่า  การรณรงค์ปีที่ 7 ที่มาที่เลย เพราะ ลุ่มน้ำป่าสัก ไหลผ่าน 7จังหวัด  แต่เลยเป็นต้นน้ำที่อยู่สูงที่สุด ที่มีความขันมาก  อีกทั้ง จ. เลย ในความเป็นภูหลวง เป็นมรกตอีสาน หมายถึงเป็นต้นน้ำ สามารถจุน้ำใหญ่กว่าเขื่อนภูมิพล  เลยสามารถจุน้ำได้ หลายหมื่นล้านคิว ซึ่งมีงานวิจัยเรื่องนี้อยู่  ภูมิศาสตร์ที่เลยจึงสุดยอดมาก  ที่ผ่านมามูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ จึงเข้าไปจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติขึ้นตั้งแต่ปี 2547 และจัดตั้งเป็นศูนย์กสิกรรมธรรมชาติภูหลวงในปี 2551  ลุ่มแม่น้ำป่าสักเป็นหนึ่งใน25 ลุ่มน้ำทั่วประเทศที่มีการดำเนินโครงการฯ มีการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก แก้ปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่า ให้คนอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างยั่งยืน ด้วยการสร้างหลุมขนมครกกักเก็บน้ำบนพื้นที่สูง ปลูกพืชเพื่อสร้างป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ให้พอกิน พอใช้ พออยู่ พอร่มเย็น เกิดความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และส่งเสริม"วนเกษตร"   เนื่องจาก  จ. เลย มีความเหมาะสมที่จะทำเป็นวนเกษตรมาก เพราะมีสภาพเป็นป่าดิบเขา ป่าดิบนี้ ถ้าฝนตกลงมาจะสามารถถ  เก็บน้ำใต้ดินได้ 70% เป็นธนาคารน้ำใต้ดินที่คนกำลังฮือฮา โดยไม่ต้องไปขุดบ่อต่อท่ออะไรในการเก็บน้ำ เพราะระบบรากต้นไม้มีความสมบูรณ์ในตัวเอง สามารถเก็บน้ำได้ดียิ่งกว่าสิ่งที่มนุษย์ทำ จึงอยากให้ชาวบ้านทำธนาคารน้ำใต้ดินแบบคนจน คือการเลีบนแบบธรรมชาติดื้อๆจาก ระบบนี้

อ.ยักษ์ วิวัฒน์ ศัลยกำธร 


พื้นที"เลย"ไม่ได้มีแต่ปัญหาป่าถูกบุกรุกทำลาย  แต่ยังมีปัญหาการทำเกษตรเชิงเดี่ยว ที่สำคัญคือการปลูกอ้อย ซึ่งรุกพื้นที่มากขึ้นเรื่อยๆ  นายโสภณ สุวรรณรัตน์ รองผู้ว่าราชการจ.เลย กล่าวว่า   พื้นที่ปลูกอ้อยในเลยมีใน 5อำเภอคิดเป็น 2-3แสนไร่ มีโรงรับซื้ออ้อย 2แห่ง การที่พื้นที่ปลูกอ้อยรุกเข้ามาแทนที่พื้นที่ปลูกข้าว ทำให้เลยต้องนำเข้าข้าวจาก จ.ร้อยเอ็ด เพราะปลูกไม่พอกิน  นับเป็นการเปลี่ยนวิถีชีวิตคนเลย  การปลูกอ้อยยังทำให้มีปัญหาPM 2.5 ตามมา เพราะมีการเผาหลังเก็บเกี่ยว  ซึ่งทางจังหวัดกำลังพยายามรณรงค์โรงงานที่รับซื้ออ้อย ออกกฎไม่รับซื้ออ้อยที่เผาพื้นที่  นอกจากนี้ อีกทั้งยังมีปัญหาสารเคมีที่ส่งผลกระทบสภาพแวดล้อมดินและน้ำ  แม้พยายามรณรงค์ให้เขาปลูกอ้อยอินทรีย์ เพื่อลดการใช้สารเคมี แต่ยังไม่เป็นผล  เพื่อลดปัญหาสารเคมีตกค้างในดินและน้ำ  

 


อ.ยักษ์ กล่าวว่า ปัญหาเรื่องปลูกอ้อยที่เลย  เป็นเพราะระบบทุนที่เข้ามาไม่นาน ปกติคนเลย มีวิถีชีวิต เรียบง่าย ประหยัด  ไม่ได้เห็นแก่เงิน  และแม้จะมีโรงงานน้ำตาลรุกเข้ามา การแก้ปัญหาทำได้ ถ้าโรงงานอ้อย ส่งเสริมให้ชาวบ้าน ทำระบบปลูกอ้อยแบบอนุรักษ์  ลดพื้นที่ปลูกอ้อยลงเหลือ 70% ทำป่ารอบพื้นที่ปลูกอ้อย มีป่า มีคลอง หนอง นา  มีป่า 3อย่างประโยชฃน์ 4อย่าง ไว้ในที่ดินตนเอง   ก็จะมีกินมีใช้ โดยไม่ต้องซื้อ  นอกจากนี้ การมีระบบน้ำดีๆ ในพื้นที่ จะทำให้ผลผลิตอ้อยจะเพิ่มขึ้นจากเดิม 2เท่า จะได้เงินมากกว่าปลูกอ้อยเต็มพื้นที่ทั้งหมด เป็นความยั่งยืน ที่เกษตรกรอยู่ได้ และโรงงานก็อยู่ได้ ดินไม่เสื่อม เพราะถ้าดินเสื่อม เกษตรกรก็อยู่ไม่ได้ และโรงงานอ้อยก็อยู่ไม่ได้เช่นกัน  
"ผมไม่รังเกียจอุตสาหกรรมนะ แต่อุตสาหกรรมต้องเข้าใจว่า ต้องอยู่กับโลก  ต้องยั่งยืน  ต้องอนุรักษ์ดิน อนุรักษ์น้ำด้วย การแก้ปัญหาเรื่องการเผา ส่งเสริมเขา มีรถตัดต้นอ้อยให้เกษตรกรฟรีๆ พวกใบอ้อยต้นอ้อยพวกนี้ ตัดแล้วทับถมในดิน เอาน้ำหมักราด ก็จะเป็นปุ๋ยชั้นดี ทำให้ผลผลิตอ้อยดีขึ้นกว่าการเผา" อ.ยักษ์กล่าว 

 

อาทิตย์ กริชพิพรรธ เชฟรอน ร่วมปลูกแฝกเสริมไผ่


ด้าน นายอาทิตย์ กริชพิพรรธ ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายสนับสนุนธุรกิจ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด กล่าว ว่า  ป่าต้นน้ำใน จ.เลยมีความสำคัญมาก เพราะเป็นต้นน้ำป่าสักซึ่งเป็นลุ่มน้ำที่มีความลาดชันสูง ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งได้โดยง่าย จึงเป็นลุ่มน้ำที่ในหลวง ร. 9  ทรงห่วงใย อันเป็นที่มาของโครงการพลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน ในปี 2556   ในความเป็นจริงประเทศไทยเป็นเพียงไม่กี่ประเทศในโลกที่ไม่ขาดแคลนทรัพยากร ไม่ใช่ประเทศยากจน เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ  ดินดีอุดมสมบูรณ์ แต่ประชาชนขาดองค์ความรู้และการจัดการที่ดี เรื่องหลุมขนมครก แสนหลุม หรือแม้กระทั่งล้านหลุม ถ้าชาวบ้านเห็นด้วย มีความตั้งใจจะทำ ก็เชื่อว่าภายในปีเดียวก็ทำได้  หนทางนี้เป็นเกษตรทางเลือก แต่ก็เห็นว่าเกษตรทางหลักไม่ได้ให้อะไรนัก ซึ่งวิธีการนี้จะเป็นตัวหยุดการบุกรุกป่า เพราะขณะนี้มีเอกสารสิทธิ์ ที่พร้อมจะเป็นที่ดิน ส.ป.ก.เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แสดงให้เห็นว่าการบุกรุกป่ายังไม่หมดไป 

 


"ผมอยากให้เกษตรตามศาสตร์พระราชา ที่บอกว่าเป็นเกษตรทางเลือก  ให้กลายเป็นทางหลัก สำหรับคนที่ทำเกษตรทางหลักแล้วไปไม่รอด ก็ควรหันมาหาศาสตร์พระราชา โครงการแตกตัวทั่วไทยปีที่ 7ของเรา จากปีแรกที่เราต้องใช้ดารามาช่วยรณรงค์  แต่ 6ปี ที่ผ่านมา มีความก้าวหน้าไปมาก ช่วง 3 ปีที่เหลือนี้ เป็นเฟสสุดท้ายของโครงการฯ เป็นช่วงที่ต้องเร่งเครื่อง เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงได้ทั้งองคาพยพ เกิดรูปธรรมของความสำเร็จอย่างแท้จริง  และระหว่างทางของการลงมือทำ หากเกิดปัญหาขึ้นก็ค่อยแก้ ทำไปแก้ไป เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ จากนั้นค่อยต่อยอดเรื่องอาหารปลอดภัย การท่องเที่ยว เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน"อาทิตย์กล่าว

ยิงกระสุนเมล็ดพันธุ์ เพิ่มพื้นที่ป่า บริเวณ"สักหง่า"ต้นน้ำป่าสัก

ชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม  ผู้ว่าราชการ จ.เลย


ด้าน นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการ จ.เลย กล่าวว่า การที จ.เลย  เป็นแหล่งต้นน้ำสำคัญ ได้แก่ ลำน้ำเลย ลำน้ำพุง ลำน้ำพอง แม่น้ำเหือง รวมถึงแม่น้ำป่าสักจึงมีความสำคัญยิ่งที่จะต้องตื่นตัวและให้ความสำคัญในเรื่องนี้อย่างมาก เพราะสิ่งใดก็ตามที่เกิดขึ้นที่นี่ ย่อมส่งผลกระทบไปสู่คนปลายน้ำ จ.เลยได้มีการนำศาสตร์พระราชามาประยุกต์ใช้ร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยส่งเสริมให้ประชาชนปลูกสวนป่าเพื่อเศรษฐกิจในพื้นที่ของตนเอง ซึ่งจะทำให้เลย มีพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น และยังเป็นการส่งเสริมอาชีพให้ราษฎรได้อีกทางหนึ่ง  ซึ่งที่ผ่านมาไม่มีการบุกรุกพื้นที่แปลงใหญ่เพิ่มขึ้น และยังสามารถคืนผืนป่ากลับมาได้จำนวนหนึ่งอีกด้วย

ไตรภพ โคตรวงษา ประธานมูลนิธิฯ ปลูกแฝกเสริม


ไตรภพ โคตรวงษา ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ กล่าวว่า  การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือภาวะโลกร้อนกำลังเป็นวิกฤตโลก    และเป็นวิกฤตที่ใหญ่มาก แต่สำหรับคนไทยบางคนที่ยังไม่รู้ร้อนรู้หนาว และทำยังไงเราจะสื่อสาร ในสิ่งที่ในหลวงร.9 ทรงเตือนเรื่องวิกฤตอากาศ ธรรมชาติ สังคมเมือง สุขภาพ  ทรงมีวิชั่นที่ไกลมาก แตทำอย่างไรคนไทยจะเห็น แบบพระองค์  การบุกต้นน้ำที่ จ. เลย ครั้งนี้ ก็เพื่อให้มาเห็นความจริง เพราะเลยเป็นมรกตอีสาน ซึ่งไม่ใช่เป็นแค่มรดกของคนไทยเท่านั้น แต่เป็นของเอเชียด้วย  แต่เลยปัจจุบัน กลายเป็นต้นน้ำแต่มีสารพิษเจือปน   การแก้ต้องอาศัยศาสตร์พระราชาเท่านั้นในการแก้ไข   ซึ่งชาวโลกยอมรับศาสตร์พระราชาเป็นทางรอดของมนุษย์  และเป็นเรื่องท้าทายที่จะให้คนเลยหันมาปลูกอ้อยแค่ 70% อีก 30% ทำพื้นที่เก็บน้ำ พื้นที่ป่าอย่างที่อ.ยักษ์บอก ทำให้เขาพึ่งตัวเองได้   ถ้าเขาพึ่งตัวเองได้ ก็จะอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี เมื่อนั้นเขาก็จะไปช่วยคนอื่นได้ การเดินตามรอยศาสตร์พระราชา จึงเป็นเรื่องการสร้างคน และรักษาโลก 

นายแสวง ดาปะ แห่งไร่นาป่าสวนขุนเลย


นายแสวง ดาปะ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เจ้าของพื้นที่ไร่นาป่าสวนขุนเลย  กล่าวว่า เมื่อก่อนเคยทำข้าวโพด ลูกเดือย ที่เปลี่ยนเพราะมีหนี้ จึงอยากปลดหนี้   ปี 43-44 ได้ไปศึกษาดูงานที่มูลนิธิเลยเพื่อการพัฒนาชุมชนเพื่อการอนุรักษ์ป่าภูหลวง แล้วกลับมาตั้งกลุ่มออมทรัพย์เกษตรยั่งยืน มีสมาชิก 24 คน ค่อยๆเปลี่ยนมาปลูกพืชผสมผสาน และขยายแนวคิดไปยังพื้นที่อื่นๆ สร้างวิทยากรเครือข่ายได้ 35 คน ปัจจุบันมีสมาชิก 104 คน ยอดเงินออม 1,200,000 บาท ต้องการแปรรูปผลผลิต น้ำหมากเม่า น้ำหมากหลอด ผ้าฝ้าย   ซึ่งตอนนี้เขาสามารถลดหนี้ได้ เพราะไม่ต้องลงทุนเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด   และทำอินทรีย์ล้วนๆ ไม่มียากระตุ้น จึงได้ผลผลิตบ้างไม่ได้บ้าง มีปัญหาเรื่องน้ำที่นับวันจะยิ่งวิกฤต จึงต้องขุดหนองน้ำ ทำแผนขอกู้สมาชิก  เจาะน้ำบาดาล 2 บ่อ แต่ลึก 70 เมตรยังไม่ถึงน้ำ  ส่วนน้ำตามธรรมชาติเช่นร่องน้ำห้วยแห้ที่ศูนย์ฯ เมื่อก่อนใช้ตะบันน้ำได้ 10 ปีที่ผ่านมา น้ำแห้ง 3-4 ปีนี้ปริมาณฝนน้อยมาก ในฝายน้ำแห้งหมด

 


ศาสนา สอนผา ผู้จัดการศูนย์กสิกรรมธรรมชาติภูหลวง บ้านศรีเจริญ ต.เลยวังไสย์ อ.ภูหลวง จ.เลย กล่าวว่า เมื่อปี 48-49 ทำโครงการกับ สสส. เรื่องสุขภาพ มีการตรวจสารเคมีในเลือด พบว่าพบทุกคนชุมชนแม้แต่เด็กเล็ก เจอสารเคมีในเลือดแทบทุกคน  ได้ข้อสรุปว่ามาจากอาหาร  ซึ่งส่วนมากซื้อมาจากตลาด จึงทำเรื่องอาหารปลอดภัย ให้มีความมั่นคงด้านอาหาร ได้ไปอบรมกับ อ.ยักษ์ รุ่น 130 ปี 49  เริ่มเปิดเป็นศูนย์กสิกรรมธรรมชาติภูหลวง สร้างเครือข่ายผู้อบรม จากนั้นได้ร่วมกับอภัยภูเบศร ส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกขายให้อภัยภูเบศรเพื่อสร้างรายได้  ปลูกเชิงวนเกษตร ทำสมุนไพรอินทรีย์ ผสมผสาน ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง พบว่าได้ผลดี ซึ่งมีแผนที่จะขยายกลุ่มปลูกสมุนไพรต่อไป 

ลงแขกย่ำขี้ ยาบ่อ เพื่อเก็บกักน้ำ เป็นซีเมนต์ธรรมชาติ ไร้สารพิษ


โครงการ“พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน” ปีที่ 7 ยังคงเดินหน้าเผยแพร่องค์ความรู้ศาสตร์พระราชาสู่การลงมือปฏิบัติในพื้นที่ต่างๆ ด้วยการจัดกิจกรรมต่อเนื่องตลอดทั้งปี  และในเดือนกันยายนจะลงพื้นที่จ.ลำปาง เพื่อรณรงค์ต่อไป.

 

ทำฝายชะลอและเก็บกักน้ำ


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"