ร่างพ.ร.บ.การศึกษาชาติค้านเรียก"ครูใหญ่"อีก  อนิจจา! กลัว"กอปศ."สืบทอดอำนาจ  


เพิ่มเพื่อน    



15ต.ค.62-“สุภัทร” เผย รับฟังความเห็น ร่างพ.ร.บ.การศึกษาชาติฯ เปลี่ยนเรียก "ผอ.โรงเรียน" เป็น "ครูใหญ่"และ"ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู" เป็น"ใบรับรองความเป็นครู "ยังร้อนแรง  มีคนคัดเห็นค้านไม่เห็นด้วย พร้อมมีต้าน  ม. 40, 90, 91 กลัว กอปศ.สืบทอดอำนาจ เตรียมเปิดเวทีอีกครั้ง 22 ต.ค.นี้ ที่จ.อุดรฯ ก่อน สรุป เสนอ “รมว.ศธ.” พิจารณาต่อไป

นายสุภัทร จำปาทอง เลขาธิการสภาการศึกษา (เลขาฯ สกศ.) กล่าวว่า ตามที่เมื่อเร็วๆ นี้ สกศ. ได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ... ไปเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมานั้น ขณะนี้ สกศ.ได้สรุปความเห็นเบื้องต้น เพื่อที่จะเสนอให้นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) พิจารณาแล้ว ซึ่งพบว่า ในภาพรวม มีผู้ร่วมแสดงความคิดเห็น เห็นด้วย 12 มาตรา แต่ขอให้เพิ่มข้อความ และไม่เห็นด้วย 12 มาตรา โดยในจำนวนนี้มี 7 มาตรา เป็นเรื่องไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับประเด็นการเปลี่ยนการเรียกผู้อำนวยการเป็น ครูใหญ่ และเรื่องการเปลี่ยนการเรียกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู เป็นใบรับรองความเป็นครู และอำนาจที่ซ้ำซ้อนกันของเขตพื้นที่กับส่วนภูมิภาค ส่วนในประเด็นอื่นๆ จะเกี่ยวข้องกับ มาตรา 40 ที่ระบุว่า คุรุสภาจะเป็นผู้ดูแลครูและสวัสดิการครู จึงทำให้มีผู้กังวลและตั้งข้อสังเกตว่า มาตราดังกล่าวเป็นการยุบสำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ที่ทำหน้าที่ดูและสวัสดิการของครูอยู่ในปัจจุบันไปรวมกับสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาหรือไม่ คล้ายกับเดิมที่คุรุสภาก็เคยดูแลเรื่องสวัสดิการครูมาก่อน และมาแยกเป็น สกสค.อีกหน่วยงานหนึ่งเมื่อปี พ.ศ.2547 ในการปฏิรูปการศึกษาครั้งที่ผ่านมา ซึ่งผู้แสดงความเห็นไม่ต้องการให้คุรุสภาไปรวมกับ สกสค.

นายสุภัทร กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังมีการแสดงความเห็นในมาตรา 90 ว่า ไม่เห็นด้วยกับการตั้งสำนักงานนโยบายการศึกษาแห่งชาติ จะทำให้ซ้ำซ้อน  ซึ่งเรื่องนี้ตนมองว่าเป็นความเข้าใจผิด เพราะมาตราดังกล่าวไม่เป็นการซ้ำซ้อน เนื่องจากในบทเฉพาะกาลของร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ได้กำหนดให้ปรับฐานะของ สกศ.เป็น สำนักงานนโยบายการศึกษาแห่งชาติ อีกทั้งยังมีมาตรา 91  ที่มีผู้ไม่เห็นด้วยกับการสืบทอดอำนาจของคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา (กอปศ.) ที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งกรรมการนโยบาย ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด ความจริงแล้วมีการให้ กรรมการ กอปศ.เข้ามาเป็นเพียงบางคนเท่านั้น รวมถึงยังมีผู้แสดงความเห็นกรณีที่กำหนดให้ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ต้องเร่งจัดทำโครงสร้างให้เป็นเอกภาพ โดยเห็นว่า อาจะเป็นการรวบอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง
 ทั้งนี้ในส่วนของช่องทางการรับฟังความเห็นร่างพ.ร.บ.การศึกษาฯ ผ่านเว็บไซด์นั้น สกศ.ได้ดำเนินการมาแล้ว 2 ครั้ง คือ เดือน สิงหาคม และกันยายน ซึ่งทั้ง 2 ครั้งมีผู้แสดงความคิดเห็นรวม 2,900 ความเห็น ทั้งนี้ก่อนการเปิดรับฟังเวทีสาธารณะอีกครั้งในวันที่ 22 ตุลาคมนี้ ที่จังหวัดอุดรธานี สกศ.ก็คงจะเปิดรับฟังความเห็นผ่านทางเว็บไซด์อีกครั้งก่อนและหลังการเปิดเวที และทำสรุปเสนอ รมว.ศธ. และหาก รมว.ศธ. ยังไม่แน่ใจ ก็อาจสั่งการให้มีการทำวิจัยระยะสั้น เพื่อแสวงหาความรู้เพิ่มเติม ภายใน 90 วัน ก็ได้ และตนจะเสนอข้อสรุปการรับฟังความเห็นทั้ง 2 ครั้ง ต่อที่ประชุมสภาการศึกษาปลายเดือนพฤศจิกายน ตามที่มติสภาการศึกษาและจะเสนอต่อคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาต่อไป

“การรับฟังความเห็นครั้งแรก ก็ทำให้ สกศ.ได้รับแนวคิดใหม่ๆ สิ่งที่ สกศ.ในฐานะผู้รับผิดชอบจะต้องทำคือ การชี้แจงกลับไปยังผู้แสดงความคิดเห็นคัดค้าน โดยจัดเวทีสาธารณะชี้แจงกรณีดังกล่าวในครั้งต่อไป คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมประชุม 400 คน โดยผมคิดว่าจะสามารถสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 2 นี้ให้กับ รมว.ศธ. ได้ ภายใน 7 วัน หรือ ก่อนสิ้นเดือนตุลาคม หลังจากที่รับฟังความคิดเห็น“เลขาฯ สกศ.กล่าว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"