4DNA ถอดรหัสอัตลักษณ์ท้องถิ่น4 จังหวัด  ผ่านลวดลายสินค้า-ผลิตภัณฑ์


เพิ่มเพื่อน    


       กระเป๋าลวดลายงดงามจากอ.แก้งสนามนาง นครราชสีมา

    ในการประกอบธุรกิจ สิ่งสำคัญที่สุดที่จะนำไปสู่ความสำเร็จได้คือการสร้างอัตลักษณ์ให้กับธุรกิจของตนเอง ไม่ใช่การลอกเลียนแบบ ทำซ้ำๆ เหมือนกันหมด จนแยกไม่ออกว่าธุรกิจนั้นเป็นของใคร และมีจุดเด่นอะไร เช่นเดียวกับในแวดวงการออกแบบก็ต้องมีอัตลักษณ์ของตนเองจึงจะโดดเด่นน่าสนใจ ยกตัวอย่าง ศิลปะการทอผ้า ซึ่งผ้าทอเป็นหัตถกรรมที่มีแทบทุกจังหวัดในประเทศไทย และมีลักษณะเหมือนกันหมดทั้งรูปทรง และการใช้งาน สิ่งที่จะสร้างความแตกต่างไม่เหมือนใครได้คือการสร้างอัตลักษณ์ของผ้าผ่านลวดลาย ความเชื่อ วัตถุดิบที่ใช้ผลิต หรือขั้นตอนการผลิต ฯลฯ

    ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้กระทรงวัฒนธรรม โดยสำนักงานศิลปะร่วมสมัย จัดทำ “โครงการสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัยเพื่อต่อยอดทุนทางวัฒนธรรม” ขึ้นมาโดยร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปากร ถือเป็นโครงการเข้าไปช่วยชุมชนในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศค้นหาอัตลักษณ์ของตนเอง ผ่านการใช้ศาสตร์ 4DNA ซึ่งก็คือศาสตร์ที่ช่วยถอดจุดเด่นของจังหวัดตั้งแต่ คำขวัญ แหล่งท่องเที่ยว เศรษฐกิจสังคม อาณาเขต ประเพณีวัฒนธรรม และจุดเด่นอื่นๆ มาใช้ออกแบบเป็นสัญลักษณ์ โลโก้ หรือลวดลายสินค้าพิเศษเพื่อไปใช้กับสินค้าผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ หรือเรียกว่าเป็นการต่อยอดพัฒนาสินค้า และศิลปวัฒนธรรมที่มีอยู่ในชุมชนให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น

    ในปีที่ผ่านมาได้ดำเนินโครงการฯ มาแล้ว 4 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ พิษณุโลก ระยอง สมุทรสงคราม และนครศรีธรรมราช รวมทั้งสิ้น 43 อำเภอ ทำให้ได้ผลงานการออกแบบที่โดดเด่น มีการเผยแพร่องค์ความรู้ และการพัฒนาต่อยอดได้อย่างเป็นรูปธรรม นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่จังหวัด อาทิ การออกแบบผลิตภัณฑ์และสินค้า การตกแต่งภายใน โล่รางวัล ฯลฯ และในปี 2562 นี้ มี 4 จังหวัดที่เข้าร่วม ได้แก่ สมุทรสาคร นครราชสีมา เชียงราย และเพชรบุรี รวมทั้งสิ้น 61 อำเภอ และได้มีการนำตัวอย่างการถอดอัตลักษณ์ของแต่ละอำเภอมาจัดแสดงแสดงนิทรรศการที่ไลฟ์สไตล์ ฮอลล์ ชั้น 2 ศูนย์การค้าสยามพารากอน เมื่อช่วงวันที่ 20-21 ที่ผ่านมา

อิทธิพล คุณปลื้ม ชมผลงานออกแบบของแต่ละจังหวัด

 

    นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า การจัดทำโครงการฯ ขึ้นเป็นการนำกระบวนสร้างสรรค์งานศิลปะร่วมสมัยมาพัฒนาศิลปวัฒนธรรมที่มีในชุมชน อันเป็นพื้นฐานสำคัญในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ไปพร้อมกับพัฒนาและต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่อย่างมากมายให้เกิดมูลค่าเพิ่ม สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้ชุมชน โดยใช้การค้นหาและถอดรหัสอัตลักษณ์ของแนวคิดศาสตร์ 4 DNA ซึ่งเป็นการคิดรอบด้าน ที่มีหลักสำคัญคือ ค้นหาตัวตนของแต่ละชุมชนจากมิติต่างๆ นำมาศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบ พัฒนาสินค้า และบริการทางวัฒนธรรมในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น ตราสินค้า โลโก้ โทนสี ลวดลายผ้า การออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบตกแต่งภายใน ฯลฯ ซึ่งผลงานที่เกิดขึ้นจะมีความทันสมัยและเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าส่งเสริมเศรษฐกิจของผู้ประกอบการในชุมชนให้เติบโต โดยโครงการฯ ดังกล่าว จัดทำขึ้นภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งจะเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน เป็นการบูรณาการทำงานร่วมกันของภาครัฐ เอกชน และประชาชนในแต่ละจังหวัด เสริมสร้างความสัมพันธ์ของประชาชนในทุกภาคส่วน

ตัวอย่างแบบร่างจากการถอดอัตลักษณ์อ.แม่ลาว เชียงราย

 

    ด้าน นส.วิมลลักษณ์ ชูชาติ ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) กล่าวว่า สศร.ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปากร และจังหวัดในพื้นที่ต่างๆ ให้ความรู้กับชุมชน ที่จะพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมด้วยงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ผ่านกระบวนการวิเคราะห์และถอดรหัส ด้วยศาสตร์ 4DNA ซึ่งโครงการฯ นับเป็นฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศ โดยใช้มิติทางวัฒนธรรมซึ่งเป็นต้นน้ำ นำมาต่อยอดสินค้าและบริการทางวัฒนธรรมที่มีอัตลักษณ์ ไปสู่การออกแบบในหลากหลายมิติ เป็นการตอบโจทย์ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนงานด้านศิลปวัฒนธรรม ที่มุ่งหวังให้เป็นแนวทางในการพัฒนามรดกทางวัฒนธรรม เป็นการประยุกต์ใช้อัตลักษณ์ของท้องถิ่น ซึ่งนอกจากจะสร้างรายได้แล้ว ยังช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ของคนในสังคมทุกภาคส่วน ได้เกิดความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ของตนเองด้วย ทั้งนี้ยังได้ร่วมกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา, กระทรวงพาณิชย์ในการให้ความรู้แก่ชุมชนเพื่อจะได้เข้าใจในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้มีการทำข้อตกลงโอนลิขสิทธิ์ และทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับโครงการให้กับจังหวัดพื้นที่ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับมอบ ซึ่งผลงานที่ได้รับนั้นจะได้นำไปใช้สนับสนุนและส่งเสริมให้มีการปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป

ผศ.เอกพงษ์ ตรีตรง ม.ศิลปากร ผู้คิดศาสตร์ 4DNA

    ขณะที่ผศ.เอกพงษ์ ตรีตรง อดีตคณบดีคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้คิดค้นแนวคิดศาสตร์ 4 DNA กล่าวว่า โลกกำลังเข้าสู่ยุค City Branding หากเราไม่เริ่มสำรวจอัตลักษณ์ประจำเมือง ก็จะถูกเมืองที่มีศักยภาพสูง หรือมีการลงทุนมากกว่า กลืนกินในไม่ช้า ซึ่งแนวคิดศาสตร์ 4 DNA เป็นการสำรวจและวิจัยตั้งแต่พฤติกรรมของคน จนถึงระดับวัฒนธรรม และได้แปลงข้อมูลทั้งหมดให้กลายเป็นคอนเซ็ปท์ของแต่ละชุมชน จนทำให้เกิดอัตลักษณ์ประจำถิ่น ที่สามารถประยุกต์ใช้สร้างแรงบันดาลใจให้กับธุรกิจในหลากหลายมิติ มีเรื่องราวให้คนในท้องถิ่นเกิดความภาคภูมิใจ หรืออาจกล่าวได้ว่า 4 DNA คือการระดมความคิดจากทุกภาคส่วนในการกำหนดอัตลักษณ์ อาทิ ภูมิประเทศ สภาพแวดล้อม วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ สังคม เศรษฐกิจ จากนั้นนำไปสู่การออกแบบรอบทิศ ได้แนวทางศาสตร์ 4 DNA เฉพาะแต่ละชุมชนในการไปใช้ประโยชน์รอบด้าน

ลวดลายบนกล่องบรรจุภัณฑ์ที่มาจากอัตลักษณ์เมืองเพชรบุรี


    “เรามักจะเห็นงานออกแบบหลายชิ้น หรือสถานที่หลายแห่งในไทยได้รับแรงบันดาลใจมาจากต่างประเทศ ซึ่งคิดว่างานที่เอาของคนอื่นมา หรือลอกคนอื่นมาเป็นงานที่ไม่ประสบความสำเร็จ มันควรจะเป็นงานที่บอกตัวตน อัตลักษณ์ของเรา ลองคิดดูว่าสมมติเราไปท่องเที่ยวจังหวัดทางภาคใต้ หรือจังหวัดที่มีทะเล แต่บรรยากาศโดยรอบเป็นอุดร มันก็ไม่ใช่แล้ว มันควรจะเป็นบรรยากาศของท้องถิ่น ฉะนั้นจะต้องดึงอัตลักษณ์ของตนเองออกมาก่อน งานที่มีอัตลักษณ์จะเป็นงานที่ประสบความสำเร็จ ศาสตร์ 4DNA มันใช้ได้กับทุกอย่างตั้งแต่งานออกแบบสินค้าและผลิตภัณฑ์แล้ว ก็ต่อยอดไปสู่อาคาร ผังเมืองได้”

ลายกล่องใส่ผ้าที่มาจากอัตลักษณ์เชียงแสน เชียงราย


    ทั้งนี้ตัวอย่างร่างการถอดอัตลักษณ์โดยใช้ศาสตร์ 4DNA ของแต่ละจังหวัดจะต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น อย่างอ.เมือง จ.เพชรบุรี เป็นจังหวัดที่มีความโดดเด่นหลายประการ ในแง่ของแหล่งท่องเที่ยวจะมี พระนครคีรี ถ้ำเขาหลวง ถ้ำพระราชวังบ้านปืน วัดพุทธไสยาสน์ และในเชิงเศรษฐกิจสังคม มีข้าวแช่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว ขนมเมืองเพชรเป็นอาหารขึ้นชื่อ ฉะนั้นจึงได้มีการนำเอาจุดเด่นดังที่กล่าวมา มาผสมผสาน แปลงเป็นแบบร่างโลโก้ใหม่ที่สวยงามกว่าเดิม และลงสี โดยกำหนดค่าสีเช่น ใช้สีขาวเหลืองจากกำแพงวัด สีเขียวจากธรรมชาติพระนครคีรี สีแดงจากปรางค์จัตุรมุขพระนครคีรี สีน้ำตาลจากหน้าจั่วโบสถ์วัดใหญ่สุวรรณาราม สีน้ำตาลเข้มจากลิงแสม เป็นแบบลวดลายสัญลักษณ์ที่สวยงามนำมาใช้เป็นกล่องบรรจุภัณฑ์ของที่ระลึก
        หรือ อ.เชียงแสน จ.เชียงรายที่โดดเด่นเรื่องผ้าทอลายเชียงแสน ปลาบึกแม่น้ำโขง และเป็นที่รู้จักเรื่องสามเหลี่ยมทองคำ จึงมีการคิดออกแบบลวดลายสัญลักษณ์จากจุดเด่นดังกล่าว โดยกำหนดสีของลวดลายสัญลักษณ์ให้มีสีทองโบราณจากโบราณสถาน สีฟ้าขากแม่น้ำโขง สีแดงจากอิฐมอญ สีเหลืองจากความรุ่งเรือง และสีเทาจากปลาบึกแม่น้ำโขง ฯลฯ กลายเป็นลวดลายบนบรรจุภัณฑ์ผ้าเชียงแสน เป็นต้น

โลโก้บนสินค้าหมวกของอ.บัวใหญ่ นครราชสีมา
    อย่างไรก็ตาม ผอ.สศร ยังกล่าว จะมีการผลักดันโครงการฯ ดังกล่าว ให้เกิดประโยชน์ในระดับมหภาคมากยิ่งขึ้น และกำลังร่วมมือกับกระทรวงต่างๆ อาทิ กระทรวงพานิชย์ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงมหาดไทย ในการนำสิ่งที่ได้พัฒนาขึ้น นำไปต่อยอดด้านเศรษฐกิจให้กับชุมชน และในปี 2563 สศร. มีแนวทางในการต่อยอดในพื้นที่เมืองเศรษฐกิจและเมือรองและเมืองท่องเที่ยวสำคัญ เพื่อเพิ่มศักยภาพและพัฒนาไปสู่ Creative City และการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ (MICE) ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ภูเก็ต สุโขทัย และราชบุรีต่อไป

-------------------------
ใต้ภาพ
1.กระเป๋าลวดลายงดงามจาก อ.แก้งสนามนาง นครราชสีมา
2.ตัวอย่างแบบร่างจากการถอดอัตลักษณ์อ.แม่ลาว เชียงราย
3.นายอิทธิพล คุณปลื้ม ชมผลงานออกแบบของแต่ละจังหวัด
4.บรรยากาศนิทรรศการที่ผ่านมา
5.ผศ.เอกพงษ์ ตรีตรง ม.ศิลปากร ผู้คิดศาสตร์ 4DNA
6.ลวดลายบนกล่องบรรจุภัณฑ์ที่มาจากอัตลักษณ์เมืองเพชรบ
7.ลายกล่องใส่ผ้าที่มาจากอัตลักษณ์เชียงแสน เชียงราย
8.โลโก้บนสินค้าหมวกของอ.บัวใหญ่ นครราชสีมา
...
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"