โพลชี้อภิปราย ไม่ได้ประโยชน์ ฝันแก้ปากท้อง


เพิ่มเพื่อน    


    ประชาชนส่วนใหญ่มองอภิปรายทั่วไปไม่ลงมติปมถวายสัตย์ฯ-ที่มางบประมาณบริหารประเทศไม่ได้ประโยชน์ สำนักนิด้าโพลตอกย้ำ คนเดือดร้อนปัญหาปากท้อง บอกหากพบนายกฯ อยากให้แก้ไขความเดือดร้อนจากพิษเศรษฐกิจ 
    ภายหลังจากที่พรรคร่วมฝ่ายค้านอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติรัฐบาล เมื่อวันที่ 18 ก.ย.62 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยสวนดุสิตโพล ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ  หัวข้อ “ควันหลง” การอภิปรายรัฐบาลประยุทธ์ จำนวนทั้งสิ้น 1,164 คน ระหว่างวันที่ 19-21 กันยายน 2562 สรุปผลได้ ดังนี้ 
    เมื่อถามถึงความสนใจของประชาชนในการติดตาม “การอภิปรายรัฐบาลประยุทธ์” พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ตอบว่าสนใจ 61.86 เปอร์เซ็นต์ ส่วนเหตุผล เช่น เพราะอยากฟังข้อมูลการอภิปรายของฝ่ายค้าน, อยากรู้ว่ารัฐบาลจะชี้แจงอย่างไร, การถวายสัตย์ฯ เป็นจารีตประเพณีสำคัญ เป็นต้น ขณะที่ประชาชนที่ตอบว่าไม่สนใจ 38 เปอร์เซ็นต์ ด้วยเหตุผล เช่น  เบื่อหน่าย ไม่ชอบการเมือง มัวแต่ทะเลาะกัน, สนใจเรื่องน้ำท่วมและปากท้องมากกว่า และต้องทำงาน ไม่มีเวลาฟัง    
    ส่วนเมื่อถามว่า การอภิปรายครั้งนี้ ประชาชนคิดว่าได้ประโยชน์หรือไม่ ประชาชนตอบว่าได้ประโยชน์ 37.24 เปอร์เซ็นต์ ด้วยเหตุผลคือได้รู้ข้อมูลข้อเท็จจริงมากขึ้น, ได้เห็นท่าที มุมมอง แนวคิดของทั้ง 2 ฝ่าย, ได้รู้ที่มาที่ไปของการถวายสัตย์ฯ เป็นต้น ขณะที่ส่วนใหญ่ตอบว่าไม่ได้ประโยชน์ 62.76 เปอร์เซ็นต์ ด้วยเหตุผล ไม่ได้คำตอบที่ชัดเจนจากนายกฯ,  ไม่มีการตัดสินชี้ชัด ไม่มีการลงมติ, ไม่ได้อภิปรายเรื่องเศรษฐกิจและปากท้อง, เป็นเรื่องการเมือง ไม่เกี่ยวกับประชาชน  และเสียเวลา สิ้นเปลืองงบประมาณ    
    วันเดียวกันนี้ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “จะเรียกร้องอะไรจากนายกรัฐมนตรี”
    โดยทำการสำรวจระหว่างวันที่ 18-19 กันยายน 2562 จากประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,266 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับสิ่งที่จะเรียกร้องจากนายกรัฐมนตรี และสาเหตุสำคัญที่ทำให้ประชาชนเคยชินกับสิ่งที่เคยได้ 
    ทั้งนี้ จากการสำรวจเมื่อถามถึงสิ่งที่จะเรียกร้องเป็นเรื่องแรก หากพบนายกรัฐมนตรี พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 44.95 ระบุว่าขอให้ช่วยแก้ไขความเดือดร้อนจากพิษเศรษฐกิจ รองลงมา ร้อยละ 15.80 ระบุว่าไม่เรียกร้องอะไรเลย, ร้อยละ 13.35 ระบุว่าขอให้ช่วยแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนจากภัยทางธรรมชาติ, ร้อยละ 4.35 ระบุว่าขอให้ช่วยแก้ไขปัญหายาเสพติด, ร้อยละ 3.63 ระบุว่าขอให้ช่วยแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ, ร้อยละ 3.55 ระบุว่าอยากให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี, ร้อยละ 2.92 ระบุว่าขอให้รัฐแจกเงินเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน, ร้อยละ 2.29 ระบุว่าแก้ไขปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตร 
    ร้อยละ 2.21 ระบุว่าขอให้ช่วยแก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมทางสังคม, ร้อยละ 1.97 ระบุว่า ขอให้ช่วยแก้ไขรัฐธรรมนูญ, ร้อยละ 1.50 ระบุว่าขอให้ช่วยแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ, ร้อยละ 3.24 ระบุอื่นๆ ได้แก่ ขอให้ช่วยแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน จัดการระบบข้าราชการใหม่ พัฒนาระบบการศึกษาไทย เพิ่มสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุ ผู้พิการ เพิ่มการจ้างงาน เพิ่มอาชีพ ลดปัญหาการว่างงาน สร้างความสงบเรียบร้อยให้แก่บ้านเมือง เร่งแก้ไขปัญหาความไม่สงบชายแดนภาคใต้ และแก้ไขปัญหาเรื่องการคมนาคม เช่น การสร้างถนน ขณะที่บางส่วนระบุว่า อยากขอให้นายกรัฐมนตรีควบคุมอารมณ์และคำพูด และร้อยละ 0.24 ระบุว่าไม่มีความเห็น/ไม่แน่ใจ/ไม่สนใจ 
    สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อคำกล่าวของนายกรัฐมนตรีที่ว่า “ประชาชนเคยชินกับสิ่งที่เคยได้ โดยไม่สนใจว่าจะถูกหรือผิด มีการเรียกร้องอย่างต่อเนื่องเหมือนทุกวันนี้” พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 52.84 ระบุว่าไม่เห็นด้วยเลย เพราะประชาชนได้รับความเดือดร้อนจริงๆ และเป็นสิทธิของประชาชนที่จะเรียกร้องให้รัฐบาลเข้ามาดูแลเอาใจใส่ให้มากกว่านี้ ขณะที่บางส่วนระบุว่า นายกรัฐมนตรีไม่สมควรกล่าวแบบนี้กับประชาชน รองลงมา ร้อยละ 19.51 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะ ประชาชนยังรอคอยความช่วยเหลือจากรัฐบาลเพียงอย่างเดียว ประชาชนบางกลุ่มเอาแต่ได้ เห็นแก่ตัว ชอบความสบาย ไม่รู้จักปรับตัว และไม่ยอมเปลี่ยนแปลงตนเอง
    ขณะที่บางส่วนระบุว่า นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถูกต้องแล้ว เนื่องจากนิสัยคนไทยบางกลุ่มชอบเรียกร้องมากเกินไป ร้อยละ 15.09 ระบุว่าไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะระดับการศึกษาของแต่ละคนไม่เท่ากัน ย่อมมีข้อถกเถียงโต้แย้งกันอยู่แล้ว บางกลุ่มก็เป็นตามที่นายกรัฐมนตรีกล่าว แต่บางกลุ่มก็ไม่ได้เรียกร้องอะไร ขณะที่บางส่วนระบุว่าประชาชนเดือดร้อนจริงๆ และสามารถเรียกร้องสิทธิที่ควรจะได้, ร้อยละ 9.40 ระบุว่าค่อนข้างเห็นด้วย เพราะประชาชนบางกลุ่มเป็นแบบนั้นจริงๆ เพราะเคยได้รับกับสิ่งที่รัฐบาลทุกยุคทุกสมัยปฏิบัติตามกันมาแบบนี้จนเกิดความเคยชิน ขณะที่บางส่วนระบุว่านายกรัฐมนตรีได้กล่าวถูกต้องแล้ว และร้อยละ 3.16 ระบุว่าไม่มีความเห็น/ไม่แน่ใจ/ไม่สนใจ
    ท้ายที่สุดเมื่อถามผู้ที่ระบุว่า “เห็นด้วย”, “ค่อนข้างเห็นด้วย” และ “ไม่มีความเห็น/ไม่แน่ใจ/ไม่สนใจ” กับคำกล่าวของนายกรัฐมนตรี ว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้ “ประชาชนเคยชินกับสิ่งที่เคยได้ โดยไม่สนใจว่าจะถูกหรือผิด มีการเรียกร้องอย่างต่อเนื่องเหมือนทุกวันนี้” พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 32.76 ระบุว่าประชาชนเคยตัวไม่รู้จักปรับตัวช่วยเหลือตัวเอง รองลงมา ร้อยละ 24.38 ระบุว่าต้นเหตุมาจากนโยบายประชานิยมของทุกรัฐบาล, ร้อยละ 13.79 ระบุว่าความเดือดร้อนของประชาชนมีมากกว่าที่จะช่วยเหลือดูแลตัวเองได้, ร้อยละ 12.07 ระบุว่ารัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้ประชาชนได้อย่างเบ็ดเสร็จ, ร้อยละ 10.35 ระบุว่าข้าราชการไม่ทำหน้าที่ให้สมบูรณ์ ทำให้ประชาชนต้องเรียกร้องจากรัฐบาลอยู่เรื่อยๆ และร้อยละ 6.65 ระบุว่าไม่มีความเห็น/ไม่แน่ใจ/ไม่สนใจ.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"