ชลประทานยันแม่น้ำชียังรับไหว ไม่กระทบอีสานกลาง-ล่าง


เพิ่มเพื่อน    

4 ก.ย. 62 - นายศักดิ์ศิริ  อยู่สุข ผู้อำนวยการชลประทานที่ 6 ขอนแก่น ลงพื้นที่ตรวจติดตามสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ อ.บ้านไผ่ หลังสถานการณ์โดยรวมเริ่มคลี่คลายลงและฝนได้หยุดตกทิ้งช่วงมาตั้งแต่ช่วงเช้าที่ผ่านมา เพื่อตรวจสอบปริมาณน้ำล่าสุดและการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคอีสานตอนกลางหลังพบว่าพื้นที่รับน้ำสาธารณะหลายแห่งมีระดับน้ำเพิ่มขึ้นจากปริมาณน้ำฝนจากฝนที่ตกลงมาตั้งแต่พายุโพดุล พายุโซร้อนเหล่งเหล่ง และพายุดีเปรสชั่นคาจิกิ
            
นายศักดิ์ศิริ กล่าวว่า จากพายุฝนที่ตกลงมาตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ผ่านมาจากอิทธิพลของพายุ 3 ลูกที่พาดผ่านประเทศไทย ซึ่งจากการวัดระดับน้ำฝนนั้นพบว่า จ.ชัยภูมิ มีปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาน้อยที่สุดคือที่ 250 มิลลิเมตร มากที่สุดคือที่ จ.ร้อยเอ็ด คือ 450 มิลลิเมตร ทำให้มีปริมาณน้ำไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และแหล่งน้ำสาธารณะจำนวนมาก ซึ่งล่าสุดพบว่า เขื่อนจุฬาภรณ์มีปริมาณน้ำเก็บกักอยู่ที่ร้อยละ 29 เขื่อนอุบลรัตน์มีปริมาณน้ำเก็บกักอยู่ที่ร้อยละ 24 และเขื่อนลำปาว มีปริมาณน้ำเก็บกักอยู่ที่ร้อยละ 52 ดังนั้นแนวทางการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ต้นน้ำในความรับผิดชอบของชลประทานที่ 6 ตั้งแต่ จ.ชัยภูมิ หรือที่เรียกว่าพื้นที่ต้นน้ำของแม่น้ำชี ยังคงสามารถรองรับปริมาณน้ำได้อีกมาก
            
“เมื่อตรวจวัดระดับน้ำในแม่น้ำชีนั้นตั้งแต่ จ.ชัยภูมิ มาจนถึง อ.ชนบท จ.ขอนแก่น มีระดับน้ำในแม่น้ำชีจากมวลน้ำหลากจากอิทธิพลของพายุฝนอยู่ที่ร้อยละ 70 แต่ในพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ ถึง จ.ร้อยเอ็ด มีปริมาณน้ำในแม่น้ำชีมากถึงร้อยละ 100 และตั้งแต่ จ.ร้อยเอ็ด ผ่านยโสธร ไปจนถึง จ.อุบลราชธานี มีปริมาณน้ำเกินกว่า 100 % ซึ่งแนวทางการบริหารจัดการน้ำนั้นประตูระบายน้ำและเขื่อนกั้นน้ำ รวมทั้งฝายกักเก็บน้ำตามแนวแม่น้ำชีจะยังคงไม่มีการระบายน้ำไปแต่อย่างใด เพราะแม่น้ำชีและอ่างเก็บน้ำต่างๆ ยังคงรับน้ำได้อีกมาก อีกทั้งน้ำจากแม่น้ำพอง ก็ยังคงไม่มีการระบายใดๆ ดังนั้นประชาชนในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคอีสานตอนกลางและภาคอีสานตอนล่างมั่นใจได้ว่าจะไม่มีมวลน้ำหนุนจาก จ.ขอนแก่น และในกลุ่มจังหวัดภาคอีสานตอนบนไปในพื้นที่อย่างแน่นอน” ผอ.ชลประทานที่ 6 ขอนแก่น ระบุ

นอกจากนี้ จากการตรวจสอบพบว่ายังคงมีน้ำค้างทุ่งอีกกว่า 1,500 ล้านลูกบาศก์เมตร ที่ยังคงอยู่ในพื้นที่ ซึ่งน้ำจะไหลไปตามเส้นทางน้ำและลงสู่พื้นที่รับน้ำในจุดต่างๆ เพื่อเติมปริมาณน้ำให้เต็ม เนื่องจากที่ผ่านมานั้นลำน้ำและอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่นั้นมีระดับน้ำที่ติดลบ อย่างไรก็ตามจากการบริหารจัดการน้ำ รวมไปถึงหากไม่มีพายุฝนตกลงมาระยะนี้ ดูจากวันนี้ที่อิทธิพลจากพายุโซร้อนคาจิกิที่อ่อนกำลังลง ทำให้มั่นใจว่าภายใน 14 วัน สถานการณ์น้ำจะคลี่คลายลงและน้ำทั้งหมดจะไหลลงสู่แม่น้ำโขง ตามเส้นทางของน้ำที่ จ.อุบลราชธานี และอ่างเก็บน้ำต่างๆ จะมีปริมาณน้ำกักเก็บที่เพิ่มมากขึ้น.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"