จาก Foxtrot 6 ถึง Untrue


เพิ่มเพื่อน    

((จากซ้ายไปขวา) ผู้กำกับ Randy Korompis กับนักแสดง Oka Antara)

    ระยะ 4-5 ปีที่ผ่านมา วงการภาพยนตร์อินโดนีเซียออกจะตื่นตัวกับหนังแนวแอคชั่น ศิลปะการต่อสู้ (martial arts) จะเห็นได้จากหนังแนวนี้หลายเรื่องที่โกอินเตอร์ อย่างเช่น The Raid และ Raid 2 รวมทั้งหนังเคเบิลซีรีส์ทาง Netflix เรื่อง Wu Assassins รวมทั้งล่าสุดเรื่อง Foxtrot 6 หนังแนวแอคชั่น ไซไฟ ที่ฉายเปิดตัวที่อินโดนีเซียเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา รวมทั้งเปิดตัวในตลาดอินเตอร์ในเทศกาลภาพยนตร์โตเกียวปีนี้ Foxtrot 6 เล่าเหตุการณ์ในอนาคต เมื่อโลกขาดแคลนอาหาร ประชาชนอดอยาก อีกทั้งผู้นำประเทศเห็นแก่ตัว กักตุน กดขี่ประชาชน ทำให้นักการเมืองฝ่ายค้านออกมาปกป้อง โดยส่งอดีตหน่วยคอมมานโด 6 คนออกมาช่วย หนังทำออกมาได้ดี ตื่นเต้น สมจริง เทคโนโลยี CGI (Computer Graphics Interface) ระดับอินเตอร์ และใช้ผู้แสดงซึ่งได้ฝึกฝนด้านศิลปะป้องกันตัวมาเป็นอย่างดีเป็นนักแสดง ที่สำคัญสุด ได้ Mario Kassar (Rambo, Air America, Terminator) มาเป็นโปรดิวเซอร์ แรนดี โคลอมปิส (Randy Korompis) ผู้กำกับและคนเขียนบท เล่าว่า เขาได้ที่อยู่อีเมล Mario Kassar จากเพื่อน จึงลองเขียนไปทาบทาม หลังจากนั้น 3 สัปดาห์ได้อีเมลตอบกลับว่าสนใจ ช่วงนั้นพอดีเขาอยู่ที่แอลเอ เรานัดเจอกันที่บ้านเขา ผมทำ presentation เอา story board อธิบาย หลังจากได้ฟังคำอธิบาย Mario Kassar บอกกับตนว่าจะเข้าร่วมโปรเจ็กต์นี้ และอาจเป็นเหตุบังเอิญ ในปี 2017 ผู้เขียนได้พบกับ Mario Kassar ที่กรุงเทพฯ ในเทศกาลภาพยนตร์ต่างประเทศที่ถ่ายทำในประเทศไทย Mario Kassar บอกกับผู้เขียนว่าเขากำลังจะไปทำหนังเรื่อง Foxtrot 6 ที่จาการ์ตา Mario บอกว่าที่นั่นค่าใช้จ่ายในการถ่ายทำ ทั้งด้านเทคนิค โลเกชั่น และทีมงานท้องถิ่น ราคาเท่ากับช่วงที่เขามาถ่าย Rambo, Air America ในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม Foxtrot 6 ก็ยังต้องมาทำด้าน Post production ตัดต่อ เสียง ที่สตูดิโอกันตนาในไทย


    สำหรับ หนังจากฟิลิปปินส์ปีนี้ที่นำมาฉายในเทศกาลภาพยนตร์โตเกียวหลายเรื่อง ทั้งจากงานของผู้กำกับ Brillante Mendoza เรื่อง Mindanao, The Halt ของผู้กำกับ Lav Diaz แต่เรื่องที่ผู้เขียนได้มีโอกาสดูชื่อเรื่อง Untrue จากผู้กำกับและนักเขียนบทหญิง Sigrid Andrea Bernardo ซึ่งงานของเธอหลายเรื่องได้รับรางวัลตามเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติหลายแห่ง รวมทั้งเรื่อง Kita Kita ที่ถ่ายทำในญี่ปุ่น ทำรายได้สูงสุดในฟิลิปปินส์ปี 2017 Untrue ถ่ายทำที่ประเทศ Georgia มารา หญิงสาวจากฟิลิปปินส์ ทำงานที่ร้านอาหาร พบรักแต่งงานกับโจคิม ชายฟิลิปปินโนที่ทำงานเป็นนายหน้าอิมพอร์ตไวน์จากจอร์เจีย ทั้งสองพบกันได้ 3 เดือนก็ตัดสินใจแต่งงาน ภาพตัดมาที่สถานีตำรวจ มาราในสภาพใบหน้าร่างกายถูกทำร้าย เข้าแจ้งความ เล่าเรื่องราวว่าสามีทุบตี ทำร้ายร่างกาย ครึ่งชั่วโมงต่อมาเป็นภาพโจคิม สามี สภาพร่างกายฟกช้ำ บาดเจ็บ เข้าแจ้งความกับตำรวจว่าภรรยาทำร้ายเขา ใครพูดจริง พูดเท็จ ล้วนแล้วแต่มีที่มาที่ไป และเหตุผล หนังเขียนบทได้ดีเกินคาด แถมได้เห็นทิวทัศน์และวิถีชีวิตคนจอร์เจีย เดี๋ยวนี้วงการภาพยนตร์ฟิลิปปินส์ไปไกลเกินกว่าที่คิด ไม่ใช่ทำแต่หนัง dark & depress กะเทาะเปลือกสังคมคนชั้นทำงานในประเทศ แต่ยังยกกองไปถ่ายทำนอกประเทศอยู่หลายเรื่อง เช่นเดียวกับเรื่อง Motel Acacia หนังทริลเลอร์ โรงแรมสยองที่เป็นที่พักของผู้อพยพลี้ภัย หนังยกกองไปถ่ายทำถึงสโลวีเนีย มี Bradley Liew ผู้กำกับเป็นคนจีน-มาเลย์ ดารามีทั้งดาราฟิลิปปินส์ สโลวัก รวมทั้ง วิทยา ปานศรีงาม จากไทยก็แสดงด้วย.

                        ดำรัส โรจนพิเชฐ


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"