เตือนพ่ายโหวตงบ‘บิ๊กตู่’เกม


เพิ่มเพื่อน    

  “วิษณุ” จี้ 7 พรรคฝ่ายค้านบอกให้ชัดจะแก้รัฐธรรมนูญเรื่องใด ไม่ใช่ปล่อยคลุมเครือแล้วไปแตะเรื่องละเอียดอ่อน “วันนอร์” ยืดอกไม่ขอใช้เอกสิทธิ์คุ้มครองที่ถูกฟ้องมาตรา 116 อนุสรณ์ร่าย 7 เหตุผลชำเรา รธน. “เนติบริกร” แจงยิบกฎหมายงบประมาณสำคัญ หากพ่ายโหวตมีแค่ 2 ทางเลือก ลาออกและยุบสภา กำชับคนนั่ง กมธ.งบฯ ไม่ใช่แค่โก้เก๋ต้องทำงานจริงใน 60 วัน “สนธิรัตน์” โยนเผือกวิปรัฐบาลแก้ปัญหาเสียงปริ่มน้ำ

เมื่อวันอังคาร นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณี 7 พรรคฝ่ายค้านเดินสายรณรงค์เรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ไม่ทราบ ต้องไปถามที่คนเขาจะแก้รัฐธรรมนูญ เพราะไม่ได้เป็นฝ่ายที่บอกว่าจะให้แก้ว่ามีเหตุผลอะไร มีเรื่องอะไร การที่เปิดประเด็นว่าจะแก้รัฐธรรมนูญยังคลุมเครือ ทางที่ดีควรทำให้ชัด เพื่อให้ประชาชนรู้ว่าจะแก้ในเรื่องอะไร ซึ่งวันนี้ก็เห็นว่าเริ่มออกมาประเด็นสองประเด็นแล้ว
    “มาคลุมๆ เครือๆ จะแก้ไม่รู้จะแก้อะไร เลยหลุดออกมาว่าจะไปแก้มาตราที่เซนซิทีฟ ก็เลยเป็นเรื่อง ส่วนข้อเสนอที่ออกมาบ้างแล้วนั้นผมขอไม่ตอบ เพราะเป็นเรื่องของเขา เขาเป็นคนพูด รวมถึงข้อเสนอที่ให้ยุบ ส.ว. ผมก็ขอไม่ตอบด้วย” นายวิษณุกล่าว
    นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พลังงาน ในฐานะเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวว่า จุดยืนของพรรคเมื่อใช้รัฐธรรมนูญไประยะหนึ่งแล้วจะตั้งคณะขึ้นมาศึกษาข้อดี-ข้อเสีย ซึ่งเรื่องดังกล่าวต้องตั้งต้นที่สภา ซึ่งหลายพรรคต่างมีจุดยืนของตัวเอง ต้องหารือและรับฟัง โดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นหนึ่งในนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ซึ่งระบุว่าจะมีการตั้งคณะศึกษาเร่งด่วนใน 1 ปีก็ยังดำเนินการตามนั้น
ส่วน ?พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวถึงกรณีมีการยื่นคำร้องยุบ 7 พรรคฝ่ายค้านกรณีขึ้นเวลาเสวนาแก้รัฐธรรมนูญที่เสนอแก้ไขมาตรา 1 ว่าต้องดูก่อนว่าคำร้องร้องว่าอย่างไร เพราะยังไม่เห็นคำร้อง และในฐานะนายทะเบียน หากเป็นเรื่องของการร้องยุบพรรคถือว่าเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เราต้องแยกการพิจารณาว่าสิ่งใดเป็นการกระทำของพรรค หรือการกระทำของตัวบุคคล มีการประชุมพรรคก่อนดำเนินการกระทำดังกล่าวหรือไม่ ซึ่งการกระทำของตัวบุคคลไม่ใช่จะเอามาเกี่ยว เป็นการกระทำของพรรคโดยอัตโนมัติ ยังมีรายละเอียดอีกมาก และจากที่ดูข้อบังคับ และอุดมการณ์ของพรรคที่ยื่นจัดตั้งพรรคการเมืองต่อ กกต.ก็ไม่มีพรรคการเมืองไหนที่มีนโยบายแบ่งแยกประเทศไทย
    ด้านนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชาติ (ปช.) กล่าวว่า สิ่งที่ 7 พรรคฝ่ายค้านถูกกล่าวหาที่ สภ.เมืองปัตตานีก็ต้องรอตำรวจเรียกตัวไปชี้แจง ส่วนตนเองในฐานะที่เป็น ส.ส. ไม่ว่าจะเป็นในสมัยประชุมหรือนอกสมัยประชุม จะไม่ใช้เอกสิทธิ์ ส.ส.คุ้มครองแน่นอน จะใช้ฐานะประชาชนคนหนึ่ง จะประกันตัวก็ต้องทำ เพราะถือว่าเรื่องนี้ต้องเป็นตัวอย่างกับประชาชน ว่าเรื่องนี้ประชาชนไม่ควรถูกกล่าวหาง่ายๆ โดยการใช้มาตรา 116 จะไม่ใช้เอกสิทธิ์ในการต่อสู้เรื่องนี้ เพื่อความเสมอภาค
    “ที่เราฟ้องร้องเอาผิดกับแม่ทัพภาค 4 และ พล.ต.บุรินทร์นั้นก็ต้องดำเนินการต่อไป ไม่ว่าเรื่องจะไปถึงไหน ทั้ง ป.ป.ช.หรือศาล เราต้องดำเนินการให้ถึงที่สุด ไม่ใช่เพราะเราไม่พอใจ 2 ท่านนี้ แต่เราต้องการให้เป็นคดีตัวอย่าง ว่าคนมีอำนาจไม่ควรใช้อำนาจของตัวเองง่ายๆ ต้องพิจารณาด้วยความรอบคอบว่าประชาชนควรมีสิทธิ เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญอย่างไร” นายวันมูหะมัดนอร์กล่าวและว่า การเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญของ 7 พรรคร่วมฝ่ายค้านได้ลงสัตยาบันไปแล้ว ไม่อยากพูดซ้ำว่าเราจะไม่แตะต้องหมวดที่ 1 ที่เกี่ยวกับราชอาณาจักร และหมวดที่ 2 ที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ ซึ่ง 2 หมวดนี้เป็นสัตยาบันไปแล้ว ไม่ว่าเราจะพูดที่ไหนเราก็ยืนยันกับทุกคนว่า 2 หมวดนี้ดีอยู่แล้ว เราจะไม่แตะต้อง เราจะแก้ไขหมวดที่ว่าด้วยรัฐสภา ครม. องค์กรอิสระ สิทธิ เสรีภาพของประชาชน รวมถึงเรื่องวิธีการเลือกตั้ง และบทบาทของ ส.ส.และ ส.ว. แต่รายละเอียดนั้นเรายังไม่ก้าวไปถึง
ร่าย 7 เหตุผลรื้อรัฐธรรมนูญ
    นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด โฆษกพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่าขอยืนยันทำความเข้าใจในเจตนารมณ์การแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมฝ่ายค้าน 7 พรรค คือ 1.การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นสิ่งที่ดำเนินการได้ แม้แต่รัฐบาลก็ได้บรรจุในนโยบายเร่งด่วนข้อ 12 ของนโยบายรัฐบาล 2.จะแก้ไขรัฐธรรมนูญตามวิถีทางที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ไม่แก้โดยวิธีการอื่นที่กฎหมายไม่รองรับ ไม่แก้ด้วยวิธีการที่ผิดกฎหมาย 3.ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมฝ่ายค้านไม่แตะหมวด 1 และหมวด 2 ผู้ไม่ประสงค์ดี หรือมีเจตนาบิดเบือน ควรยุติการกระทำที่ทำให้เกิดความขัดแย้งได้แล้ว
    4.แนวทางที่พรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมฝ่ายค้านเสนอกับสังคม คือการมีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ที่มาจากประชาชน จะเป็นผู้มากำหนดเนื้อหาในการแก้เพื่อให้เป็นรัฐธรรมนูญของประชาชนอย่างแท้จริง 5.ชนชั้นใดร่างรัฐธรรมนูญก็เพื่อชนชั้นนั้น การให้ประชาชนมาเป็นกำลังหลักในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จึงจะได้รัฐธรรมนูญของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง 6.จะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้เป็นทางออกของประเทศ กระบวนการรับฟัง สะท้อนปัญหา สร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องดำเนินการ และ 7.พรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมฝ่ายค้านไม่เคยเสนอให้ทั้งประเทศ หยุดทุกอย่าง แล้วมาแก้ไขรัฐธรรมนูญเพียงอย่างเดียว ทุกๆ ปัญหาสามารถแก้ไขควบคู่ไปได้กับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
วันเดียวกัน นายวิษณุกล่าวถึงกรณีที่ชี้แจงในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 7 ต.ค. ว่ารัฐมนตรีที่เป็น ส.ส.สามารถลงมติร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ได้ ว่ามีการสงสัยกันในเรื่องดังกล่าว เพราะรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับเขียนไว้ไม่เหมือนกัน แต่ได้ทำความเข้าใจแล้วว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันสามารถลงมติได้ แต่โดยมารยาทแล้วในการลงมติไม่ไว้วางใจตัวเอง ไม่ควรลงมติ ส่วนในเรื่องการเสนอกฎหมาย จะเป็นเรื่องงบประมาณหรือกฎหมายอะไรก็แล้วแต่ ไม่ใช่เรื่องมีส่วนได้เสียส่วนตัว เป็นส่วนได้เสียส่วนรวม ดังนั้นรัฐธรรมนูญไม่ได้ห้าม และโดยสรุปมีรัฐมนตรีที่เป็น ส.ส.มีความสงสัยอยู่ 19 คน สามารถลงมติในเรื่องงบประมาณเช่นเดียวกับลงมติในเรื่องอื่นๆ ได้
    เมื่อถามว่า นายกฯ ได้กำชับรัฐมนตรีอย่างไรบ้าง นายวิษณุกล่าวว่า นายกฯ บอกให้รัฐมนตรีที่เป็น ส.ส.เข้าประชุมอย่างพร้อมเพรียงกัน ด้วยเหตุว่าในฐานะที่เป็นรัฐมนตรี จะเป็น ส.ส.หรือไม่เป็น ส.ส.ก็ต้องเข้าประชุม เพราะเป็นเรื่องงบประมาณ หากมีการสอบถามเรื่องของกระทรวงใดก็สามารถช่วยอธิบายได้ โดยเฉพาะในวาระที่หนึ่ง ขณะเดียวกันนายกฯ ยังกำชับว่าจะต้องมีการตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเอาไว้พิจารณาในชั้นแปรญัตติ จึงขอให้ผู้แทนรัฐบาลที่มีอยู่ 15 คนที่จะไปเป็น กมธ. ควรเป็นคนที่มีเวลาว่างเป็นหลัก ไม่ใช่ไปเป็นโก้ๆ 
กมธ.ต้องทำงาน 60 วัน
“หลายคนคิดว่าการไปเป็น กมธ.งบประมาณฯ เป็นเกียรติยศ แต่ความจริงต้องนั่งประชุมตลอดเวลาถึง 60 วัน เพราะต้องพิจารณากฎหมายยาวนานที่สุด และแม้ไม่ได้ทำหน้าที่ประธานหรือรองประธาน ก็ถือเป็น กมธ. ซึ่งที่ประชุมต้องดูไปทีละมาตรา ส่วนรายชื่อรัฐมนตรีที่จะมาเป็น กมธ.ในส่วนรัฐบาล ยังได้รายชื่อไม่ครบ แต่ได้ 3 รายชื่อที่จะเป็นตัวแทนหลัก ได้แก่ รมว.การคลัง รมช.การคลัง และปลัดกระทรวงการคลัง ในส่วนที่เหลือจะให้แต่ละพรรคการเมืองไปหาและนำมาเสนอโดยไม่ต้องนำรายชื่อเข้า ครม.อีก แต่ให้แจ้งไปที่ รมว.การคลังและสำนักงบประมาณ เพื่อประสานกับวิปรัฐบาล โดยรายชื่อไม่จำเป็นต้องเป็นรัฐมนตรี เพราะมีจุดอ่อนที่อาจไม่มีเวลาไปนั่งเป็น กมธ.” นายวิษณุกล่าว
    เมื่อถามว่า การอภิปรายร่าง พ.ร.บ.งบประมาณสภาได้แจ้งมาหรือไม่ว่าจะใช้เวลากี่วัน นายวิษณุกล่าวว่า เรื่องนี้รัฐบาลเป็นฝ่ายเปิดประชุมสมัยวิสามัญในวันที่ 17 ต.ค. และปิดประชุมวิสามัญในวันใดวันหนึ่ง ซึ่งคาดว่าจะมีเวลารวมกันทั้งหมดประมาณ 3-4 วัน ซึ่งต้องไปแบ่งกันเอง ถ้า ส.ว.ไม่เอา ส.ส.ก็ได้ไปทั้งหมด แต่ถ้า ส.ว.เอาก็ต้องเหลือให้ ส.ว.สัก 1 วันหรือครึ่งวัน ขอให้วิปรัฐบาลไปตกลงกันเอง แต่ ส.ว.ขอเวลาไว้แล้ว เพราะเขามีเรื่องต้องทำเหมือนกันไม่มีปัญหาอะไร แต่อย่างน้อยเบื้องต้น 2 วันอยู่แล้ว ซึ่งตรงกับวันพฤหัสบดีและวันศุกร์ ถ้าเลยจากนั้นจะเป็นเสาร์และอาทิตย์
    ถามต่อว่า ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณถ้าหากไม่ผ่านสภาจะมีผลอย่างไรกับความรับผิดชอบทางการเมืองและทางกฎหมาย นายวิษณุตอบว่า มีอยู่แล้วว่าอะไรก็ตามที่สภาเสียงข้างมากไม่ไว้วางใจรัฐบาล รัฐบาลนั้นก็ไม่พึงอยู่ต่อไป ซึ่งการไม่ไว้วางใจนั้นแสดงออกได้ 2 อย่างคือ 1.ไม่ไว้วางใจโดยเปิดเผย ตรงนี้ทำโดยการลงมติไม่ไว้วางใจ 2.ไม่ไว้วางใจโดยปริยาย จะแสดงออกจากการที่รัฐบาลเสนอร่างกฎหมายสำคัญเข้าสภา แล้วสภาลงมติให้ไม่ผ่าน ซึ่งแปลว่าสภาไม่ยอมให้เครื่องมือรัฐบาลไปทำงาน รัฐบาลก็ไม่ควรต้องอยู่ แต่วิธีที่จะไม่อยู่นั้น สามารถทำได้ 2 อย่าง คือ 1.ทำโดยรัฐบาลลาออก หรือ 2.ทำโดยออกด้วยกันทั้งคู่ เพราะการที่สภาไม่เห็นชอบนั้นไม่รู้ว่าประชาชนเขาคิดอย่างไรจึงยุบสภาแล้วไปเลือกตั้งเพื่อให้ประชาชนตัดสินใจ ดังนั้นทางออกสามารถทำได้ 2 อย่าง ซึ่งเป็นเรื่องทั่วไป ไม่ใช่เรื่องแปลก และเราปฏิบัติอย่างนี้ตลอดมา โดยในอดีตเคยมีรัฐบาลที่ลาออก เพราะสภาลงมติไม่ผ่านกฎหมาย แต่ก็มีรัฐบาลที่ไม่ลาออกแม้สภาลงมติไม่ผ่านกฎหมายเช่นกัน เพราะถือว่าไม่ใช่กฎหมายสำคัญ แต่สำหรับกฎหมายงบประมาณนั้นเป็นกฎหมายสำคัญ
    นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ในฐานะเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย (ภท.) กล่าวในเรื่องนี้ว่า เชื่อว่าทุกอย่างจะเรียบร้อย แม้จะมีความเป็นห่วงกันถึงเสียงของรัฐบาลที่มีเสียงปริ่มน้ำ แต่นายวิษณุได้อธิบายถึงข้อกฎหมายแล้วว่ารัฐมนตรีที่เป็น ส.ส.ลงมติได้ ดังนั้นคิดว่าเสียงของรัฐบาลมีเพียงพอ 
    มีรายงานว่า เมื่อช่วงเที่ยงนายพิเชษฐ สถิรชวาล ส.ส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคประชาธรรมไทย ได้ปรากฏตัวที่ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล พร้อมนายสัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ อดีตหัวหน้าพรรคพลเมืองไทย ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจาก พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารองนายกฯ ซึ่งนายพิเชษฐระบุว่า มาพบทีมงานของ พล.อ.ประวิตรเท่านั้น ไม่มีอะไร
    รายงานแจ้งว่า การมาปรากฏตัวของนายพิเชษฐครั้งนี้ อาจเกี่ยวข้องกับการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ ที่มีกระแสข่าวดึงเสียง ส.ส.ฝ่ายค้านให้สนับสนุน เพื่อแก้ไขเรื่องเสียงปริ่มน้ำ
      ส่วนที่พรรค พปชร.ได้มีการเรียกประชุม ส.ส.พรรคเพื่อเตรียมความพร้อมในการอภิปราย พ.ร.บ.งบประมาณ ซึ่งเบื้องต้นได้วางผู้อภิปรายไว้ประมาณ 20 คน โดยนายสนธิรัตน์กล่าวภายหลังการประชุม ส.ส. ว่าพรรคได้หารือถึงแนวทางการอภิปรายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 โดยได้นัดหมาย ส.ส.ให้มาหารือทำความเข้าใจกันอีกครั้งในสัปดาห์หน้า รวมถึงตัวบุคคลที่จะอภิปรายในสภาก็จะหารืออีกครั้งในสัปดาห์หน้าเช่นกัน ส่วนสถานการณ์เสียงปริ่มน้ำเป็นเรื่องที่วิปรัฐบาลต้องทำหน้าที่ต่อไป ตอนนี้ทุกคนทราบกันอยู่แล้วว่าต้องบริหารความเสี่ยงกันอย่างไร แต่เราเชื่อมั่นว่าทุกอย่างจะดำเนินการให้เป็นไปอย่างราบรื่น
    น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ เลขาธิการพรรค พท. กล่าวว่า จากการศึกษาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเบื้องต้น พบว่าไม่ได้ตอบโจทย์ปัญหาด้านเศรษฐกิจที่กำลังเผชิญอยู่ รวมถึงงบลงทุน โดยส่วนราชการที่ได้รับอนุมัติการจัดสรรงบประมาณเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ กลับไม่ได้เป็นกระทรวงที่แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ เช่น สำนักนายกฯ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงกลาโหม เป็นต้น.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"