รับมือสังคมไร้เงินสด


เพิ่มเพื่อน    

    คงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปกับการทำธุรกรรมธนาคารในยุคดิจิทัล เพราะทุกคนสามารถทำรายการ และตรวจสอบธุรกรรมต่างๆ ได้ด้วยตนเอง สะดวกรวดเร็วผ่านโมบายล์แบงกิ้งของผู้ให้บริการ หมดปัญหาตามหาสาขาธนาคาร และช่วยลดเวลาที่ต้องสูญเสียไปเพื่อเดินทางไปทำธุรกรรม การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคสู่สังคมไร้เงินสดดังกล่าว เป็นแนวโน้มที่น่าจับตามอง เนื่องจากจะทำให้การใช้ชีวิตประจำวันของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป
    หากมาดูข้อมูลจาก Hootsuite ผู้ให้บริการระบบจัดการ Social Media และ Marketing Solutions ได้รวบรวมสถิติผู้ใช้งานโมบายล์แบงกิ้งในประเทศ พบว่ามีจำนวนผู้ใช้งานสูงถึง 74% หรือราว 51 ล้านคน และยังคงมีอัตราเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในทางกลับกันก็อาจเป็นช่องทางให้เกิดการโจรกรรมผ่านไซเบอร์ หรือ Cyber Crime เพิ่มขึ้นได้เช่นเดียวกัน โดยกว่า 91% ของการหลอกลวงหรือการโจรกรรมข้อมูลมาจากอีเมล และ 35% ของผู้ใช้งานโมบายล์แบงกิ้ง ได้รับข้อความจากผู้ไม่ประสงค์ดีที่ต้องการนำข้อมูลไปใช้ในการทุจริต และทำให้เกิดความเสียหายตามมากับทั้งผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ
    สำหรับธนาคารผู้ให้บริการ นอกจากจะต้องออกแบบโมบายล์แอปพลิเคชันเพื่อให้ลูกค้าใช้งานได้ง่าย สะดวก และรวดเร็วแล้ว ยังจำเป็นต้องพัฒนาระบบความปลอดภัยเพื่อป้องกันการถูกโจรกรรมข้อมูล รวมถึงมีบริการต่างๆ ที่ช่วยแจ้งเตือนลูกค้าอย่างทันท่วงที ซึ่งปัจจุบันนี้มีฟีเจอร์ต่างๆ ที่ช่วยให้ลูกค้าลดความกังวลในการทำธุรกรรมผ่านโมบายล์ แบงกิ้งได้ ไม่ว่าจะเป็นแสดงรายการเรียลไทม์บนโมบายล์แอปพลิเคชัน ที่สามารถตรวจสอบการทำธุรกรรมต่างๆ ของธนาคารได้ทันที รวมถึงมีระบบแจ้งเตือน เมื่อเกิดการทำโอน รับ ใช้จ่าย ผ่านโมบายล์แอปฯ ทำให้ลูกค้าสามารถตรวจสอบรายการที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
    ขณะเดียวกัน หนึ่งในสเต็ปหลักประกันก่อนทำธุรกรรมทุกครั้ง ที่ผู้ใช้งานจำเป็นต้องใส่รหัสการใช้งานครั้งเดียว หรือโอทีพีที่ส่งตรงจากธนาคารเข้าสู่โทรศัพท์ส่วนตัวของผู้ใช้  เพื่อใช้ยืนยันการทำในแต่ละธุรกรรม นอกจากนี้ ในบางธนาคารผู้ใช้งานยังให้บริการยืนยันการทำธุรกรรมด้วย “โมบายล์ โทเค็น” หรือรหัสส่วนตัวที่กำหนดโดยตัวผู้ใช้งานเอง ช่วยเพิ่มขีดความปลอดภัย กรณีการถูกดักโจรกรรมข้อมูลผ่านทาง SMS และสามารถทำรายการต่อได้แม้ว่าจะเดินทางอยู่ในต่างประเทศ และไม่ได้เปิดบริการโรมมิ่ง
    แม้จะมีระบบการแจ้งเตือนผ่านแอปพลิเคชันธนาคาร แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังไม่ได้ติดตามข้อมูลดังกล่าวอย่างใกล้ชิด ธนาคารจึงจำเป็นต้องพัฒนา และเชื่อมต่อการแจ้งเตือนธุรกรรม เพื่อให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคได้ในทุกกลุ่ม ตั้งแต่ทางอีเมล สำหรับกลุ่มคนทำงาน ข้อความที่เหมาะกับกลุ่มที่ไม่เชี่ยวชาญการใช้เทคโนโลยีมากนัก หรือแม้กระทั่งไลน์ที่มีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก
    ส่วน 2-way SMS เป็นอีกหนึ่งฟีเจอร์เสริมความปลอดภัย ที่นำมาใช้เพื่อความปลอดภัยของการใช้บัตร เมื่อธนาคารพบว่ามีรายการที่น่าสงสัยผ่านบัตรเครดิต หรือบัตรเดบิต ธนาคารจะส่งข้อความไปยังลูกค้าเพื่อตรวจสอบว่าลูกค้าได้ทำรายการดังกล่าวจริงหรือไม่ ในกรณีที่ลูกค้าตอบกลับว่าลูกค้าไม่ได้ทำรายการนั้นๆ ด้วยตนเอง ธนาคารจะทำการอายัติบัตรและติดต่อลูกค้าเพื่อให้คำแนะนำในลำดับต่อไป ซึ่งเป็นการป้องกันรายการทุจริตอื่นๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นอีกหลังจากนั้น และเทคโนโลยีล่าสุดที่พัฒนาขึ้นสอดรับกับความสามารถของสมาร์ทโฟน ซึ่งบางธนาคารได้นำเอาการพิสูจน์ตัวตนทางชีวภาพหรือไบโอแมทริกซ์ เช่น การตรวจสอบลายนิ้วมือ
    นายประทีป คามัคค ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายดิจิทัลแบงกิ้ง ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย กล่าวว่า  ธนาคารได้พัฒนาซิตี้ โมบายล์ แอปพลิเคชัน เพื่อตอบสนองพฤติกรรมการใช้งานลูกค้าธนาคาร และได้นำเอาฟังก์ชันความปลอดภัยทั้งหมดข้างต้น โดยธนาคารเองมีข้อแนะนำ 5 ขั้น ในกรณีผู้ใช้งานคาดว่ามีแนวโน้มถูกโจรกรรมข้อมูล ได้แก่ 1.ปิดการเชื่อมต่อไวไฟ (Wi-Fi) แล้วใช้สัญญาณเครือข่ายโทรศัพท์แทน ในการเข้าสู่โมบายล์แอป 2.ตรวจสอบรายการใช้จ่ายหรือการทำธุรกรรมล่าสุดทันทีผ่านแอป 3.ระงับการใช้งานบัตรชั่วคราวผ่านแอปทันทีที่พบรายการที่น่าสงสัย 4.เปลี่ยนรหัสผ่านและรหัสแอปใหม่ และ 5.ติดต่อเจ้าหน้าที่ธนาคาร เพื่อแจ้งรายการที่น่าสงสัยทันที.

รุ่งนภา สารพิน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"