กฟผ. จัดกิจกรรมนำชม ชีววิถี อยู่ดี มีสุข” จ.ชุมพร


เพิ่มเพื่อน    

โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (กฟผ.) ได้จัดกิจกรรม “ชีววิถี อยู่ดี มีสุข” ณ วิทยาลัยเกษตร และเทคโนโลยีชุมพร เมื่อวันก่อน โดยมีนายสมชัย ชัยโรจน์นิพัฒน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายปฎิบัติการภาคใต้ กฟผ. เป็นประธานในพิธีเปิดงาน  และนายศิริพงษ์ พูลสวัสดิ์ หัวหน้าแผนกปฏิบัติการกิจการด้านสิ่งแวดล้อม กองกิจการเพื่อสังคม ว่าที่ ร.ต.นิพนธ์ ภู่พลับ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชุมพร ให้การต้อนรับ

นายสมชัย ชัยโรจน์นิพัฒน์  ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายปฎิบัติการภาคใต้ กฟผ. กล่าวว่า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย นอกเหนือจากภารกิจหลักในการผลิตและจัดหาพลังงานไฟฟ้าที่มีคุณภาพเพื่อสร้างความสุขให้กับประชาชนแล้ว ยังได้ตระหนักถึงความสำคัญในงานด้านต่างๆ โดยเฉพาะงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งตลอดมาได้มีโครงการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง หนึ่งในนั้นก็คือ “โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ที่ กฟผ. ได้น้อมนำศาสตร์พระราชามาดำเนินการ ภายใต้แนวทาง “สืบสาน ต่อยอด ศาสตร์พระราชา” เพราะคือภูมิปัญญาของแผ่นดิน

 

กว่า 20 ปี ในการดำเนินโครงการนี้เป็นที่ประจักษ์ชัดถึงผลสำเร็จ มีการตอบรับของภาคีเครือข่ายในภาคส่วนต่างๆ ที่ได้ให้ความสนใจนำกิจกรรมของโครงการนี้ไปขยายผลต่อยอด และปรับใช้ในชีวิตประจำวันสร้างความสุขที่ยั่งยืนให้กับตนและครอบครัว ตลอดถึงชุมชนโดยส่วนรวม

 

“กฟผ. มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งสำหรับการจัดกิจกรรม “ชีววิถี อยู่ดี มีสุข” ที่จัดขึ้นในครั้งนี้ และขอขอบคุณ เครือข่ายชุมชนเกษตรกรรมภาคใต้ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชุมพร คณาอาจารย์ และนักศึกษา ตลอดจนหน่วยงานภาคเอกชน ตลอดจนสื่อมวลชนและสื่อ Social Media ที่ได้มาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้  และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกภาคส่วนจะได้นำองค์ความรู้ในโครงการชีววิถีไปใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งตนเองครอบครัวตลอดถึงชุมชน และสถานศึกษาเพื่อประโยชน์สุขของสังคมไทยสืบไป” นายสมชัย ชัยโรจน์นิพัฒน์  ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายปฎิบัติการภาคใต้ กฟผ. กล่าว

ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้มีเครือข่ายเกษตรกรโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน กลุ่มเกษตรกรจากชุมชนบ้านท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้บริหารสถานศึกษาทั้งในจังหวัดชุมพรและจังหวัดใกล้เคียง พร้อมั้งฑูตสิ่งแวดล้อมจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนักศึกษาปริญญาโท คณะเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตลอดจน บล็อกเกอร์ชื่อดัง และสื่อมวลชนเข้าร่วมกิจกรรม  โดยผู้ร่วมกิจกรรมได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้และชมฐานการเรียนรู้ภายในแปลงเกษตรปลอดสารพิษ ณ วิทยาลัยเกษตร และ เทคโนโลยีชุมพร  

 

สำหรับโครงการชีววิถีนั้น เป็นผลมาจากที่ กฟผ. ได้น้อมนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาปฏิบัติใช้อย่างเป็นรูปธรรมตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา ด้วยการจัดตั้ง “โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนา อย่างยั่งยืน” ขึ้นพร้อมส่งเสริมให้ชุมชนโดยรอบเขื่อนและโรงไฟฟ้าที่ กฟผ. รับผิดชอบเข้ามาศึกษาเรียนรู้แล้วนำไปดำเนินการในพื้นที่ของตนเอง เพื่อให้ประชาชนในชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ ภายใต้แนวทาง อยู่อย่างพอประมาณลดการใช้สารเคมีตามวิถีภูมิปัญญาท้องถิ่นในการทำการผลิตซึ่งเป็นหัวใจในการพัฒนาอย่างยั่งยืน

 

และในปี 2546  กฟผ. ได้ร่วมมือกับสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ในการนําโครงการ
ชีววิถีฯ เข้าสู่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี วิทยาลัยประมง วิทยาลัยการอาชีพ และศูนย์วิศวกรรมการเกษตรปทุมธานี โดยมีการขยายความร่วมมือมาอย่างต่อเนื่องจวบจนถึงปัจจุบัน มีจำนวนสถานศึกษาในสังกัด สอศ. จำนวน 112 แห่งทั่วประเทศเข้าร่วมโครงการฯ  และสามารถสร้างผลงานวิจัยสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับ “ชีววิถี” มากกว่า 200 ชิ้นงาน

 

และกว่า 20 ปีของการดําเนินโครงการชีววิถีฯ กฟผ. ได้วางแนวทางการพัฒนาชุมชนไว้อย่างเป็นระบบ ด้วยการนำแนวคิด “ชีววิถี” มาสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมให้เกิดการเกื้อกูลพร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพึ่งพากันในชุมชน จวบจนปัจจุบันมีชุมชนไม่น้อยกว่า 300 แห่งทั่วประเทศที่ได้นําแนวทางนี้ไปปฏิบัติใช้และเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างยั่งยืน และมีชุมชนที่ยกระดับขึ้นเป็นชุมชนต้นแบบชีววิถีฯ กฟผ. มากถึง 54 ชุมชน โดย กฟผ. ได้ตั้งเป้าให้มีชุมชนดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็น 89 ชุมชนในปี 2565 นี้

 

สำหรับศูนย์การเรียนรู้โครงการชีววิถี กฟผ. ที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชุมพรนั้นถือได้ว่าเป็นแบบอย่างของสถานศึกษาที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินโครงการชีววิถีฯ แห่งหนึ่ง โดยได้ดำเนินโครงการมาตั้งแต่ปี 2546 ด้วยการจัดสรรพื้นที่จำนวน 4 ไร่ 92 ตารางวา จัดทำโครงการฯ มีการจัดสภาพแวดล้อมที่สะอาดสวยงามร่มรื่นเหมาะต่อการเรียนรู้ของนักเรียนนักศึกษาและผู้ที่สนใจทั่วไป  ภายในโครงการฯ มีฐานการเรียนรู้ชีววิถีหลายฐานประกอบด้วยการเพาะปลูกพืชผักสวนครัวและผักเศรษฐกิจแบบปลอดสารพิษ การเลี้ยงหมูหลุมและการเลี้ยงไก่ไข่อารมณ์ดี การเลี้ยงปลาดุกในบ่อ เป็นต้น

 

พร้อมกันนี้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมฯ ยังได้เข้าเยี่ยมชม ศูนย์การเรียนรู้ ต้นแบบชีววิถีฯ ที่ได้นำองค์ความรู้ จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชุมพรไปขยายผลปฏิบัติใช้จนประสบผลสำเร็จ คือ ศูนย์การเรียนรู้ ต้นแบบชีววิถีฯ “ตามรอยพ่อ วิถีพอเพียง” จังหวัดชุมพร โดย คุณรัชนี จุลใส ซึ่งได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ประเภทราษฎรระดับภาคใต้  ในการประกวดโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ปี 2561 ที่ผ่านมา ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งแบบอย่างในการ “สืบสาน รักษา ต่อยอด ศาสตร์พระราชา” ด้วยการน้อมนำมาปฏิบัติใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรม

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"