ไทยต้องเปลี่ยน ดึงเทคโนโลยีเพิ่มขีดแข่งขัน


เพิ่มเพื่อน    

 ที่ผ่านมาไทยยังปรับตัวไม่ทันกับการแข่งขันของโลก  ไทยเพิ่งเริ่มตื่นตัวและดำเนินการเรื่องต่างๆ เหล่านี้ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาเท่านั้น แต่ในภาพรวมอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าต่างๆ  ยังคงใช้แรงงาน ในขณะที่หลายประเทศปรับเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีเข้ามาแทนที่ จนทำให้เกิดปัญหาการย้ายฐานการผลิตไปในหลายประเทศที่มีความพร้อมมากกว่าไทย ตรงนี้คือโลกเปลี่ยนจนทำให้ไทยปรับตัวไม่ทัน

 

     ปี 2562 เป็นอีกปีที่ “เศรษฐกิจไทย” ต้องเผชิญปัจจัยเสี่ยง ทั้งในประเทศ จากเรื่องการเมืองและนอกประเทศ จากปัญหาสงครามการค้าโลก ที่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อตลาดการค้าโลก ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ในหลายๆ ประเทศ จนส่งผลให้เศรษฐกิจโลกในปีนี้ชะลอตัวลง และแน่นอนผลกระทบจากปัญหาภายนอกประเทศนี้เอง ก็ได้ส่งผลกระทบต่อ “ภาคการส่งออก” ซึ่งถือเป็นอีกกลไกขนาดใหญ่ที่สำคัญในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

    ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เหล่านี้ ส่งผลกระทบกดดันต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ในปีนี้อย่างต่อเนื่อง และแน่นอนว่าแนวโน้มการเติบโตของตัวเลขจีดีพีในปี 2562 จะขยายตัวได้ต่ำกว่าศักยภาพแน่นอน แม้ว่าหลายฝ่ายจะมองว่าพื้นฐานและเสถียรภาพของเศรษฐกิจไทยจะอยู่ในเกณฑ์ที่แข็งแกร่งก็ตาม

     ทั้งนี้ นายสมชาย ภคภาสวิวัฒน์ นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์และการเมือง มองภาพเศรษฐกิจไทยในช่วง 2-3 ปีหลังจากนี้ว่า เศรษฐกิจไทยจะยังคงเติบโตได้อยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยที่ 3-3.3% เท่านั้น ถือเป็นเกณฑ์ที่ดีที่สุด เป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยที่เกิดขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และเป็นการเติบโตที่ไม่แตกต่างจากช่วง 30 ปีที่ผ่านมา นั่นหมายถึงสถิติเศรษฐกิจไทยทุกๆ 10 ปี การเติบโตจะลดลง 1% นั่นเอง ที่เป็นแบบนี้เพราะการปรับตัวของเศรษฐกิจโลกกำลังจะเข้าสู่ยุคดิจิทัล

    ที่ผ่านมาไทยยังปรับตัวไม่ทันกับการแข่งขันของโลก ไทยเพิ่งเริ่มตื่นตัว และดำเนินการเรื่องต่างๆ เหล่านี้ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาเท่านั้น แต่ในภาพรวมอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าต่างๆ ยังคงใช้แรงงาน ในขณะที่หลายประเทศปรับเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีเข้ามาแทนที่ จนทำให้เกิดปัญหาการย้ายฐานการผลิตไปในหลายประเทศที่มีความพร้อมมากกว่าไทย ตรงนี้คือโลกเปลี่ยนจนทำให้ไทยปรับตัวไม่ทัน

    ภาพเศรษฐกิจในช่วง 4-5 ปีหลังจากนี้ จะเข้าสู่ยุคของการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ยุคแห่งการปฏิวัติด้านอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ยุคแห่งการขยายตัวด้านดิจิทัล ไบโอเทค ปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) ยุคแห่งการพัฒนาด้านหุ่นยนต์ (โรบอติกส์) บิ๊กดาต้า เทคโนโลยีเหล่านี้ประเทศไทยก็มีการพัฒนา แต่ทำได้แค่ระดับล่างเท่านั้น การพัฒนาอย่างเชื่องช้าของไทยนี้เอง จะทำให้ไทยเกิดการเสียเปรียบด้านความสามารถในการแข่งขัน ทั้งหมดทั้งมวลนี้เป็นผลมาจาก “การขาดคุณภาพด้านการศึกษา”

     ตรงนี้เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้เห็นว่า ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ทำไมไทยปรับตัวไม่ทัน และจากนี้ไปอีก 10-20 ปี ไทยก็อาจจะยังไม่สามารถแก้ปัญหาในจุดนี้ได้ แม้จะมียุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 เข้ามาก็ตาม นั่นเพราะยุทธศาสตร์ดังกล่าวยังเป็นเรื่องของ “นามธรรม” ที่ยังไม่นำไปสู่ “รูปธรรม” ในการปฏิบัติได้จริง ต้องยอมรับและเข้าใจปัญหาของประเทศก่อนว่า ไทยยังขาดคนที่มีความสามารถด้านเทคโนโลยี ไทยยังไม่สามารถเข้ามาแก้โจทย์ตรงนี้ได้ นั่นจึงเป็นอีกเหตุผลว่า ในระยะต่อไปการเติบโตของเศรษฐกิจไทยจะยังไม่เพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่น เมื่อเทียบกับหลายประเทศ

    จริงอยู่ที่ไทยมีจุดแข็งในด้านพื้นฐานและการมีเสถียรภาพเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง การเกินดุลบัญชีเดินสะพัด การมีสัดส่วนหนี้สาธารณะที่ยังอยู่ในระดับต่ำ การมีเงินสำรองในระดับสูง ระดับอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำ เป็นจุดแข็งด้านหนึ่ง แต่ในทางกลับกันก็ต้องบริหารจัดการให้ดี เพราะด้วยปัจจัยพื้นฐานที่มั่นคงนี้เอง จะทำให้เกิดการดึงดูดเงินลงทุนในหลากหลายรูปแบบ หากบริหารจัดการไม่ดี ภาคส่งออกจะถูกกระทบจากปัญหาเงินบาทแข็งค่าขึ้น ภาพพื้นฐานเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเหล่านี้ทำให้นักลงทุนต่างมองเศรษฐกิจไทยเหมือนคนหล่อเหลาหน้าตาดี แต่เอาเข้าจริงแล้วกลับพบว่าภายในของไทยมีโรคประจำตัวที่แย่อยู่ นั่นเพราะไทยยังมีปัญหาเรื่องขีดความสามารถในการแข่งขันจากการปรับตัวไม่ทันกับเทคโนโลยีโลก

    เพื่อปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงในโลกที่เกิดขึ้น สิ่งแรกที่รัฐบาลต้องเร่งดำเนินการคือ “การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน” ในระยะสั้น ด้วยการ ยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยการใช้หลักสูตรการฝึกอบรมและพัฒนา ตรงนี้เป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยลดอัตราการว่างงานที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างมหาศาลในอนาคต จากการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคอุตสาหกรรมที่หันไปพึ่งพาหุ่นยนต์แทนแรงงานจากมนุษย์ ส่วนระยะกลาง ต้องเริ่มพัฒนาตั้งแต่ระดับมหาวิทยาลัยไปจนถึงระดับบริษัท ในเรื่องการเพิ่มขีดความสามารถในการก้าวให้เท่าทันเทคโนโลยีสมัยใหม่ การปรับโครงสร้างสินค้าเกษตรซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศให้ตอบโจทย์ความก้าวหน้าของเศรษฐกิจ ทั้งหมดนี้ต้องทำเป็นองค์รวม ส่วนด้านโลจิสติกส์ที่ทำอยู่ในปัจจุบัน ถือว่ามาถูกทางแล้ว

    “ที่ผ่านมารัฐบาลเน้นให้การช่วยเหลือด้านแหล่งเงินทุนเป็นหลัก แต่การยกระดับคุณภาพการผลิตในทุกภาคส่วน เพื่อให้ทันต่อการพัฒนาด้านเทคโนโลยี ต้องทำแบบองค์รวมในเชิงโครงสร้าง ให้ความสำคัญกับภาคการศึกษา และอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ด้วยการยกระดับด้านเทคโนโลยี เพื่อให้แข่งขันในตลาดโลกได้ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล เพียงแค่พยุงเศรษฐกิจไม่ได้ช่วยให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากการติดกับดักรายได้ประเทศปานกลาง การแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม คือด้านการศึกษา เพิ่มทักษะเทคโนโลยี ไม่ใช่แค่เรื่องสั้นๆ ต้องวางแผนและขับเคลื่อนในระยะยาว”

    ด้านเอกชนไม่เพียงแต่รอมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐเท่านั้น แต่ต้องหันกลับมามองตัวเองด้วยว่า ปัจจุบันโลกและเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว “การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน” เป็นเรื่องสำคัญ การดึงเทคโนโลยีใหม่เข้ามาจึงเป็นเรื่องที่ต้องคำนึงถึง เพราะทุกวันนี้โลกไม่ได้มีแค่ 10 ประเทศในกลุ่มอาเซียนเท่านั้น ขณะที่ในด้านการค้ารับเองก็ต้องเข้ามาเสริม ทั้งในส่วนการปลดล็อกข้อตกลงทางการค้าต่างๆ การเข้าร่วมกลุ่มเพื่อสนับสนุนทางการค้า ต้องช่วยเอกชนในการต่อรองทางการค้า ทั้งหมดนี้อาจต้องเริ่มที่ภาคเอกชนจำเป็นต้องสร้างแรงกดดันให้ภาครัฐด้วย!

    การฝึกระบบคิดไม่ให้กระจุกตัวแค่ในประเทศ เพื่อให้สินค้าขายได้กว้างขวางมากขึ้น เป็นเรื่องสำคัญ เช่น ขณะนี้โลกกำลังแข่งขันเรื่องสีเขียว พลังงานบริสุทธิ์ เอกชนก็ต้องหันกลับมาพัฒนาในเรื่องพวกนี้เพื่อให้ตอบโจทย์ด้วยเช่นกัน

    ปัญหาไม่ได้อยู่ที่เราพร้อม หรือเราไม่พร้อม แต่ท้ายที่สุดเทคโนโลยีและโลกที่เปลี่ยนไปจะเป็นตัวบังคับให้ไทยต้องต่อยอดยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 จะเป็นตัวบังคับให้เราถูกต่อยอด

     ท้ายที่สุดความไม่รู้จะต้องพูดเข้ามาแทนที่ด้วยการพัฒนา ซึ่งหากทำได้เร็ว จะเป็นข้อได้เปรียบกับประเทศ ที่ผ่านมาไทยพยายามบอกตัวเองเสมอว่าเรามีการพัฒนาและต่อยอดด้านการศึกษา ซึ่งถือเป็นพื้นฐานของทั้งหมด แต่แท้จริงแล้วเนื้อหาที่ใส่ในองค์ความรู้ของการศึกษา ไม่ได้ใส่เรื่องการพัฒนาด้านดิจิทัลอย่างจริงจังและมากพอ

    ดังนั้น ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีโลก ความรู้ในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน ด้วยการใช้ดิจิทัลของประเทศไทยยังไม่สามารถตอบคำถาม ในการพัฒนาขีดความสามารถด้านดิจิทัลได้อย่างจริงจัง แม้ว่าที่ผ่านมาประชาชนไทยจะมีการเข้าถึงดิจิทัลในทุกแง่มุมมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แต่กลับไม่ได้ใช้การเข้าถึงดังกล่าวอย่างมีประโยชน์ในการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน ต้องยอมรับอย่างจำยอมว่า ประเทศไทยยังขาดการพัฒนาด้านนวัตกรรมที่เป็นรูปธรรม แม้ว่าสิ่งที่พยายามคิดจะมีมูลค่าสูง แต่ผลที่ออกมายังต่ำอยู่อย่างมาก!

 

 

26n06

อีโคหน้า6

ออกวันเสาร์ที่  26 ตุลาคม 2562

 

 

ดึงโปรย ๐ ที่ผ่านมาไทยยังปรับตัวไม่ทันกับการแข่งขันของโลก  ไทยเพิ่งเริ่มตื่นตัวและดำเนินการเรื่องต่างๆ เหล่านี้ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาเท่านั้น แต่ในภาพรวมอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าต่างๆ  ยังคงใช้แรงงาน ในขณะที่หลายประเทศปรับเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีเข้ามาแทนที่ จนทำให้เกิดปัญหาการย้ายฐานการผลิตไปในหลายประเทศที่มีความพร้อมมากกว่าไทย ตรงนี้คือโลกเปลี่ยนจนทำให้ไทยปรับตัวไม่ทัน

 

 

ไทยต้องเปลี่ยน

ดึงเทคโนโลยีเพิ่มขีดแข่งขัน

 

     ปี 2562 เป็นอีกปีที่ “เศรษฐกิจไทย” ต้องเผชิญปัจจัยเสี่ยง ทั้งในประเทศ จากเรื่องการเมืองและนอกประเทศ จากปัญหาสงครามการค้าโลก ที่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อตลาดการค้าโลก ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ในหลายๆ ประเทศ จนส่งผลให้เศรษฐกิจโลกในปีนี้ชะลอตัวลง และแน่นอนผลกระทบจากปัญหาภายนอกประเทศนี้เอง ก็ได้ส่งผลกระทบต่อ “ภาคการส่งออก” ซึ่งถือเป็นอีกกลไกขนาดใหญ่ที่สำคัญในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

    ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เหล่านี้ ส่งผลกระทบกดดันต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ในปีนี้อย่างต่อเนื่อง และแน่นอนว่าแนวโน้มการเติบโตของตัวเลขจีดีพีในปี 2562 จะขยายตัวได้ต่ำกว่าศักยภาพแน่นอน แม้ว่าหลายฝ่ายจะมองว่าพื้นฐานและเสถียรภาพของเศรษฐกิจไทยจะอยู่ในเกณฑ์ที่แข็งแกร่งก็ตาม

     ทั้งนี้ นายสมชาย ภคภาสวิวัฒน์ นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์และการเมือง มองภาพเศรษฐกิจไทยในช่วง 2-3 ปีหลังจากนี้ว่า เศรษฐกิจไทยจะยังคงเติบโตได้อยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยที่ 3-3.3% เท่านั้น ถือเป็นเกณฑ์ที่ดีที่สุด เป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยที่เกิดขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และเป็นการเติบโตที่ไม่แตกต่างจากช่วง 30 ปีที่ผ่านมา นั่นหมายถึงสถิติเศรษฐกิจไทยทุกๆ 10 ปี การเติบโตจะลดลง 1% นั่นเอง ที่เป็นแบบนี้เพราะการปรับตัวของเศรษฐกิจโลกกำลังจะเข้าสู่ยุคดิจิทัล

    ที่ผ่านมาไทยยังปรับตัวไม่ทันกับการแข่งขันของโลก ไทยเพิ่งเริ่มตื่นตัว และดำเนินการเรื่องต่างๆ เหล่านี้ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาเท่านั้น แต่ในภาพรวมอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าต่างๆ ยังคงใช้แรงงาน ในขณะที่หลายประเทศปรับเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีเข้ามาแทนที่ จนทำให้เกิดปัญหาการย้ายฐานการผลิตไปในหลายประเทศที่มีความพร้อมมากกว่าไทย ตรงนี้คือโลกเปลี่ยนจนทำให้ไทยปรับตัวไม่ทัน

    ภาพเศรษฐกิจในช่วง 4-5 ปีหลังจากนี้ จะเข้าสู่ยุคของการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ยุคแห่งการปฏิวัติด้านอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ยุคแห่งการขยายตัวด้านดิจิทัล ไบโอเทค ปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) ยุคแห่งการพัฒนาด้านหุ่นยนต์ (โรบอติกส์) บิ๊กดาต้า เทคโนโลยีเหล่านี้ประเทศไทยก็มีการพัฒนา แต่ทำได้แค่ระดับล่างเท่านั้น การพัฒนาอย่างเชื่องช้าของไทยนี้เอง จะทำให้ไทยเกิดการเสียเปรียบด้านความสามารถในการแข่งขัน ทั้งหมดทั้งมวลนี้เป็นผลมาจาก “การขาดคุณภาพด้านการศึกษา”

     ตรงนี้เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้เห็นว่า ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ทำไมไทยปรับตัวไม่ทัน และจากนี้ไปอีก 10-20 ปี ไทยก็อาจจะยังไม่สามารถแก้ปัญหาในจุดนี้ได้ แม้จะมียุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 เข้ามาก็ตาม นั่นเพราะยุทธศาสตร์ดังกล่าวยังเป็นเรื่องของ “นามธรรม” ที่ยังไม่นำไปสู่ “รูปธรรม” ในการปฏิบัติได้จริง ต้องยอมรับและเข้าใจปัญหาของประเทศก่อนว่า ไทยยังขาดคนที่มีความสามารถด้านเทคโนโลยี ไทยยังไม่สามารถเข้ามาแก้โจทย์ตรงนี้ได้ นั่นจึงเป็นอีกเหตุผลว่า ในระยะต่อไปการเติบโตของเศรษฐกิจไทยจะยังไม่เพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่น เมื่อเทียบกับหลายประเทศ

    จริงอยู่ที่ไทยมีจุดแข็งในด้านพื้นฐานและการมีเสถียรภาพเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง การเกินดุลบัญชีเดินสะพัด การมีสัดส่วนหนี้สาธารณะที่ยังอยู่ในระดับต่ำ การมีเงินสำรองในระดับสูง ระดับอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำ เป็นจุดแข็งด้านหนึ่ง แต่ในทางกลับกันก็ต้องบริหารจัดการให้ดี เพราะด้วยปัจจัยพื้นฐานที่มั่นคงนี้เอง จะทำให้เกิดการดึงดูดเงินลงทุนในหลากหลายรูปแบบ หากบริหารจัดการไม่ดี ภาคส่งออกจะถูกกระทบจากปัญหาเงินบาทแข็งค่าขึ้น ภาพพื้นฐานเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเหล่านี้ทำให้นักลงทุนต่างมองเศรษฐกิจไทยเหมือนคนหล่อเหลาหน้าตาดี แต่เอาเข้าจริงแล้วกลับพบว่าภายในของไทยมีโรคประจำตัวที่แย่อยู่ นั่นเพราะไทยยังมีปัญหาเรื่องขีดความสามารถในการแข่งขันจากการปรับตัวไม่ทันกับเทคโนโลยีโลก

    เพื่อปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงในโลกที่เกิดขึ้น สิ่งแรกที่รัฐบาลต้องเร่งดำเนินการคือ “การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน” ในระยะสั้น ด้วยการ ยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยการใช้หลักสูตรการฝึกอบรมและพัฒนา ตรงนี้เป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยลดอัตราการว่างงานที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างมหาศาลในอนาคต จากการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคอุตสาหกรรมที่หันไปพึ่งพาหุ่นยนต์แทนแรงงานจากมนุษย์ ส่วนระยะกลาง ต้องเริ่มพัฒนาตั้งแต่ระดับมหาวิทยาลัยไปจนถึงระดับบริษัท ในเรื่องการเพิ่มขีดความสามารถในการก้าวให้เท่าทันเทคโนโลยีสมัยใหม่ การปรับโครงสร้างสินค้าเกษตรซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศให้ตอบโจทย์ความก้าวหน้าของเศรษฐกิจ ทั้งหมดนี้ต้องทำเป็นองค์รวม ส่วนด้านโลจิสติกส์ที่ทำอยู่ในปัจจุบัน ถือว่ามาถูกทางแล้ว

    “ที่ผ่านมารัฐบาลเน้นให้การช่วยเหลือด้านแหล่งเงินทุนเป็นหลัก แต่การยกระดับคุณภาพการผลิตในทุกภาคส่วน เพื่อให้ทันต่อการพัฒนาด้านเทคโนโลยี ต้องทำแบบองค์รวมในเชิงโครงสร้าง ให้ความสำคัญกับภาคการศึกษา และอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ด้วยการยกระดับด้านเทคโนโลยี เพื่อให้แข่งขันในตลาดโลกได้ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล เพียงแค่พยุงเศรษฐกิจไม่ได้ช่วยให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากการติดกับดักรายได้ประเทศปานกลาง การแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม คือด้านการศึกษา เพิ่มทักษะเทคโนโลยี ไม่ใช่แค่เรื่องสั้นๆ ต้องวางแผนและขับเคลื่อนในระยะยาว”

    ด้านเอกชนไม่เพียงแต่รอมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐเท่านั้น แต่ต้องหันกลับมามองตัวเองด้วยว่า ปัจจุบันโลกและเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว “การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน” เป็นเรื่องสำคัญ การดึงเทคโนโลยีใหม่เข้ามาจึงเป็นเรื่องที่ต้องคำนึงถึง เพราะทุกวันนี้โลกไม่ได้มีแค่ 10 ประเทศในกลุ่มอาเซียนเท่านั้น ขณะที่ในด้านการค้ารับเองก็ต้องเข้ามาเสริม ทั้งในส่วนการปลดล็อกข้อตกลงทางการค้าต่างๆ การเข้าร่วมกลุ่มเพื่อสนับสนุนทางการค้า ต้องช่วยเอกชนในการต่อรองทางการค้า ทั้งหมดนี้อาจต้องเริ่มที่ภาคเอกชนจำเป็นต้องสร้างแรงกดดันให้ภาครัฐด้วย!

    การฝึกระบบคิดไม่ให้กระจุกตัวแค่ในประเทศ เพื่อให้สินค้าขายได้กว้างขวางมากขึ้น เป็นเรื่องสำคัญ เช่น ขณะนี้โลกกำลังแข่งขันเรื่องสีเขียว พลังงานบริสุทธิ์ เอกชนก็ต้องหันกลับมาพัฒนาในเรื่องพวกนี้เพื่อให้ตอบโจทย์ด้วยเช่นกัน

    ปัญหาไม่ได้อยู่ที่เราพร้อม หรือเราไม่พร้อม แต่ท้ายที่สุดเทคโนโลยีและโลกที่เปลี่ยนไปจะเป็นตัวบังคับให้ไทยต้องต่อยอดยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 จะเป็นตัวบังคับให้เราถูกต่อยอด

     ท้ายที่สุดความไม่รู้จะต้องพูดเข้ามาแทนที่ด้วยการพัฒนา ซึ่งหากทำได้เร็ว จะเป็นข้อได้เปรียบกับประเทศ ที่ผ่านมาไทยพยายามบอกตัวเองเสมอว่าเรามีการพัฒนาและต่อยอดด้านการศึกษา ซึ่งถือเป็นพื้นฐานของทั้งหมด แต่แท้จริงแล้วเนื้อหาที่ใส่ในองค์ความรู้ของการศึกษา ไม่ได้ใส่เรื่องการพัฒนาด้านดิจิทัลอย่างจริงจังและมากพอ

    ดังนั้น ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีโลก ความรู้ในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน ด้วยการใช้ดิจิทัลของประเทศไทยยังไม่สามารถตอบคำถาม ในการพัฒนาขีดความสามารถด้านดิจิทัลได้อย่างจริงจัง แม้ว่าที่ผ่านมาประชาชนไทยจะมีการเข้าถึงดิจิทัลในทุกแง่มุมมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แต่กลับไม่ได้ใช้การเข้าถึงดังกล่าวอย่างมีประโยชน์ในการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน ต้องยอมรับอย่างจำยอมว่า ประเทศไทยยังขาดการพัฒนาด้านนวัตกรรมที่เป็นรูปธรรม แม้ว่าสิ่งที่พยายามคิดจะมีมูลค่าสูง แต่ผลที่ออกมายังต่ำอยู่อย่างมาก!


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"