ปล่อยน้ำช่วยภัยแล้ง


เพิ่มเพื่อน    

        จากสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นทุกปีกับประเทศไทย และยังส่งผลกระทบกับภาคการเกษตรที่ต้องใช้น้ำเป็นต้นทุนหลักในการทำงานนั้น ทำให้ผู้ประกอบการที่อยู่ในพื้นที่ที่มีปัญหาถูกลดทอนความสำคัญและบทบาทในการแข่งขันลงไป จนทำให้สูญเสียรายได้ จนทำให้เกิดผลกระทบในวงกว้างทั้งกระบวนการผลิต การเก็บเกี่ยว ผลผลิต รวมถึงตลาดและพ่อค้าแม่ขายอีกด้วย

                และจากปัญหานี้ถึงจะมีหลายหน่วยงานที่ให้ความสำคัญและเข้าช่วยเหลือบ้างแล้ว รวมถึงชาวบ้านหรือผู้ประกอบการเองก็เริ่มรับรู้ถึงแนวทางแก้ไขปัญหา ไม่ว่าจะทำการขุดบ่อกักเก็บน้ำ ทำฝายชะลอน้ำ หรือกระบวนการอื่นๆ เพื่อเยียวยาภาคการเกษตรในช่วงที่ฤดูน้ำแล้งได้บ้าง แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังเป็นเรื่องที่ต้องการการแก้ไขเพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา เพราะต้องยอมรับว่าปัจจัยพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในโลกนั้น ทำให้เกิดผลกระทบด้านภัยแล้งนั้นเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี

                และในปีนี้ภัยแล้งในประเทศไทยก็เริ่มส่งสัญญาณให้เห็นบ้างแล้วในบางพื้นที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็เริ่มตื่นตัวแล้วรวมถึงกระทรวงอุตสาหกรรม ที่แม้จะไม่เกี่ยวข้องกับภาคการเกษตรมากนัก แต่ก็ยังอยู่ห่วงโซ่เดียวกันเนื่องจากภาคอุตสาหกรรมบางด้านก็ต้องอาศัยวัตถุดิบจากภาคการเกษตร จึงต้องเป็นเรื่องเกี่ยวโยงที่ต้องดูแลกันทั้งระบบ

                โดยล่าสุด ทางนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้สั่งการให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) สำรวจปริมาณน้ำทิ้งของโรงงาน 12 ประเภท ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 7,621 โรงงาน ที่สามารถนำน้ำทิ้งไปใช้ประโยชน์ในภาคเกษตรกรรมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในภาวะที่ปริมาณน้ำในภาคเกษตรประสบปัญหาภัยแล้งรุนแรง โดยคุณลักษณะของน้ำทิ้งต้องเป็นน้ำที่ผ่านการบำบัดตามมาตรฐานของกระทรวงอุตสาหกรรม และมีคุณภาพสามารถใช้ในการเกษตรได้ โดยมีเป้าหมายที่จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับพี่น้องเกษตรกรให้สามารถผ่านวิกฤติภัยแล้งไปได้ในกรณีที่เกิดภัยแล้งขั้นรุนแรง

                สำหรับโรงงาน 12 ประเภท ประกอบด้วย โรงงานจำพวก 3 ประกอบกิจการเกี่ยวกับสัตว์ ซึ่งไม่ใช่สัตว์น้ำ, กิจการเกี่ยวกับนม, กิจการเกี่ยวกับสัตว์น้ำ, กิจการเกี่ยวกับน้ำมันจากพืชหรือสัตว์หรือไขมันจากสัตว์, กิจการเกี่ยวกับผัก พืชหรือผลไม้,  กิจการเกี่ยวกับเมล็ดพืชหรือหัวพืช, กิจการเกี่ยวกับอาหารจากแป้ง, กิจการเกี่ยวกับน้ำตาล, กิจการเกี่ยวกับชา กาแฟ โกโก้ ช็อกโกแลต หรือขนมหวาน, กิจการเกี่ยวกับเครื่องปรุงหรือเครื่องประกอบอาหาร, กิจการเกี่ยวกับอาหารสัตว์ และกิจการปรับคุณภาพของเสียรวม เฉพาะการบำบัดน้ำเสียของโรงงานทั้งหมดที่กล่าวไว้

                สำหรับในปี 59 ที่ผ่านมา กระทรวงได้ประสานโรงงานอุตสาหกรรมจนสามารถนำน้ำทิ้งจำนวน 772,560 ลบ.ม. (ไม่เกิน 10 ลบ.ม.ต่อไร่ต่อวัน) ช่วยเหลือเกษตรกรที่แจ้งความประสงค์ขอใช้น้ำทิ้งจำนวน 4,419 ไร่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรชาวไร่อ้อย ข้าวโพด ปาล์ม มันสำปะหลัง ถั่วเขียว เป็นต้น และที่สำคัญโรงงานอุตสาหกรรมยังมีศักยภาพในการนำน้ำทิ้งช่วยเหลือเกษตรกรได้เพิ่มอีก หากเกษตรกรแจ้งความจำนงในการขอใช้น้ำทิ้ง

                นายสุริยะกล่าวว่า ที่ผ่านมามีหลายฝ่ายเริ่มแสดงความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ภัยแล้ง ดังนั้นในส่วนของกระทรวงอุตสาหกรรมก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ จึงได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวัง และติดตามสถานการณ์ภัยแล้งอย่างใกล้ชิด ซึ่งที่ผ่านมาในปี 59 ทางกระทรวงอุตสาหกรรมเคยได้ออกประกาศเรื่องหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการพิจารณาอนุญาตโรงงานอุตสาหกรรมนำน้ำทิ้งของโรงงานไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่เกษตรกรรมในช่วงภัยแล้ง ซึ่งเป็นช่วงเวลาเฉพาะกิจที่อนุญาตให้โรงงานจำพวกที่ 3 ที่ประกอบกิจการเกี่ยวกับเกษตรและผลิตภัณฑ์อาหาร ที่มีเงื่อนไขห้ามระบายน้ำออกนอกโรงงาน  ให้สามารถนำน้ำทิ้งจากโรงงานที่เป็นไปตามมาตรฐาน ส่งต่อให้เกษตรกรเพื่อสู้ภัยแล้งได้

                ซึ่งถือว่าเป็นการทำงานที่เห็นผลชัดเจนและแก้ไขปัญหาได้อย่างดี โดยให้ความสำคัญทั้งเรื่องการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกร และการวางแผนรับมือภัยแล้งในภาคอุตสาหกรรมไปพร้อมๆ กัน แต่ในส่วนของผู้ประกอบการเองก็ต้องทำความเข้าใจและช่วยกันประหยัดการใช้น้ำ รวมถึงการดูแลการดำเนินกิจการที่ไม่ให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย.

 ณัฐวัฒน์ หาญกล้า

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"