รับมือ“เจนซี-อัลฟ่า” สร้างพื้นที่เรียนรู้ ใช้สื่อออนไลน์อย่างสร้างสรรค์


เพิ่มเพื่อน    

จากบริบทสังคมที่เปลี่ยนไปในยุคที่เจนเนอเรชันซี-อัลฟ่า” (เจนซี-อัลฟ่า) กำลังเติบโตก้าวสู่การเป็นวัยรุ่นผลวิจัยยุวชนนิเวศน์ของประชากรเจเนอเรชันซี-อัลฟาระบุว่า กว่า 1 ใน 3 อยู่ในครอบครัวไม่สมบูรณ์ ส่งผลต่อพัฒนาการและการควบคุมอารมณ์

 

เมื่อความรู้ในโรงเรียนไม่ตอบโจทย์ศตวรรษ 21 พื้นที่เรียนรู้สาธารณะไม่เพียงพอ ขณะที่โลกออนไลน์กลับมีบทบาทสำคัญในชีวิตของเด็กเจนดังกล่าวสถาบันวิจัยประชากรและสังคมร่วมกับสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล โดยการสนับสนุนจากสำนัก 4 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) รายงานผลวิจัยยุวชนนิเวศน์ของประชากรเจเนอเรชันซี-อัลฟาจากการศึกษากลุ่มตัวอย่างเจนซี-อัลฟาที่เกิดตั้งแต่ปี2547 อายุไม่เกิน15 ปีซึ่งมีจำนวนกว่า 7.8 ล้านคนทั่วประเทศโดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 5 จังหวัดในทุกภูมิภาคได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น กรุงเทพฯ ชลบุรีและสุราษฎร์ธานี เพราะเป็นจังหวัดที่สามารถทสะท้อนภาพรวมทั้งในเมืองและนอกเมืองได้

ผศ.ดร.จงจิตต์ ฤทธิรงค์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดลกล่าวว่า การศึกษาดังกล่าวได้การศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,340 ครัวเรือน 39 โรงเรียนทั้งในสังกัดกทม. สพฐ. สช. สาธิตและอปท. แบ่งเป็นเด็กอายุระหว่าง 3 – 5 ปีจำนวน 383 คนอายุ 6-14 ปีจำนวน 957 คน ครู986 คนเพื่อสะท้อนความเป็นอยู่ของเด็กเจนซี-อัลฟ่าแบ่งการศึกษาตามสภาพแวดล้อม 3 แห่งได้แก่บ้านโรงเรียนและพื้นที่อื่นๆ ทั้งออฟไลน์และออนไลน์จากการศึกษาสภาพแวดล้อมภายในบ้านด้านการอบรมเลี้ยงดูและโครงสร้างครัวเรือนพบว่าเจนซี-อัลฟามากกว่า 1 ใน3 หรือกว่า37% อยู่ในครอบครัวที่ไม่สมบูรณ์มีแนวโน้มส่งผลต่อพัฒนาการและพฤติกรรมของเด็กในอนาคตโดยเด็กอายุ 3-5 ปี30% มีพัฒนาการล่าช้าอย่างน้อย1 ด้านและ7.7% มีพัฒนาการล่าช้าอย่างน้อย2 ด้านโดยในพื้นที่ชนบทมีปัญหาพัฒนาการด้านกล้ามมัดเล็กสติปัญญาและการใช้ภาษาขณะที่การเลี้ยงดูอย่างไม่เหมาะสมจะส่งผลต่อการควบคุมอารมณ์ของเด็กร่วมด้วย

 

นอกจากนี้ เด็กที่อยู่ในครอบครัวข้ามรุ่นจะมีปัญหาทางด้านอารมณ์มากถึง40.9% รองลงมาคือพฤติกรรมไม่อยู่นิ่งสมาธิสั้น20.9% และหากเด็กอยู่กับญาติคนอื่นๆจะส่งผลให้มีปัญหาด้านพฤติกรรมและเกเร21.4% ขณะที่การยึดเหนี่ยวจิตใจการแสดงออกและความขัดแย้งในครัวเรือนพื้นที่กรุงเทพฯน่าเป็นห่วงที่สุด13.9% เนื่องจากมีลักษณะครัวเรือนข้ามรุ่นและพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยวเด็กมีผู้ดูแลหลักจบการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่าและมีรายได้ครัวเรือนที่ไม่เพียงพอ

 

ผศ.ดร.วิมลทิพย์ มุสิกพันธ์ ถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวมหาวิทยาลัยมหิดลกล่าวถึงการศึกษาในพื้นที่แห่งการเรียนรู้อย่างโรงเรียนทั้งในสังกัดสช. สพฐ. กทม. สาธิตและอปท. เกี่ยวกับทักษะในศตวรรษที่21 พบว่ามีความไม่เท่าเทียมของทักษะสารสนเทศและสื่อชัดเจน โดยโรงเรียนที่มีความพร้อมมากที่สุดคือโรงเรียนสังกัดสาธิตขณะที่ทักษะด้านการเรียนรู้และการสื่อสารมีน้อย โดยเฉพาะเรื่องการสร้างสรรค์และนวัตกรรม แต่ทักษะการเคารพความแตกต่างและการร่วมมืออยู่ในระดับดี นอกจากนี้ยังมีการศึกษาในเชิงคุณภาพพบว่าเด็กได้สะท้อนความคิดและความรู้สึกในโรงเรียน อาทิ เนื้อหาการสอนไม่ทันต่อเหตุการณ์ มีสนามเด็กเล่นแต่เด็กไม่ได้เล่นรายวิชาไม่เชื่อมโยงกับชีวิตจริงและการเรียนในโรงเรียนไม่โยงกับทักษะในศตวรรษที่21 โดยเด็กต้องการเรียนรู้ในสิ่งที่นำไปใช้ได้จริง

พื้นที่การเรียนรู้ไม่ได้มีเพียงโรงเรียนและบ้านยังมีพื้นที่อื่นๆ ผศ.ดร.ภูเบศร์สมุทรจักร หัวหน้าโครงการวิจัยเรื่องยุวชนนิเวศน์ของประชากรเจเนอเรชันซี-อัลฟาสถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหิดล อธิบายว่าพื้นที่ออฟไลน์ส่วนใหญ่เด็กนิยมไปห้างหรือตลาดนัดขณะที่โลกออนไลน์เข้ามามีส่วนสำคัญในชีวิตเนื่องจากการใช้อินเทอร์เน็ตและการเข้าถึงอุปกรณ์ในปัจจุบันครอบคลุมถึง94.3% ส่วนใหญ่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตโดยใช้อุปกรณ์สมาร์ทโฟน93.7% บ่งเป็นของตัวเอง69% ของพ่อแม่24% ของเพื่อน2.5% และอื่นๆ4.5%

 

ยูทูปเข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมากในการเรียนรู้ของเด็กยุคใหม่ผศ.ดร.ภูเบศร์กล่าวว่าหากดูคลิปที่เด็กนิยมมากที่สุดอันดับ1 กลับเป็นแคสเกมและคลิปเกมกว่า27% ถัดมาคือการ์ตูน20% ฟังเพลง14.3% และวาไรตี้9% รวมถึงสารคดีเกมโชว์รีวิวกีฬาและอื่นๆแต่ที่น่าสนใจคือการใช้ยูทูปในระดับปานกลางจะส่งผลดีในแง่พัฒนาการทักษะศตวรรษที่21 นอกจากนี้พื้นที่ออนไลน์ยังเปิดให้เจนซี-อัลฟ่าเข้าถึงความบันเทิงในรูปแบบอื่นๆเช่นเกมออนไลน์โดยเกมที่นิยมมากที่สุดกว่า81.7% คือต่อสู้ยิงกันถัดมาคือแข่งความเร็ว9.5% แข่งความคิด3.4% สยองขวัญ3.4% และอื่นๆ2% จากการศึกษายังพบว่าพฤติกรรมการใช้เฟซบุ๊คมีความเกี่ยวข้องกับปัญหาด้านอารมณ์ความประพฤติเกเรสมาธิสั้นไม่นิ่งและความสัมพันธ์กับเพื่อน

 

ผศ.ดร.ภูเบศร์กล่าวเพิ่มเติมว่างานวิจัยนี้ไม่ใช่งานวิจัยเชิงเด็กแต่เป็นงานวิจัยเชิงเจนเนอเรชั่นเนื่องจากเจนเนอเรชั่นนี้จะเป็นคนดูแลสืบทอดสังคมทั้งในเชิงครอบครัวและเศรษฐกิจจากงานวิจัยจะเห็นได้ว่าปัจจุบันพื้นที่การเรียนรู้ของเด็กหรือพื้นที่สาธารณะมีน้อยแต่ห้างสรรพสินค้าหรือพื้นที่อื่นๆเช่นโลกออนไลน์กลับเยอะมาก

 

 

พื้นที่ออนไลน์เกิดขึ้นมานานแล้วเจนวายใช้พื้นที่ออนไลน์เมื่อโตมาระดับหนึ่งแต่เจนซีเป็นเจเนอเรชั่นแรกที่เขาเกิดมาพร้อมออนไลน์มีพี่เลี้ยงเป็นยูทูปผู้ปกครองหรือผู้ดูแลมองว่าเวลาเขาอยู่กับยูทูปแล้วเขานิ่งจึงให้เวลากับการอยู่กับสื่อเหล่านี้มากจากการศึกษาพบว่าการใช้ยูทูปมีผลในเชิงบวกแต่ควรใช้1 – 2 ชั่วโมงจะเป็นการเรียนรู้ที่ดีอะไรที่มากไปก็ไม่ดีแม้จะเป็นสิ่งที่ดีก็ตามหัวหน้าโครงการวิจัยฯกล่าว

 

ผศ.ดร.ภูเบศร์ กล่าวเพิ่มเติมว่าโลกออนไลน์ทำให้นาฬิกาชีวิตของเด็กผิดไปเด็กนอนดึกมากขึ้นเพราะเขาไม่ต้องแย่งจอกับใครเพราะฉะนั้นอาจส่งผลต่อพฤติกรรมหรือลักษณะการเรียนรู้เรื่องของเด็กเป็นเรื่องที่รอไม่ได้เพราะเราแก่ลงทุกวันสังคมเปลี่ยนเร็วชุดความรู้เก่าอาจไม่พอเราต้องวางแผนแบบเป็นระบบในการมองภาพในอนาคตเพื่อให้เกิดสิ่งที่เราอยากจะเห็นหรือไม่ให้เกิดสิ่งที่ไม่อยากเห็น

ด้าน นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์หัวหน้ากลุ่มที่ปรึกษากรมสุขภาพจิตกรมสุขภาพจิตให้ความเห็นว่าเด็กสมัยใหม่เติบโตในพื้นที่ออนไลน์มากเกินไปเพราะพื้นที่สาธารณะของบ้านเราในการทำกิจกรรมต่างๆทั้งในเมืองและชนบทยังมีน้อยขณะเดียวกันพื้นที่ออฟไลน์เป็นพื้นที่สำคัญในการสร้างการเรียนรู้ของเด็กหากเด็กมีทักษะการเรียนรู้ตั้งแต่เด็กต่อไปเขาจะสามารถใช้สื่อออนไลน์เพื่อการเรียนรู้และเป็นพื้นฐานในการส่งเสริมด้านเศรษฐกิจ

 

 “ ปัจจุบันเกมอาจจะมาเติมเต็มสิ่งที่เด็กขาดเขาไม่เหงาและสนุกแต่สิ่งเหล่านี้ไม่ได้สร้างการเรียนรู้เราคงโทษครอบครัวไม่ได้เพราะครอบครัวเป็นผลมาจากพัฒนาการทางสังคมเมื่อพ่อแม่ต้องทำงานทั้งคู่เครียดกับภาระหนี้สินภาระงานแต่เรามีรัฐบาลท้องถิ่นเรามีรัฐไว้เพื่ออะไรก็เพื่ออ่านเรื่องนี้ให้ออกและแก้ปัญหาเหล่านี้ให้ได้ระบบสาธารณสุขจะต้องบอกพ่อแม่ถึงผลเสียของการปล่อยให้เด็กอยู่หน้าจอนี่คือการป้องกันที่ดีที่สุดโรงเรียนต้องไม่มีการแข่งขันอีสปอร์ตโปรโมทการใช้สื่อในทางที่ผิดต้องให้ความรู้พ่อแม่ให้เกิดความเข้าใจส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตในทางบวกนพ.ยงยุทธกล่าว

ด้านทิชา ณ นครผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชายบ้านกาญจนาภิเษกและที่ปรึกษาโครงการให้ความเห็นว่าระหว่างที่เราเห็นภาพผ่านงานวิจัยควรจะมองเห็นภาพบทบาทของพวกเราที่ต้องทำเพิ่มและเปลี่ยนมายเซ็ตเพื่อขับเคลื่อนไม่ว่าจะภาครัฐหรือเอ็นจีโอเพราะเจนซีเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมีทางเลือกเข้าถึงง่ายดังนั้นวิธีคิดของคนทำงานต้องเปลี่ยนทุกคนที่ทำงานด้านนี้ต้องเป็นพื้นที่แห่งความปลอดภัยของเขาเมื่อไหร่ที่คุณเป็นพื้นที่ไม่ปลอดภัยทางเลือกของเด็กมีมากขึ้นเด็กจะไม่เลือกคุณ

 

ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีจะล้ำหน้าไปก็จริงแต่การได้คุยกับคนได้อยู่ในพื้นที่แห่งความปลอดภัยถูกยอมรับเขาก็คนเราก็คนสามารถสร้างพลังดึงดูดได้เหมือนกันแต่ถ้าไม่ทำก็อาจจะสูญเสียจริงๆทิชากล่าว

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"