แจงเสือตาจันทร์ตาย86ตัว


เพิ่มเพื่อน    


    กรมอุทยานฯ แจง เสือโคร่งไซบีเรียที่รับมาจากวัดป่าหลวงตามหาบัว 147 ตัว ตายไปแล้ว 86 ตัว เหตุเพราะติดเชื้อหัดสุนัขที่ยังไม่มียารักษาเฉพาะ และเชื่อว่าติดเชื้อมาก่อนที่จะรับมาดูแล ชี้สัตว์อ่อนแอเพราะผสมพันธุ์กันเอง
    เมื่อวันที่ 16 กันยายนนี้ นายประกิต วงศ์ศรีวัฒนกุล รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แถลงกรณีเสือโคร่งตายไป 86 ตัว ว่า การเคลื่อนย้ายเสือโคร่งของกลางจากวัดป่าหลวงตามหาบัว จ.กาญจนบุรี จำนวน 147 ตัว เป็นการดำเนินการในภาวะที่ไม่ปกติ เสือโคร่งส่วนใหญ่มีภาวะเครียดเนื่องจากการขนย้ายและเปลี่ยนสถานที่ ซึ่งต่อมาพบปัญหาการเจ็บป่วย โดยเฉพาะระบบทางเดินหายใจ มีอาการหายใจเสียงดังเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นอาการอัมพาตลิ้นกล่องเสียง ทำให้การหายใจเข้า-ออกลำบาก เมื่ออาการหนักมากขึ้นจะไม่กินอาหาร ชักเกร็ง และตายในที่สุด จากการตรวจสอบพบการติดเชื้อไวรัสไข้หัดสุนัข ซึ่งเป็นโรคติดต่อร้ายแรงในสุนัขและสัตว์ป่าหลายชนิด รวมทั้งเสือโคร่ง ปัจจุบันยังไม่มียารักษาเป็นการเฉพาะ ทำได้เพียงการรักษาตามอาการเท่านั้น เช่น การให้ยาปฏิชีวนะลดอาการอักเสบ ลดไข้ รักษาอาการภูมิแพ้ 
    นายประกิตกล่าวว่า ต่อมาได้ส่งเสือโคร่งที่ตายไปตรวจพิสูจน์ที่คณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน และคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รวมทั้งสัตวแพทย์จากซาฟารีเวิลด์ พบว่าเกิดจากอาการอัมพาตลิ้นกล่องเสียงและเป็นสาเหตุของการตายทั้ง 2 สถานีเพาะเลี้ยง ซึ่งอยู่ห่างกัน แสดงว่าเสือมีการติดเชื้อมาก่อน ทั้งนี้ เสือดังกล่าวเป็นสายพันธุ์ไซบีเรียแตกต่างจากเสือในประเทศไทยที่เป็นสายพันธุ์อินโด-ไชนีส จึงไม่สามารถปล่อยสู่ธรรมชาติได้
    ด้านนายสุนทร ฉายวัฒนะ หัวหน้ากลุ่มงานเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานฯ กล่าวว่า กรมอุทยานฯ รับเสือโคร่งจากวัดป่าหลวงตามหาบัว รวมทั้งสิ้น 147 ตัว ตายไป 86 ตัว คงเหลือ 61 ตัว แยกเป็นสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาประทับช้าง รับเสือโคร่งไว้ 85 ตัว ตายไป 54 ตัว คงเหลือ 31 ตัว ส่วนที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาสน จ.ราชบุรี รับเสือโคร่ง 62 ตัว ตายไป 32 ตัว คงเหลือ 30 ตัว ขณะนี้ได้จัดมาตรการดูแลเสือโคร่งที่เหลือ มีการคัดแยกเสือโคร่งตามกลุ่มอาการเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มปกติ ไม่แสดงอาการ กลุ่มเริ่มแสดงอาการเล็กน้อย และกลุ่มแสดงอาการปานกลางถึงรุนแรง เพื่อให้ง่ายต่อการติดตามอาการและประเมินรักษา โดยมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดสุนัข
    ขณะที่ นสพ.ภัทรพล มณีอ่อน หัวหน้ากลุ่มงานจัดการสุขภาพสัตว์ป่า กรมอุทยานฯ กล่าวว่า ด้านมาตรการดูแลสุขภาพเสือโคร่งในสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าทั้ง 2 แห่ง ได้ประสานกับคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เก็บอุจจาระและตัวอย่างเลือดตรวจสอบ ติดตามโรคจากสัตว์ป่า สัตว์ต่างถิ่น และสัตว์อพยพ เมื่อทราบผลจะพิจารณาให้วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดสุนัขตามขั้นตอน และมีการติดตามผลเป็นระยะ ส่วนเสือที่มีอาการป่วยหนักอาจพิจารณาผ่าตัดเป็นรายกรณี นอกจากนี้จะควบคุมให้มีระบบความปลอดภัยทางชีวอนามัยภายในสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าทั้ง 2 แห่งอย่างเข้มงวด 
    "ยืนยันว่าที่ผ่านมาในระหว่างการตรวจยึด พบว่าเสือวัดหลวงตามหาบัวมีการตายอยู่แล้วจากภาวะเลือดชิด โดยพบเสือลูกกรอกที่ดองไว้ และหนังเสือจำนวนมาก เสือเดิมที่อยู่ในสถานีไม่มีความผิดปกติใดๆ เกิดขึ้น แต่เสือจากวัดทั้ง 2 สถานีมีอาการเหมือนกัน ทั้งที่สถานีอยู่ห่างกัน ดังนั้นปัญหาพันธุกรรมจึงเป็นสาเหตุสำคัญ" นสพ.ภัทรพลกล่าว.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"