ครม. ไฟเขียวปีงบ 63รัฐบาล-รัฐวิสาหกิจก่อหนี้ใหม่ 8.9 แสนล.


เพิ่มเพื่อน    

เมื่อวันที่ 24 ก.ย. 2562 ที่ผ่านมานางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2563 โดยเน้นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และการใช้เงินอยู่ภายใต้กรอบพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) วินัยการเงินการคลัง ซึ่งแผนการบริหารหนี้ดังกล่าว แบ่งเป็น 1. แผนการก่อหนี้ใหม่ วงเงิน 8.9 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นการก่อหนี้ใหม่ของรัฐบาล วงเงิน 7.4 แสนล้านบาท จะเป็ฯการกู้มาเพื่อบริหารสภาพคล่องของเงินคงคลัง จำนวน 9 หมื่นล้านบาท เพื่อให้เพียงพอรองรับการเบิกจ่ายเป็นครั้งคราว รวมถึงรองรับการเบิกจ่ายงบประมาณภายใต้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐระยะสั้นของรัฐบาล ในช่วงไตรมาส 1-2 ของปีงบประมาณ 2563 โดยการออกตั๋วเงินคงคลังระยะสั้น ไม่เกิน 120 วัน

นอกจากนี้ รัฐบาลกู้มาใช้โดยตรง จำนวน 5.7 แสนล้านบาท มาจากแหล่งเงินกู้ในประเทศ เป็นการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ปี 2563 และเงินกู้ต่างประเทศเพื่อมาใช้ในโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงโครงการพัฒนากำลังคนด้านวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สนับสนุนการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรมในประเทศและภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ

ทั้งนี้ รัฐบาลกู้ในประเทศมาเพื่อให้กู้ต่อ เพื่อสนับสนุนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ จำนวน 8.5 หมื่นล้านบาท โดยเป็นโครงการของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) 5 โครงการ วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท โครงการของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) 9 โครงการ วงเงิน 6.5 หมื่นล้านบาท

สำหรับการก่อหนี้ใหม่ของรัฐวิสาหกิจ จำนวน 13 แห่ง วงเงินรวม 1.4 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดิม 8.7 หมื่นล้านบาท เช่น การเคหะแแห่งชาติ 4 พันล้านบาท การประปาส่วนภูมิภาค 6 พันล้านบาท การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 2 หมื่นล้านบาท บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อดำเนินโครงการและเสริมสภาพคล่อง 5.6 หมื่นล้านบาท และ รฟท. อีก 1.4 หมื่นล้านบาท

2. แผนการบริหารหนี้เดิม จำนวน 8.3 แสนล้านบาท ประกอบด้วยหนี้เดิมของรัฐบาล (หนี้ในประเทศทั้งหมด) วงเงิน 6 แสนล้านบาท และหนี้เดิมของรัฐวิสาหกิจ (ทั้งหนี้ในประเทศและต่างประเทศ) วงเงิน 2.2 แสนล้านบาทและ3.แผนการชำระหนี้ วงเงินรวม3.9 แสนล้านบาท

นางสาวรัชดา กล่าวอีกว่า แผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2563 นั้น อยู่ภายในกรอบพ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561 ที่กำหนดไว้ว่า สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพี ต้องไม่เกิน 60% ซึ่งการดำเนินงานปี 2563 อยู่ที่ 42.76% และสัดส่วนภาระหนี้ของรัฐบาลต่อประมาณการรายได้ประจำปีงบประมาณ ต้องไม่เกิน 35% ซึ่งการดำเนินงานปี 2563 อยู่ที่ 18.48% รวมถึงสัดส่วนหนี้สาธารณะที่เป็นเงินตราต่างประเทศต่อหนี้สาธารณะทั้งหมด ต้องไม่เกิน 10% ซึ่งการดำเนินงานปี 2563 อยู่ที่ 2.86% และสัดส่วนภาระหนี้สาธารณะที่เป็นเงินตราต่างประเทศต่อรายได้จากการส่งออกสินค้าและบริการ ต้องไม่เกิน 5% ซึ่งการดำเนินงานปี 2563 อยู่ที่ 0.15%

รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า ที่ประชุม ครม. ยังเห็นชอบรายงานสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นต่อการจัดทำร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2563 ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายที่ต้องผ่านการรับฟังความคิดเห็น โดยกระบวนการรับฟังความคิดเห็นนี้ สำนักงบประมาณได้จัดประชุมให้ภาคส่วนต่างๆ แสดงความคิดเห็นกับกรอบวงเงินที่จัดสรรให้ไป รวมทั้งเปิดกว้างให้ประชาชนได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ด้วย
"ข้อเสนอของภาคส่วนต่าง ๆ ในภาพรวม มีความห่วงใยต่อการบูรณาการการทำงานของกระทรวงต่าง ๆ ที่ต้องการเห็นการสอดประสานกันมากขึ้น และยึดยุทธศาสตร์ชาติเป็นหลักในการทำงาน ซึ่งข้อคิดเห็นต่างๆ นั้น สำนักงบประมาณได้จัดทำข้อชี้แจงกลับไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ที่ตั้งข้อสังเกตไว้แล้ว" นางสาวรัชดา กล่าว

อย่างไรก็ดี หลังจากนี้คาดว่าจะมีการนำเสนอร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ 2563 เข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ได้ในวันที่ 17 ต.ค. นี้ และคาดว่าจะมีการพิจารณาวาระที่ 2 และ 3 ได้ในวันที่ 28-29 ม.ค. 2563 และหลังจากนั้นในช่วงปลายเดือน ม.ค. 2563 จะมีการนำขึ้นทูลเกล้าฯ ต่อไป


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"