เด็กไทย...หนัก(กิน)หวาน ภัยเงียบพ่อแม่ต้องใส่ใจ


เพิ่มเพื่อน    

        ด้วยวัฒนธรรมการกินอาหารตะวันตก และการไม่ออกกำลังกาย เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้พบโรคเบาหวานในเด็ก ซึ่งปัจจุบันพบได้ตั้งแต่เยาวชนวัยระดับอนุบาลไปจนถึงช่วงวัยรุ่นและวัยเรียน ซึ่งอุบัติการณ์เกิดโรคเพิ่มขึ้นเรียกได้ว่า 100% โดยเฉพาะเบาหวานที่เกิดควบคู่กับโรคอ้วน หรือโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งก่อนหน้านี้มักพบได้ในวัยผู้ใหญ่ที่เป็นโรคอ้วน หรือแม้แต่ไม่มีภาวะน้ำหนักตัวเกินก็ตาม

(รศ.พญ.สุภาวดี ลิขิตมาศกุล)

      ทั้งนี้ ข้อมูลสนใจจาก รศ.พญ.สุภาวดี ลิขิตมาศกุล ประธานศูนย์เบาหวาน ศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พบว่า เด็กและเยาวชนไทยก่อนอายุ 18 ปี ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 มากที่สุด ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 70-80 ซึ่งเกิดภาวะที่เซลล์ตับอ่อนเสื่อม สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นสะท้อนให้เห็นว่าโรคเรื้อรังดังกล่าวถือได้เป็นปัญหาสุขภาพที่ควรได้รับการแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นชนิดที่ 1 หรือชนิดที่ 2 โดยเฉพาะที่ 2 ซึ่งคนเอเชียมีแนวโน้มพบเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้สุขภาพของเด็กไทยแข็งแรง ปราศจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs เนื่องจากโรคเบาหวานจัดอยู่ในกลุ่มดังกล่าว

        รศ.พญ.สุภาวดี ให้ข้อมูลว่า อันที่จริงแล้วพบเด็กเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นจากก่อนหน้านี้ แม้ว่าจะไม่มีการเก็บสถิติข้อมูลที่ชัดเจน แต่ตัวเลขของโรงพยาบาลในมหาวิทยาลัย พบว่ากลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน โดยพบในเด็กตั้งแต่อายุน้อยๆ คือ 5-6 เดือน ไปจนกระทั่งถึงเด็กโตอย่างวัยอนุบาล และวัยเรียน ตลอดจนวัยรุ่น เรียกได้ว่าเพิ่มขึ้น 100% เนื่องจากเป็นโรคหวานที่เกิดขึ้นจากภาวะอ้วนน้ำหนักตัวเกิน ซึ่งเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ก่อนหน้านี้พบได้ในวัยผู้ใหญ่ที่เป็นโรคอ้วนและไม่อ้วนก็ตาม ทั้งนี้ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 นั้นเกิดจากการดื้ออินซูลิน ตลอดจนการกินอาหารที่หวาน มัน อีกทั้งขาดการออกกำลังกาย จนทำให้อินซูลินออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มที่

        “สำหรับข้อมูลของโรคเบาหวานที่พบในเด็กและเยาวชน ร้อยละ 70-80% เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ซึ่งเกิดจากการที่เซลล์ตับอ่อนเสื่อม ทำให้ร่างกายผลิตอินซูลินไม่พอใช้ในร่างกาย ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งหากปล่อยปละละเลยก็จะทำให้ผู้ป่วยเด็กเกิดภาวะแทรกซ้อน คือเลือดเป็นกรด อีกทั้งมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หายใจลำบาก มีอาการโคม่า กระทั่งเสียชีวิต หรือทำให้การรักษาเป็นไปด้วยความยากลำบากมากขึ้น อีกทั้งส่งผลกระทบต่อระบบสมอง และต้องเข้ารักษาในห้องไอซียู เป็นต้น

      แม้ว่าในต่างประเทศนั้น ข้อมูลของเด็กที่ป่วยเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 และมีภาวะแทรกซ้อนอย่างการที่มีภาวะเลือดเป็นกรด จะไม่ได้เสียชีวิตในทันที แต่สิ่งสำคัญก็อยากรณรงค์ให้ผู้ปกครองนั้นทำความเข้าใจกับโรคเบาหวานชนิดที่ 1 เช่นเดียวกัน โดยการหมั่นสังเกตบุตรหลานและรีบพามาพบแพทย์โดยด่วน เช่น 1.หากว่าเด็กมีอาการผอมลงอย่างเห็นได้ชัด 2.เด็กมีอาการอ่อนเพลียโดยไม่ทราบสาเหตุ 3.รู้สึกหิวอาหาร แต่เมื่อรับประทานแล้วอาเจียน 4.มีอาการซึมลง 5.ท้องเสีย ทำให้ต้องไปพบแพทย์ที่เกี่ยวกับด้านโรคลำไส้ และบางรายได้รับยาแก้อักเสบ ซึ่งนั่นอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการแย่ลง ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว เด็กป่วยเป็นโรคเบาหวาน แต่ได้รับการวินิจฉัยที่คลาดเคลื่อน เป็นต้น 6.ปัสสาวะบ่อย (หากได้รับการตรวจจากแพทย์เฉพาะทางด้านโรคเบาหวาน และได้รับยาอินซูลิน ก็จะทำให้อาการของเด็กดีขึ้นภายใน 12-24 ชั่วโมง)

      ทั้งนี้ เด็กที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 นั้นยังไม่สามารถป้องกันได้ เพราะเกิดภาวะที่เซลล์ในตับอ่อนซึ่งทำหน้าที่ผลิตอินซูลินเสื่อม แต่สิ่งสำคัญคือการที่เด็กยุคใหม่ควรจะมีความรู้เกี่ยวกับฮอร์โมนอินซูลินว่าที่มีฤทธิ์อย่างไร และหากร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้จะมีผลกับร่างกายเด็กอย่างไร หรือแม้แต่การที่เด็กๆ ควรจะบริโภคอาหารประเภทแป้งและข้าวให้สมดุลกับระดับน้ำตาลในเลือด อีกทั้งเมื่อรู้ว่าตัวเองเป็นโรคเบาหวานแล้วจะต้องรู้จักวิธีการใช้เทคโนโลยีเกี่ยวกับโรคเบาหวานอย่างถูกต้อง เนื่องจากปัจจุบันผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องฉีดอินซูลินด้วยตัวเองแล้ว เพราะมีเครื่องปั๊มอินซูลินโดยการใส่สายยางไว้ใต้หรือบนผิวหนังของเรา จากนั้นตัวเครื่องจะเดินยาเข้าสู่ร่างกายโดยอัตโนมัติ โดยการใส่สายดังกล่าวสามารถทิ้งไว้ที่บริเวณผิวหนัง 3-4 วัน หรือแม้แต่การใช้อุปกรณ์ตรวจน้ำตาลที่ปลายนิ้ว ซึ่งเชื่อมต่อกับระบบมือถือรุ่นใหม่ ก็จะทำให้ผู้ป่วยเด็กสามารถเห็นระดับน้ำตาลผ่านรูปแบบกราฟ โดยไม่ต้องเจาะเลือดทุกวัน เป็นต้นค่ะ

        รศ.สุภาวดี บอกอีกว่า ปัจจุบันเด็กที่เป็นโรคเบาหวาน และมีอายุน้อยกว่า 18 ปี คิดเป็นร้อยละ 3% ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานทั้ง 2 ชนิด แต่ในอนาคตนั้นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จะเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ทำให้คนอ้วนขึ้น และมีน้ำหนักตัวเกิน ประกอบกับลักษณะทางกายภาพของคนเอเชียแปซิฟิกมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นการปรับไลฟ์สไตล์ การควบคุมอาหาร ไม่กินหวาน ไม่กินไขมัน ไม่กินเค็ม ก็เป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพ อีกทั้งการหมั่นออกกำลังกายเป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกัน เพราะถ้าหากผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ผลเสียทางด้านสุขภาพย่อมมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน อย่างการที่เบาหวานขึ้นตาแล้วทำให้ตาบอด หรือถ้าหากเบาหวานลงไต ก็จะทำให้ไตเสื่อม ซึ่งพบผู้ป่วยกลุ่มนี้คิดเป็นร้อยละ 40-50% หรือบางรายก็เป็นแผลเรื้อรังจากเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนปลายได้ไม่ดี ทำให้ต้องตัดขา หรือแม้แต่ภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลัน อย่างการช็อกหมดสติจากน้ำตาลในเลือดสูง กระทั่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในทันที เป็นต้น ดังนั้นโรคเบาหวานจึงเป็นสิ่งที่ทุกคนควรเฝ้าระวัง และป้องกันตัวเองให้ห่างไกลตั้งแต่เนิ่นๆ ค่ะ”.

 

เด็กไทยรับรู้เรื่องเบาหวาน?

(สุกฤตา เรืองปรีชา)

      น้องพลอย-สุกฤตา เรืองปรีชา นักเรียนชั้น ม.3 รร.วัดราชาธิวาส 

      น้องพลอยมีความรู้เรื่องเบาหวานอยู่บ้างค่ะ เพราะตัวเองก็กลัวโรคเบาหวาน เพราะถ้าหากว่าเป็นแล้วน่าจะทำให้การใช้ชีวิตค่อนข้างลำบาก เพราะต้องไปหาคุณหมอบ่อยๆ ส่วนหนึ่งก็กลัวว่าจะกระทบการเรียนค่ะ ส่วนสาเหตุของโรคเบาหวาน พลอยคิดว่าน่าจะมาจากการกินขนมหวาน ช็อกโกแลต เครื่องดื่มอย่างน้ำอัดลม หรือชาไข่มุก นอกจากนี้ พลอยก็พยายามไม่กินของหวาน นานๆ ก็จะกินสักครั้งค่ะ ส่วนตัวเองก็ไม่ได้เป็นเบาหวาน แต่ก็อยากให้เพื่อนๆ ที่ชอบกินของหวานกินให้น้อยลง และหันมาออกกำลังกาย เล่นกีฬาอะไรก็ได้ให้มากขึ้นค่ะ เช่น การเตะฟุตบอล หรือกิจกรรมที่ทางโรงเรียนจัดขึ้นค่ะ

(นันท์นภัส กุลจิตต์พักตร์)

        นันท์นภัส กุลจิตต์พักตร์ นักเรียนชั้น ม.1 รร.ศรีอยุธยา

      ถามว่ากลัวโรคเบาหวานไหม ส่วนตัวก็ต้องบอกว่ากลัวมากค่ะ เพราะถ้าเป็นแล้วก็ต้องควบคุมอาหารกินของหวานให้น้อยลง โดยเฉพาะไอศกรีม หรือน้ำอัดลม ส่วนตัวหนูก็มีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานอยู่บ้างค่ะ คือเกิดได้ 2 สาเหตุ คือกรรมพันธุ์ และการกินอาหารหวาน การไม่ออกกำลังกาย ส่วนตัวยังไม่เป็นเบาหวานและยังไม่มีเพื่อนในห้องเป็น และหนูก็ไม่อยากเป็นค่ะ เพราะมองว่าโรคเบาหวานไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไปค่ะ เพราะทุกคนมีสิทธิ์เป็นเท่ากัน ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ค่ะ สิ่งสำคัญก็ต้องกินของหวานให้น้อยลง และหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอค่ะ

(ธีรภาพ พึ่งภพ)

      ธีรภาพ พึ่งภพ นักเรียนชั้น ม.3 รร.สันติราษฎร์วิทยาลัย

      ผมคิดว่าถ้าหากป่วยเป็นโรคเบาหวานนั้นอาจก่อให้เกิดผลเสียในระยะยาว และแพร่กระจายไปสู่ร่างกายส่วนอื่น เช่น อาจทำให้ต้องตัดแขน ตัดขา กลายเป็นคนพิการ อีกทั้งทำให้ใช้ชีวิตค่อนข้างยากลำบากและเสียชีวิตในที่สุด ดังนั้นต้องป้องกันตัวเองตั้งแต่เนิ่นๆ โดยการไม่กินของหวาน เพราะถ้าหากป่วยแล้วจะลำบาก หรือถ้าต้องกินก็ให้บริโภคให้พอเหมาะ ส่วนตัวผมก็นานๆ จะกินของหวานครับ เพราะกลัวจะเป็นเบาหวาน เนื่องจากคุณพ่อเป็นเบาหวานครับ ประกอบคนไทยส่วนใหญ่ชอบปรุงรสอาหารหวาน มัน เค็ม ดังนั้นก็จำเป็นต้องลดการปรุงอาหารลง และหันมาเล่นกีฬาให้มากขึ้นครับ ซึ่งผมก็ทำอย่างนั้นอยู่ครับ”.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"