(อากิระ นากาโอะ (Akira Nagao))
ปัจจุบันระบบดิจิทัลได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ และภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในด้านของการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หรือดิสรัปชันทางนวัตกรรมและเทคโนโลยี ที่พัฒนาแบบก้าวกระโดด ซึ่งส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมต้องปรับตัวเพื่อรองรับให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง ล่าสุด ภายใต้ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย โดย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA-จิสดา) กับรัฐบาลญี่ปุ่น JICA (Japan International Cooperation Agency) ในการร่วมกันพัฒนาเครือข่ายเสากระจายสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งใช้เทคโนโลยีดาวเทียมนำทางขึ้นในประเทศไทย
และเมื่อเร็วๆ นี้ ที่ผ่านมาได้ร่วมกันจัดดงาน DEMO DAY Showcase for GNSS Innovation เพื่อแนะนำการใช้นวัตกรรมด้าน GNSS (Global Navigation Satellite System) ณ ศูนย์ Space Innovation Center อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ.2562 ซึ่งเป็นสถานที่พัฒนานวัตกรรมต้นแบบให้เหมาะกับระบบนิเวศ (Eco-System) ของไทยและภูมิภาค ด้วยการปรับใช้ข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐานจากระบบระบุพิกัดตำแหน่งบนพื้นโลกความแม่นยำสูง ช่วยพัฒนาโปรแกรม แอปพลิเคชันให้สามารถทำงานได้อย่างแม่นยำ ซึ่งมีบริษัทญี่ปุ่นหลายรายที่นำนวัตกรรม และเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้าร่วมแสดงในงาน
ประเดิมเริ่มจาก นายอากิระ นากาโอะ (Akira Nagao) ประธานบริษัท เอเชีย เทคโนโลยี อินดัสทรีส์ จำกัด (ATI) เปิดเผยว่า บริษัทเป็นหนึ่งในหลายบริษัทของญี่ปุ่นที่ได้มีโอกาสนำเสนอการทดสอบการขับเคลื่อนอัตโนมัติ (autonomous driving) โดยใช้ระบบนำทางด้วยดาวเทียม GNSS โดยทาง ATI ได้ร่วมทำการวิจัยระบบกับทาง Smart Mobility ดำเนินงานโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นักสิทธิ์ นุ่มวงศ์ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมยานยนต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำการทดสอบ
ทั้งนี้ การดำเนินงานนั้นได้ใช้รถ COMS (Micro EV) ซึ่งเป็นผลงานของทาง Smart Mobility ใช้เป็นรถทดสอบ โดยได้รับความร่วมมือสนับสนุนจากหลายบริษัท คืออุปกรณ์รับสัญญาณดาวเทียมที่มีความแม่นยำสูง มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั่วโลก จากทาง Nikon-Trimble Co.,Ltd และใช้กล้องติดรถยนต์ของ Tokai Clarion Ltd. จากญี่ปุ่น ติดตั้งในรถทดสอบ
"เรานำระบบ GNSS เข้ามาพัฒนาต่อยอดร่วมกับระบบ Autonomous Driving ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงมองเห็นถึงประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยพัฒนาประเทศในหลายด้าน ทั้งทางการศึกษา สังคม คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อม" นายนากาโอะกล่าว
นายนากาโอะ กล่าวว่า รถ Micro EV เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของรถยนต์ autonomous ราคาประหยัด ซึ่งเป็นรถยนต์ขนาดเล็ก ประหยัดพลังงาน ออกแบบมาสำหรับวิ่งระยะทางซึ่งไม่ไกลมากนัก และสามารถใช้ได้ทุกสภาพอากาศ มีความเร็วที่เราสามารถกำหนดได้ตามความเหมาะสม ซึ่งเราได้กำหนดสูงสุดเพื่อความปลอดภัยสำหรับ Micro EV คือ 40 กม./ชม.
อย่างไรก็ตาม Micro EV ถูกออกแบบมาเพื่อให้บริการ อำนวยความสะดวกเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การเดินทางไปยังสำนักงาน โรงพยาบาล ซูเปอร์มาร์เก็ต ศูนย์สุขภาพ หรือ นำไปใช้ภายในสมาร์ทซิตี้ เมืองแห่งเทคโนโลยีในอนาคตที่กำลังจะเกิดขึ้นในไม่ช้า ฯลฯ หลักการทำงานของรถแบ่งออกเป็น 4 องค์ประกอบหลัก การจดจำตำแหน่งยานพาหนะ การควบคุมยานพาหนะ การตระหนักจากสถานการณ์ที่ตรวจพบจากภายนอก และแผนปฏิบัติการ โดยการจดจำตำแหน่งของยานพาหนะโดยใช้ระบบ GNSS ซึ่งปัจจุบันถือว่าเป็นการระบุตำแหน่งที่มีความถูกต้อง แม่นยำสูงมาก
นอกจากนี้ ในตัวรถยนต์ถูกติดตั้งตัวรับเสาอากาศคู่ Attena-POS-LVX multi-GNSS รวมกับ IMU เสาอากาศหลักให้การวางตำแหน่งในขณะที่เสาอากาศรองให้เวกเตอร์ ระบบเสาอากาศคู่ช่วยในส่วนหัวที่แม่นยำ และถ้าสัญญาณ GNSS ไม่สามารถค้นพบภายใน 1 กม. IMU จะช่วยในการกำหนดทิศทางที่ถูกต้อง หน่วยควบคุมไฟฟ้า (ECU) คือ การควบคุมยานพาหนะซึ่งใช้ควบคุมทั้งการเบรก การบังคับเลี้ยวและการเร่งความเร็ว การตระหนักที่ตรวจพบจากสถานการณ์ภายนอก โดยใช้ Milliwave Rangefinder และ Side Milliwave Radar เป็นการทำงานร่วมกัน ทำให้เกิดมุมมองภายนอกเป็น 3 มิติ แผนปฏิบัติการคือใช้การกำหนดระยะ ตำแหน่งของยานพาหนะ และตระหนักจากสถานการณ์ที่ตรวจพบวัตถุจากภายนอก เพื่อใช้ในการตัดสินสถานการณ์แบบเรียลไทม์ โดยใช้การสรุปที่ลงลึกเพื่อช่วยหากมีเหตุการณ์ ต้องเปลี่ยนเลนกะทันหันนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ครั้งแรก
อย่างไรก็ตาม ยานพาหนะอัตโนมัติยังได้นำระบบกล้องเข้ามาเพื่อช่วยตรวจสอบการขับขี่รถยนต์ เพิ่มความระมัดระวัง มีความปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งการตรวจสอบจะทำโดยติดตั้งกล้องสองตัว หนึ่งตัวซึ่งให้ภาพแบบเรียลไทม์จากภายนอก และอีกตัวหนึ่งติดตั้งภายในของยานพาหนะเพื่อสามารถแสดงภาพเหตุการณ์ภายนอกที่เกิดขึ้นจริงของยานพาหนะเช่นเดียวกับภาพเหตุการณ์จริงภายในห้องผู้โดยสาร ทำให้ระบบ Autonomous เพิ่มความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
นายนากาโอะ กล่าวว่า ขณะนี้ทางบริษัทได้ร่วมกับทางจิสด้า ที่จะพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวในไทย ซึ่งในเดือนต.ค.2562 นี้จะมาเปิดสำนักงานที่นี่ เพื่อทำวิจัยในประเทศไทย เพื่อนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ให้มีความเหมาะสมมากขึ้น
"รถ Micro EV เหมาะสมหรับการใช้ในนิคมอุตสาหกรรม และระบบนี้เหมาะสมกับการใช้ในเมืองที่เป็นสมาร์ทซิตี้ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐที่ส่งเสริมเมืองสมาร์ทซิตี้ ซึ่งทางบริษัทมีความพร้อมที่จะนำเทคโนโลยี Micro EV ไปเสนอให้กับทุกโครงการที่จะส่งเสริมสมาร์ทซิตี้"
อย่างไรก็ตาม ซึ่งบริษัทมีความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนและพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวในประเทศไทย ดังนั้น จึงเตรียมที่จะนำโครงการดังกล่าวไปเสนอเพื่อขอส่งเสริมการลงทุนจาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ และพร้อมที่จะหาผู้ร่วมทุนไทย เพื่อร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยี รวมถึงถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับสถาบันการศึกษา
"ประโยชน์สูงสุดของรถยนต์ไร้คนขับคือลดอุบัติเหตุบนท้องถนน และยังสามารถแบ่งเบาภาระในชีวิตประจำวันของมนุษย์ได้อีกทางหนึ่ง โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ซึ่งมักมีอุปสรรคในการขับรถเนื่องจากข้อจำกัดทางร่างกาย และทำให้รถยนต์ขับเคลื่อนได้ตามกฎจราจร การสัญจรสะดวก และที่สำคัญรถทุกคันสามารถขับเคลื่อนได้อย่างเป็นระเบียบด้วยระบบไร้คนขับ และมีความแม่นยำสูง" นายนากาโอะ กล่าว
ด้าน นายชิเกมิ ฮิดากะ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนา บริษัท ยันม่าร์ อะกริบิซิเนส จำกัด ประเทศญี่ปุ่น กล่าวว่า ยันม่าร์ได้นำโรบอตแทรกเตอร์ซึ่งไม่มีคนนั่งบนรถ แต่ใช้วิธีควบคุมผ่านแอปพลิเคชันบนแท็บเล็ต ด้านหลังเป็นแทรกเตอร์ที่มีคนนั่งบังคับพร้อมกับใช้แท็บเล็ตควบคุมการทำงานของโรบอตแทรกเตอร์โดยสามารถสั่งให้ทำงานได้หลายขั้นตอนในเวลาเดียวกัน เช่น ไถหรือพรวนดินให้ละเอียด ปลูก หยอดเมล็ด ใส่ปุ๋ย ในวันนั้นเป็นการสาธิตการพรวนดินให้เป็นร่องและหยอดเมล็ดข้าวโพด โดยแทรกเตอร์คันหลังซึ่งมีอุปกรณ์ต่อพ่วงสำหรับบรรจุเมล็ดข้าวโพด จะทำหน้าที่หยอด จากการสาธิตทำให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ทันทีที่โรบอตแทรกเตอร์เข้าสู่เส้นทางที่กำหนด อุปกรณ์ต่อพ่วงจะเลื่อนลงอัตโนมัติ และทำการไถพรวนให้ดินร่วน ด้วยการสั่งการที่ไม่ยากนี้ ทำให้ทั้งผู้ใช้ที่ชำนาญแล้ว และผู้ใช้มือใหม่ก็สามารถควบคุมแทรกเตอร์ได้อย่างง่ายดาย
ทั้งนี้ หลักของโรบอตแทรกเตอร์มีการทำงานให้เลือก 2 โหมด ได้แก่ “โหมดอัตโนมัติ” นอกจากวิ่งเดินหน้าแล้ว ยังสามารถถอยหลัง หยุด และเลี้ยวได้แบบอัตโนมัติได้ และ “โหมดเดินหน้า” แทรกเตอร์สามารถวิ่งไปมาได้ด้วยตัวเอง รวมทั้งบังคับด้วยคน เช่น เมื่อขณะที่ต้องเลี้ยว ให้สลับสับเปลี่ยนการทำงานระหว่าง 2 โหมดตามแต่ลักษณะงาน ส่วนแท็บเล็ตที่ใช้ควบคุมก็ถูกออกแบบให้มีความทนทาน กันฝุ่น กันน้ำ เพื่อให้มั่นใจในสภาพการทำงานที่สมบุกสมบัน ใช้งานง่ายด้วยการแสดงข้อมูลบนหน้าจอเป็นสัญลักษณ์และคำอธิบาย เช่น การตั้งขอบเขตพื้นที่ทำงาน การกำหนดเส้นทาง และการติดตามดูแทรกเตอร์ในระหว่างทำงาน
“ยันม่าร์มุ่งมั่นปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำการเกษตรในปัจจุบันโดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรอุตสาหกรรมเข้ามาใช้ทดแทนแรงงานคน ทั้งการนำรถไถ รถปลูกข้าว รถเกี่ยว-นวดข้าว รวมถึงอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวกับการเกษตรมาปรับให้เป็นโรบอต เป็นการสะท้อนถึงวิสัยทัศน์ของการเป็นบริษัทเครื่องจักรกลการเกษตรที่มุ่งสู่เกษตรกรรมที่ยั่งยืน A Sustainable Future อย่างแท้จริง”.
++++++++++++
28n06 อีโคหน้า 6 ออกวันเสาร์ที่ 28 กันยายน 2562
นวัตกรรมพลิกโฉมโลก
ปัจจุบันระบบดิจิทัลได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ และภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในด้านของการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หรือดิสรัปชันทางนวัตกรรมและเทคโนโลยี ที่พัฒนาแบบก้าวกระโดด ซึ่งส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมต้องปรับตัวเพื่อรองรับให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง ล่าสุด ภายใต้ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย โดย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA-จิสดา) กับรัฐบาลญี่ปุ่น JICA (Japan International Cooperation Agency) ในการร่วมกันพัฒนาเครือข่ายเสากระจายสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งใช้เทคโนโลยีดาวเทียมนำทางขึ้นในประเทศไทย
และเมื่อเร็วๆ นี้ ที่ผ่านมาได้ร่วมกันจัดดงาน DEMO DAY Showcase for GNSS Innovation เพื่อแนะนำการใช้นวัตกรรมด้าน GNSS (Global Navigation Satellite System) ณ ศูนย์ Space Innovation Center อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ.2562 ซึ่งเป็นสถานที่พัฒนานวัตกรรมต้นแบบให้เหมาะกับระบบนิเวศ (Eco-System) ของไทยและภูมิภาค ด้วยการปรับใช้ข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐานจากระบบระบุพิกัดตำแหน่งบนพื้นโลกความแม่นยำสูง ช่วยพัฒนาโปรแกรม แอปพลิเคชันให้สามารถทำงานได้อย่างแม่นยำ ซึ่งมีบริษัทญี่ปุ่นหลายรายที่นำนวัตกรรม และเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้าร่วมแสดงในงาน
ประเดิมเริ่มจาก นายอากิระ นากาโอะ (Akira Nagao) ประธานบริษัท เอเชีย เทคโนโลยี อินดัสทรีส์ จำกัด (ATI) เปิดเผยว่า บริษัทเป็นหนึ่งในหลายบริษัทของญี่ปุ่นที่ได้มีโอกาสนำเสนอการทดสอบการขับเคลื่อนอัตโนมัติ (autonomous driving) โดยใช้ระบบนำทางด้วยดาวเทียม GNSS โดยทาง ATI ได้ร่วมทำการวิจัยระบบกับทาง Smart Mobility ดำเนินงานโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นักสิทธิ์ นุ่มวงศ์ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมยานยนต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำการทดสอบ
ทั้งนี้ การดำเนินงานนั้นได้ใช้รถ COMS (Micro EV) ซึ่งเป็นผลงานของทาง Smart Mobility ใช้เป็นรถทดสอบ โดยได้รับความร่วมมือสนับสนุนจากหลายบริษัท คืออุปกรณ์รับสัญญาณดาวเทียมที่มีความแม่นยำสูง มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั่วโลก จากทาง Nikon-Trimble Co.,Ltd และใช้กล้องติดรถยนต์ของ Tokai Clarion Ltd. จากญี่ปุ่น ติดตั้งในรถทดสอบ
"เรานำระบบ GNSS เข้ามาพัฒนาต่อยอดร่วมกับระบบ Autonomous Driving ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงมองเห็นถึงประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยพัฒนาประเทศในหลายด้าน ทั้งทางการศึกษา สังคม คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อม" นายนากาโอะกล่าว
นายนากาโอะ กล่าวว่า รถ Micro EV เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของรถยนต์ autonomous ราคาประหยัด ซึ่งเป็นรถยนต์ขนาดเล็ก ประหยัดพลังงาน ออกแบบมาสำหรับวิ่งระยะทางซึ่งไม่ไกลมากนัก และสามารถใช้ได้ทุกสภาพอากาศ มีความเร็วที่เราสามารถกำหนดได้ตามความเหมาะสม ซึ่งเราได้กำหนดสูงสุดเพื่อความปลอดภัยสำหรับ Micro EV คือ 40 กม./ชม.
อย่างไรก็ตาม Micro EV ถูกออกแบบมาเพื่อให้บริการ อำนวยความสะดวกเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การเดินทางไปยังสำนักงาน โรงพยาบาล ซูเปอร์มาร์เก็ต ศูนย์สุขภาพ หรือ นำไปใช้ภายในสมาร์ทซิตี้ เมืองแห่งเทคโนโลยีในอนาคตที่กำลังจะเกิดขึ้นในไม่ช้า ฯลฯ หลักการทำงานของรถแบ่งออกเป็น 4 องค์ประกอบหลัก การจดจำตำแหน่งยานพาหนะ การควบคุมยานพาหนะ การตระหนักจากสถานการณ์ที่ตรวจพบจากภายนอก และแผนปฏิบัติการ โดยการจดจำตำแหน่งของยานพาหนะโดยใช้ระบบ GNSS ซึ่งปัจจุบันถือว่าเป็นการระบุตำแหน่งที่มีความถูกต้อง แม่นยำสูงมาก
นอกจากนี้ ในตัวรถยนต์ถูกติดตั้งตัวรับเสาอากาศคู่ Attena-POS-LVX multi-GNSS รวมกับ IMU เสาอากาศหลักให้การวางตำแหน่งในขณะที่เสาอากาศรองให้เวกเตอร์ ระบบเสาอากาศคู่ช่วยในส่วนหัวที่แม่นยำ และถ้าสัญญาณ GNSS ไม่สามารถค้นพบภายใน 1 กม. IMU จะช่วยในการกำหนดทิศทางที่ถูกต้อง หน่วยควบคุมไฟฟ้า (ECU) คือ การควบคุมยานพาหนะซึ่งใช้ควบคุมทั้งการเบรก การบังคับเลี้ยวและการเร่งความเร็ว การตระหนักที่ตรวจพบจากสถานการณ์ภายนอก โดยใช้ Milliwave Rangefinder และ Side Milliwave Radar เป็นการทำงานร่วมกัน ทำให้เกิดมุมมองภายนอกเป็น 3 มิติ แผนปฏิบัติการคือใช้การกำหนดระยะ ตำแหน่งของยานพาหนะ และตระหนักจากสถานการณ์ที่ตรวจพบวัตถุจากภายนอก เพื่อใช้ในการตัดสินสถานการณ์แบบเรียลไทม์ โดยใช้การสรุปที่ลงลึกเพื่อช่วยหากมีเหตุการณ์ ต้องเปลี่ยนเลนกะทันหันนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ครั้งแรก
อย่างไรก็ตาม ยานพาหนะอัตโนมัติยังได้นำระบบกล้องเข้ามาเพื่อช่วยตรวจสอบการขับขี่รถยนต์ เพิ่มความระมัดระวัง มีความปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งการตรวจสอบจะทำโดยติดตั้งกล้องสองตัว หนึ่งตัวซึ่งให้ภาพแบบเรียลไทม์จากภายนอก และอีกตัวหนึ่งติดตั้งภายในของยานพาหนะเพื่อสามารถแสดงภาพเหตุการณ์ภายนอกที่เกิดขึ้นจริงของยานพาหนะเช่นเดียวกับภาพเหตุการณ์จริงภายในห้องผู้โดยสาร ทำให้ระบบ Autonomous เพิ่มความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
นายนากาโอะ กล่าวว่า ขณะนี้ทางบริษัทได้ร่วมกับทางจิสด้า ที่จะพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวในไทย ซึ่งในเดือนต.ค.2562 นี้จะมาเปิดสำนักงานที่นี่ เพื่อทำวิจัยในประเทศไทย เพื่อนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ให้มีความเหมาะสมมากขึ้น
"รถ Micro EV เหมาะสมหรับการใช้ในนิคมอุตสาหกรรม และระบบนี้เหมาะสมกับการใช้ในเมืองที่เป็นสมาร์ทซิตี้ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐที่ส่งเสริมเมืองสมาร์ทซิตี้ ซึ่งทางบริษัทมีความพร้อมที่จะนำเทคโนโลยี Micro EV ไปเสนอให้กับทุกโครงการที่จะส่งเสริมสมาร์ทซิตี้"
อย่างไรก็ตาม ซึ่งบริษัทมีความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนและพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวในประเทศไทย ดังนั้น จึงเตรียมที่จะนำโครงการดังกล่าวไปเสนอเพื่อขอส่งเสริมการลงทุนจาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ และพร้อมที่จะหาผู้ร่วมทุนไทย เพื่อร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยี รวมถึงถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับสถาบันการศึกษา
"ประโยชน์สูงสุดของรถยนต์ไร้คนขับคือลดอุบัติเหตุบนท้องถนน และยังสามารถแบ่งเบาภาระในชีวิตประจำวันของมนุษย์ได้อีกทางหนึ่ง โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ซึ่งมักมีอุปสรรคในการขับรถเนื่องจากข้อจำกัดทางร่างกาย และทำให้รถยนต์ขับเคลื่อนได้ตามกฎจราจร การสัญจรสะดวก และที่สำคัญรถทุกคันสามารถขับเคลื่อนได้อย่างเป็นระเบียบด้วยระบบไร้คนขับ และมีความแม่นยำสูง" นายนากาโอะ กล่าว
ด้าน นายชิเกมิ ฮิดากะ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนา บริษัท ยันม่าร์ อะกริบิซิเนส จำกัด ประเทศญี่ปุ่น กล่าวว่า ยันม่าร์ได้นำโรบอตแทรกเตอร์ซึ่งไม่มีคนนั่งบนรถ แต่ใช้วิธีควบคุมผ่านแอปพลิเคชันบนแท็บเล็ต ด้านหลังเป็นแทรกเตอร์ที่มีคนนั่งบังคับพร้อมกับใช้แท็บเล็ตควบคุมการทำงานของโรบอตแทรกเตอร์โดยสามารถสั่งให้ทำงานได้หลายขั้นตอนในเวลาเดียวกัน เช่น ไถหรือพรวนดินให้ละเอียด ปลูก หยอดเมล็ด ใส่ปุ๋ย ในวันนั้นเป็นการสาธิตการพรวนดินให้เป็นร่องและหยอดเมล็ดข้าวโพด โดยแทรกเตอร์คันหลังซึ่งมีอุปกรณ์ต่อพ่วงสำหรับบรรจุเมล็ดข้าวโพด จะทำหน้าที่หยอด จากการสาธิตทำให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ทันทีที่โรบอตแทรกเตอร์เข้าสู่เส้นทางที่กำหนด อุปกรณ์ต่อพ่วงจะเลื่อนลงอัตโนมัติ และทำการไถพรวนให้ดินร่วน ด้วยการสั่งการที่ไม่ยากนี้ ทำให้ทั้งผู้ใช้ที่ชำนาญแล้ว และผู้ใช้มือใหม่ก็สามารถควบคุมแทรกเตอร์ได้อย่างง่ายดาย
ทั้งนี้ หลักของโรบอตแทรกเตอร์มีการทำงานให้เลือก 2 โหมด ได้แก่ “โหมดอัตโนมัติ” นอกจากวิ่งเดินหน้าแล้ว ยังสามารถถอยหลัง หยุด และเลี้ยวได้แบบอัตโนมัติได้ และ “โหมดเดินหน้า” แทรกเตอร์สามารถวิ่งไปมาได้ด้วยตัวเอง รวมทั้งบังคับด้วยคน เช่น เมื่อขณะที่ต้องเลี้ยว ให้สลับสับเปลี่ยนการทำงานระหว่าง 2 โหมดตามแต่ลักษณะงาน ส่วนแท็บเล็ตที่ใช้ควบคุมก็ถูกออกแบบให้มีความทนทาน กันฝุ่น กันน้ำ เพื่อให้มั่นใจในสภาพการทำงานที่สมบุกสมบัน ใช้งานง่ายด้วยการแสดงข้อมูลบนหน้าจอเป็นสัญลักษณ์และคำอธิบาย เช่น การตั้งขอบเขตพื้นที่ทำงาน การกำหนดเส้นทาง และการติดตามดูแทรกเตอร์ในระหว่างทำงาน
“ยันม่าร์มุ่งมั่นปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำการเกษตรในปัจจุบันโดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรอุตสาหกรรมเข้ามาใช้ทดแทนแรงงานคน ทั้งการนำรถไถ รถปลูกข้าว รถเกี่ยว-นวดข้าว รวมถึงอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวกับการเกษตรมาปรับให้เป็นโรบอต เป็นการสะท้อนถึงวิสัยทัศน์ของการเป็นบริษัทเครื่องจักรกลการเกษตรที่มุ่งสู่เกษตรกรรมที่ยั่งยืน A Sustainable Future อย่างแท้จริง”.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |