'บิ๊กตู่'ได้ไปต่อ!ศาลรธน.วินิจฉัยหัวหน้าคสช.ไม่ถือเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ


เพิ่มเพื่อน    

18 ก.ย.62  - ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยกรณีประธานสภาผู้แทนราษฎร ส่งคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความเป็นรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง ( 4) ประกอบมาตรา 160 (6) และมาตรา 98(15) หรือไม่ จากเหตุดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ถือเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐหรือไม่  โดยมีนายสรศักดิ์ เพียรเวช เลขาธิการสภาฯ และ พล.ต.วิรัช โรจนวาช  คณะทำงานนายกรัฐมนตรี  เป็นตัวแทนฝ่ายผู้ร้องและผู้ถูกร้อง เข้ารับฟังการวินิจฉัยของศาล 

นายวรวิทย์  กังศศิเทียม ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อ่านคำวินิจฉัยว่า คดีนี้ส.ส.จำนวน 110 คน เข้าชื่อยื่นคำร้องต่อประธานสภาฯโดยระบุว่า พล.อ.ประยุทธ์ ผู้ถูกร้องมีคุณสมบัติต้องห้าม เพราะเหตุเป็นเจ้าหน้าทีอื่นของรัฐ ทำให้ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าตำแหน่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)​มาจากการยึดอำนาจการปกครองประเทศเมื่อวันที่ 22 พ.ค 2557 ต่อมามี พระบรมราชโองการโปรดเกล้า แต่งตั้งพล.อ.ประยุทธ์เป็นหัวหน้าคสช. เพื่อบริหารราชการแผ่นดิน  เห็นได้ว่าการแต่งตั้งหัวหน้า คสช. เป็นผลสืบเนื่องมาจากการยึดอำนาจ และเป็นตำแหน่งที่ใช้อำนาจรัฏฐาธิปัตย์ ซึ่งเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ โดยเห็นได้จากการออกประกาศและคำสั่งหลายฉบับ หัวหน้า คสช. ไม่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาหรือการกำกับดูแลของรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐใด 

ประเด็นที่ศาลรัฐธรรมนูญต้องวินิจฉัย ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงเฉพาะตัวเหตุเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 270 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160 (6) และมาตรา 98 (15) หรือไม่นั้น

ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคำวินิจฉัยกรณีความเป็นเจ้าอื่นของรัฐไว้แล้วในคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 5/2543 ซึ่งใช้รัฐธรรมนูญปี 2540 โดยมีมาตรา 109 (11) หลักการเดียวกันกับรัฐธรรมนูญปี 2560 มาตรา 98 (15) สรุปได้ว่า การพิจารณาความหมายของคำว่าเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐตามมาตรา 109 (11) เป็นการตีความจำกัดสิทธิของบุคคลในการสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. และ ส.ว. เป็นการจำกัดสิทธิของบุคคล จึงต้องตีความอย่างแคบ การตีความถ้อยคำที่มีลักษณะนี้ ควรถือว่าเป็นคำทั่วไปที่ต่อมาจากคำเฉพาะหลายคำที่มีมาก่อนหน้านั้น ย่อมมีความหมายในแนวทางเดียวกันกับคำเฉพาะที่นำมาข้างหน้า มาตรา 109 (11) หลักการเดียวกันกับรัฐธรรมนูญ2560 มาตรา 98 (15) ไว้ดังปรากฏตามคำวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญ 5/2543 สรุปได้ว่า การพิจารณาความหมายของคำว่าเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐตาม 109 (11) เป็นการตีความจำกัดสิทธิของบุคคลในการสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. และ ส.ว. เป็นการจำกัดสิทธิของบุคคล จึงต้องตีความอย่างแคบ การตีความถ้อยคำที่มีลักษณะนี้ ควรถือว่าเป็นคำทั่วไป ที่ต่อมาจากคำเฉพาะหลายคำที่มีมาก่อนหน้านั้น ย่อมมีความหมายในแนวทางเดียวกันกับคำเฉพาะที่นำมาข้างหน้า

โดยคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ 5/2543 ได้สรุปลักษณะเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐไว้ว่า 1.ได้รับแต่งตั้งหรือเลือกตั้งตามกฎหมาย 2.มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการหรือหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายและปฏิบัติงานประจำ 3.อยู่ในบังคับบัญชา หรือในกำกับดูแลของรัฐ และ4.มีเงินเดือน ค่าจ้าง หรือค่าตอบแทนตามกฎหมาย

โดยตำแหน่งหัวหน้าคสช.เป็นตำแหน่งที่ไม่ได้รับการแต่งตั้งโดยกฎหมาย   อีกทั้งไม่มีกฎหมายกำหนดกระบวนวิธีการได้มา หรือการเข้าสู่การดำรงตำแหน่ง  โดยมีอำนาจหน้าที่เป็นการเฉพาะชั่วคราว ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้มีอำนาจในการรักษาความสงบเรียบร้อย และความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ และประชาชน ดังนั้นตำแหน่ง หัวหน้าคสช.จึงไม่มีสถานะตำแหน่งหน้าที่ หรือลักษณะงานทำนองเดียวกับ พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ และไม่ใช่เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ตามมาตรา 98(15)  ผู้ถูกร้องจึงไม่มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 160(6) ประกอบมาตรา 98 (15) อาศัยเหตุผลดังกล่าวจึงวินิจฉัยว่า  ความเป็นรัฐมนตรีไม่สิ้นสุดลงเฉพาะตัวเพราะเหตุเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4)  ประกอบมาตรา 160 (6) และมาตรา 98(15)  

ส่วนกรณีที่นางอุบลกาญจน์ อมรสิน  ประธานองค์กรตรวจสอบการธำรงไว้ซึ่งหลักนิติธรรม ยื่นคัดค้าน 7 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ  ไม่ให้วินิจฉัยคดีนี้ ศาลมีมติเอกฉันท์ไม่รับคำร้อง เนื่องจากไม่ได้เป็นคู่กรณีโดยตรง .


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"