กสศ.ไม่ลืม"แรงงาน" เปิดโครงการช่วยพัฒนาทักษะฝีมือ ผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์


เพิ่มเพื่อน    

26ส.ค.62-"กองทุนเพื่อความเสมอภาคฯ" ลดความเหลื่อมล้ำ ทุกช่องทาง "หมอสุภกร"  เปิด โครงการพัฒนาระบบทดลองการพัฒนา ทักษะแรงงานที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส เผยมีภาครัฐ-เอกชน ยื่นเสนอโครงการกว่า 108 โครงการ คาดว่าจะมีผู้ได้รับการฝึกอบรมกว่า 6,000 คน 


ที่โรงแรมเดอะ ควอเตอร์ อารีย์ - กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จัดเวทีเสวนาวิชาการ นานาชาติ "การเข้าถึงและพัฒนาทักษะการทำงานให้แก่กลุ่มประชากรวัยแรงงานด้อยโอกาส: บทเรียนจากภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก" (Reaching Hard to Reach Communities: Lesson Learnt from Asia-Pacific Region) โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนาจากภาครัฐและเอกชนกว่า 30 องค์กร 


โดย นพ.สุภกร บัวสาย ผู้จัดการ กสศ. กล่าวว่า ปัจจุบันแรงงานในประเทศไทยจำนวน 38 ล้านคน ร้อยละ 55 เป็นแรงงานนอกระบบ หรือมีจำนวน 21.2 ล้านคน ส่วนใหญ่อยู่ในภาคเกษตร ซึ่งแรงงานนอกระบบกลุ่มนี้ขาดทักษะในการพัฒนาฝีมือแรงงาน และมีรายได้ต่ำ เป็นสาเหตุของความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย ซึ่ง กสศ. มีภารกิจในการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ไม่ใช่แค่การศึกษาในระบบเท่านั้น แต่ปัจจุบันมีประชาชนจำนวนมากอยู่นอกระบบการศึกษา โดยเฉพาะแรงงานนอกระบบที่ต้องการการพัฒนาทักษะอาชีพ ดังนั้น กสศ.จึงได้เปิดโครงการพัฒนาระบบทดลองการพัฒนาทักษะแรงงานที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส โดยมีแนวคิดหลัก 4 ประการ คือ 1.การใช้ชุมชนเป็นฐานในการประกอบอาชีพ 2.การพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการ/แรงงานฝีมือในชุมชน 3.การเสริมสร้างสมรรถนะแก่ชุมชนและภาคเอกชน และ 4.การวิจัยปฏิบัติการเพื่อประเมินผลความสำเร็จของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งโครงการนี้จะเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพของแรงงานที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาสในชุมชน ค้นหาตัวตนเพื่อเพิ่มศักยภาพของคนในพื้นที่ ซึ่งจะนำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในสังคมไทย


นพ.สุภกร กล่าวต่อว่า สำหรับโครงการดังกล่าว กสศ.ได้เปิดให้หน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน ที่อยู่ในระบบการศึกษาและนอกระบบยื่นเสนอโครงการเข้ามา มีจำนวนกว่า 108 โครงการ และได้คัดเลือกราว 80 โครงการ ที่จะดำเนินการต่อไป ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มแรงงานนอกระบบ กลุ่มที่ไม่ได้รับการศึกษา กลุ่มคนพิการ กลุ่มคนจน กลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ กลุ่มผู้สูงอายุ วิสาหกิจชุมชน พ่อแม่วัยรุ่น ชาติพันธุ์ แม่บ้าน เยาวชนและผู้ต้องขัง คาดว่าจะมีผู้ได้รับการฝึกอบรมตามโครงการนี้กว่า 6,000 คน โดยมีงบประมาณช่วยเหลือ 1-2 หมื่นบาทต่อคน ทั้งนี้ในอนาคตจะมีความร่วมมือระหว่าง กสศ.และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ILO เพื่อสนับสนุนทางวิชาการ รวมถึงโปรแกรมการฝึกอมรมที่ยึดชุมชนเป็นตัวตั้งให้กับทั้ง 80 โครงการที่ได้รับการคัดเลือ


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"