มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดตัว “ศูนย์ความเป็นเลิศเพื่อสะเต็มศึกษา” ประสานนานาชาติ ผลักดันการศึกษาแบบบูรณาการตอบโจทย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต


เพิ่มเพื่อน    

วันที่ 14 พฤศจิกายน 2562 ที่ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา– เมื่อเวลา 13.30 น. รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิวัฒน์ เลิศศิริ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ได้เป็นประธานในพิธีเปิด “ศูนย์ความเป็นเลิศเพื่อสะเต็มศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล” (MUSC Centre of Excellence in STEM Education) เพื่อเป็นศูนย์ประสานงานกับเครือข่ายฯ ในการนำศาสตร์ด้านสะเต็มศึกษา (Science Technology Engineering and Mathematics Education: STEM Education) ไปต่อยอดกระบวนการจัดการศึกษา ที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสามารถบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี กระบวนการทางวิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ไปใช้ในการเชื่อมโยงและแก้ปัญหาในชีวิตจริงและการประกอบอาชีพในอนาคต รวมทั้งมีการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ในงานดังกล่าว ได้มีการเปิดตัว “ศูนย์ความเป็นเลิศเพื่อสะเต็มศึกษาคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล” เป็นครั้งแรกในมหาวิทยาลัยมหิดล ประกอบด้วยศูนย์ประสานงานฯ และห้องเรียนสะเต็ม ตั้งอยู่ ณ ชั้น 1 อาคารวิทยาศาสตร์ 4 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา 

ทั้งนี้ รองศาสตราจารย์ ดร. วรรณพงษ์ เตรียมโพธิ์ ประธานกรรมการศูนย์ฯ ได้ให้ข้อมูลว่า ศูนย์ความเป็นเลิศเพื่อสะเต็มศึกษา หรือที่รู้จักกันในนาม ศูนย์ MUSC-STEM จัดตั้งขึ้นภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศ Euro-Asia Collaboration for Enhancing STEM Education (EASTEM) ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนงบจาก Erusmus+ Programme ประกอบด้วยเครือข่ายความร่วมมือจาก 15 สถาบันที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในด้านสะเต็มศึกษา ทั้งในยุโรป (สวีเดน ลิทัวเนีย ฝรั่งเศส) และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อินโดนีเซีย เวียดนาม และไทย) โดยมีมหาวิทยาลัย Uppsala ประเทศสวีเดนเป็นสถาบันหลักของเครือข่าย สำหรับประเทศไทยเรามีเครือข่ายที่เข้มแข็งจาก 3 มหาวิทยาลัยที่ร่วมมือกัน คือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ศูนย์ภาคเหนือ) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ศูนย์ภาคใต้) และ มหาวิทยาลัยมหิดล (ศูนย์ภาคกลาง) โดยที่มหาวิทยาลัยมหิดลได้สนับสนุนให้คณะวิทยาศาสตร์ เป็นผู้ประสานงานหลักในนามของมหาวิทยาลัย ซึ่งในงานเปิดตัวศูนย์ฯ ครั้งนี้ ได้มีผู้แทนจากสถาบันเครือข่ายฯ ในโครงการ EASTEM จาก 4 ประเทศ รวม 11 สถาบัน ได้ให้เกียรติมาร่วมชมการเปิดตัวศูนย์ความเป็นเลิศเพื่อสะเต็มศึกษาในครั้งนี้ด้วย โดยผู้แทนจากสถาบันเครือข่ายฯ ในโครงการดังกล่าว ยังมีกำหนดการมาเข้าร่วมการประชุมวิชาการด้านสะเต็มศึกษา ในระหว่างวันที่ 14-16 พฤศจิกายน 2562 ซึ่งมีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นเจ้าภาพ เช่นกัน

           

 “ศูนย์ความเป็นเลิศเพื่อสะเต็มศึกษาคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล” จัดตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมด้านสะเต็มศึกษา และมีหน้าที่ประสานงานกับสถาบันเครือข่ายฯ ศูนย์ MUSC-STEM นี้ ประสานงานโดยกลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพอัจฉริยะ ของคณะฯ โดยมุ่งเป้าหมายให้เป็นการทำงานแบบสหสาขาที่ร่วมกันหลายหน่วยงาน ทั้งบุคลากรของคณะวิทยาศาสตร์เอง รวมถึงหน่วยงานต่างๆ ทั้งและนอกในมหาวิทยาลัยมหิดล มีคณะกรรมการดำเนินงานที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในหลายสาขา ทั้งชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ ไอที และวิศวกรรมศาสตร์ ที่มีประสบการณ์ด้านสะเต็มศึกษา ซึ่งเป็นเรื่องที่มหาวิทยาลัยตระหนักว่า “องค์ความรู้” นั้นต้องมีอย่างเชี่ยวชาญ และต้องสามารถสื่อสารเข้าไปในทุกส่วนได้ ไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชนและภาคประชาชน เพื่อสามารถยกระดับของกระบวนการผลิตทรัพยากรบุคคล ที่มีศักยภาพความรู้ความสามารถสูงและมีทักษะทางอาชีพและสังคม ที่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของสังคมในสภาวะที่เศรษฐกิจการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพแบบเดิม ถูกทำให้หยุดชะงักในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลพัฒนาอย่างรวดเร็ว (Technology Disruption)

ซึ่ง รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิวัฒน์ เลิศศิริ ประธานในพิธีเปิดฯ ได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า ศูนย์ความเป็นเลิศเพื่อสะเต็มศึกษา จะช่วยผลักดันการเรียนการสอนและกิจกรรมการจัดฝึกอบรมด้านสะเต็มศึกษา มุ่งสนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศในทุกระดับ ตั้งแต่การศึกษาภาคบังคับไปจนถึงระดับอุดมศึกษารวมถึงบุคลากรที่อยู่ในสายอาชีพต่างๆ เพื่อให้สามารถบูรณาการความรู้อย่างเข้าใจและเข้าถึงศาสตร์ที่จำเป็นต่อการพัฒนาตนเอง สามารถเชื่อมโยงและแก้ปัญหาในการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพได้ โดยศูนย์ MUSC-STEM จะมีการประสานการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ทั้งกับสถาบันเครือข่ายฯ และภาคส่วนต่างๆ ทั้งรัฐเอกชน รวมทั้งองค์กรอิสระทั้งในและนอกประเทศ เพื่อเป้าหมายในการยกระดับการเรียนการสอนแบบบูรณาการของประเทศให้ทันสมัย ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต และสามารถผลิตบัณฑิตที่มีทักษะความสามารถที่จำเป็นอันเป็นที่ต้องการของตลาดงานในยุคปัจจุบัน มีศักยภาพในการสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงสร้างสรรค์ให้กับเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมอย่างเป็นรูปธรรม


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"