'ชวน' ส่งคำร้องฝ่ายค้านให้ศาล รธน.ตีความ พรก.ชะลอ กม.ส่งเสริมสถาบันครอบครัวฯ


เพิ่มเพื่อน    

5 ก.ย.62 - ที่รัฐสภา นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงพระราชกำหนด(พ.ร.ก) เพื่อชะลอพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาคุ้มครองสถาบันครอบครัว ปี 2562 ว่า พ.ร.ก.ได้เข้าระเบียบวาระการประชุมแล้ว แต่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าชื่อกัน 100 คน เพื่อขอให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความว่า พ.ร.ก.ฉบับนี้ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งวันนี้จะนำเรื่องส่งศาลรัฐธรรมนูญ ในระหว่างนี้ยังพิจารณาไม่ได้ ซึ่งตามกฎหมายศาลรัฐธรรมนูญจะต้องวินิจฉัยภายใน 60 วัน โดยต้องรอกระบวนการวินิจฉัยของศาลก่อนจึงจะสามารถนำมาพิจารณาได้ ซึ่งในระหว่างนี้รัฐบาลก็ไม่มีสิทธิที่จะถอนพ.ร.กได้เพราะมีการเสนอเข้ามาแล้ว ต้องรอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยก่อน ส่วน พ.ร.ก ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วก็ต้องรอก่อนเพราะยังบังคับใช้ไม่ได้

ทั้งนี้ พ.ร.ก จะยังอยู่แม้จะมีการส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ แต่ด้วยรัฐธรรมนูญนั้น เมื่อออกพ.ร.กแล้ว ก็ต้องรีบเสนอเพื่อขอความเห็นชอบจากสภา แต่ในขณะเดียวกันถ้าสมาชิกเข้าชื่อกัน 100 คนก็สามารถส่งศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยได้ว่าพ.ร.กชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะมีหลักเกณฑ์กำหนดอยู่ว่าจะออกพระราชกำหนดได้ต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้าง

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 26 ส.ค.2562 ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) แก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองและสถาบันครอบครัว พ.ศ.2562 โดยมีสาระสำคัญคือให้ชะลอการใช้ พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัวที่มีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 20 ส.ค. 2562

โดยมีหมายเหตุในการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉบับนี้คือ โดยปัจจุบันได้มีการตรา พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาสถาบันครอบครัวฯ มีการกำหนดมาตรการในการลดการกระทำความรุนแรงในครอบครัว รวมทั้งปรับปรุงกลไก บทบาท อำนาจ และหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ในระดับหน่วยปฏิบัติ และปรับปรุงการดำเนินการในกระบวนการยุติธรรมตั้งแต่ชั้นพนักงานสอบสวนไปจนถึงกระบวนการในชั้นศาล การดำเนินการดังกล่าวจำเป็นอย่ายิ่งที่ต้องอาศัยความพร้อมในด้านความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะความพร้อมในด้านบุคลากร

แต่โดยที่ พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาสถาบันครอบครัวฯ พ.ศ.2562 มีผลใช้บังคับในวันที่ 20 ส.ค.2562 ที่ผ่านมา และปรากฎข้อเท็จจริงว่าหน่วยงานที่จะเป็นผู้ปฏิบัติการหรือบังคับการตามกฎหมายยังมีปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับความพร้อมด้านบุคลากรและขั้นตอนการปฏิบัติ จึงมีความจำเป็นที่ต้องขยายกำหนดระยะเวลาในการมีผลใช้บังคับของ พ.ร.บ.นี้ออกไปก่อน เนื่องจากหากมีการใช้บังคับตามกำหนดเวลาเดิมในขณะที่ยังไม่มีความพร้อมอาจเกิดผลร้ายต่อสังคมเป็นอย่างยิ่ง และสมควรให้นำ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสวัสดิภาพในครอบครัวฉบับเดิมมาใช้บังคับต่อไปก่อนเป็นการชั่วคราว กรณีดังกล่าวจึงเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ ในอันที่จะรักษาความมั่นคงทางสังคม อันจะส่งผลถึงความปลอดภัยสาธารณะและความปลอดภัยของประเทศ จึงจำเป็นต้องตรา พ.ร.ก.นี้


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"