ชงคสช.งัดม.44 พักหนี้ทีวีดิจิทัล หวั่นสายไปแล้ว


เพิ่มเพื่อน    


    รัฐบาลเรียก กสทช.-ทีวีดิจิทัลคุย หลัง "เจ๊ติ๋ม" ชนะคดี "ฐากร" เผยได้ข้อสรุปต่อลมหายใจ พักชำระหนี้ 3 ปี แต่ไม่ปลอดดอกเบี้ย ขอแก้ตัวเร่งสนับสนุนโครงข่าย ขณะที่ "หยุ่น" ชี้สายไปแล้ว เพราะ 3 ปีที่ผ่านมาทีวีดิจิทัลทรุดหนัก
    ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย เชิญผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) หารือแนวทางช่วยเหลือผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล
    นายวิษณุกล่าวก่อนการหารือว่า ในการประชุมวันนี้จะมีผู้ประกอบการที่ปฏิบัติได้ตามเวลาและผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติตามเวลามาพูดคุยกันทั้งหมด 
    ผู้สื่อข่าวถามว่า นำกรณีที่ศาลปกครองพิพากษาให้กสทช.คืนเงินค้ำประกันให้กับไทยทีวีมาพิจารณาด้วยหรือไม่ รองนายกฯ ยืนยันว่า ไม่ยก แต่ถ้าใครจะยกก็ไม่ว่าอะไร เอกชนจะยกอะไรก็ยกกันมา ซึ่งความจริงแล้ว กสทช.เขารับผิดชอบโดยตรงอยู่แล้ว รัฐบาลจะไม่ยกอะไรทั้งนั้น แต่ทางกฤษฎีกาและอัยการก็เตรียมการให้รัฐบาลอยู่แล้ว ทั้งนี้ เขาคงรอดูกันมากกว่าว่ารัฐบาลจะช่วยอะไร ถ้ารัฐบาลช่วยเขาคงไม่ถอน ถ้ารัฐบาลไม่ช่วยเขาก็คงถอน แล้วก็คงไปฟ้องร้องกันต่อ
    ด้านนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. เปิดเผยภายหลังการหารือว่า ในส่วนของทีวีดิจิทัล ทุกฝ่ายเห็นร่วมกันในมาตรการพักชำระหนี้ ภายในระยะเวลา 3 ปี โดยผู้ที่จะยื่นเรื่องการพักชำระหนี้จะต้องยื่นกับคณะกรรมการ กสทช. ภายใน 30 วัน และต้องจ่ายอัตราดอกเบี้ยตามนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย นอกจากนี้ กสทช.จะสนับสนุนเรื่องโครงข่ายภาคพื้นดินไม่เกินร้อยละ 50 เปอร์เซ็นต์ ภายในระยะเวลา 24 เดือน ขณะที่มาตรการช่วยเหลือด้านโทรคมนาคม ในส่วนคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ที่มีปัญหาการชำระเงินประมูลงวดที่ 4 ทั้งค่ายเอไอเอสและทรูมูฟ ที่ประชุมมีมติให้แบ่งชำระเป็นงวด 5 ปี ปีละหมื่นล้านบาทเศษ โดยจะต้องชำระอัตราดอกเบี้ยตามนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยเช่นเดียวกัน 
    อย่างไรก็ตาม นายวิษณุจะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมร่วมคณะรัฐมนตรีและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในวันที่ 27 มี.ค.นี้ เพื่อพิจารณาออกคำสั่งมาตรา 44 ซึ่งคาดว่าจะสามารถออกคำสั่งได้ภายในเดือน มี.ค.นี้ ทั้งนี้ บรรยากาศการหารือกับผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลทุกช่องเป็นไปอย่างราบรื่น ทุกฝ่ายแฮปปี้
    ด้านนายสุภาพ คลี่ขจาย นายกสมาคมทีวีดิจิทัลแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ทุกฝ่ายต่างเห็นด้วยกับมาตรการช่วยเหลือดังกล่าว ซึ่งระยะเวลาการพักหนี้ 3 ปี มีความหมายต่อผู้ประกอบการ ในการนำเงินที่ต้องจ่ายค่างวดไปพัฒนาเนื้อหาและบุคลากร นอกจากนี้ยังเห็นว่าหาก กสทช.เร่งดำเนินการแจกกล่องทีวีดิจิทัล ก็จะส่งผลให้คนที่ดูช่องหลักเดิมมีโอกาสดูช่องอื่นๆ ได้เพิ่มมากขึ้น และตัวเลขโฆษณาก็จะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งนั่นจะเป็นหนทางอยู่รอดของทีวีดิจิทัลด้วย
    นายสุทธิชัย หยุ่น ผู้ดำเนินรายการ กาแฟดำ จำกัด กล่าวว่า กสทช.มุ่งแต่จะควบคุม แต่ไม่ส่งเสริม ขณะเดียวกัน กสทช.ไม่เข้าใจเรื่องนี้ จึงทำให้เกิดวิกฤติแก่กลุ่มผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล แม้อาจจะมีการเยียวยาเกิดขึ้น ถึงเวลานั้นอาจจะสายเกินไป เนื่องจาก 3 ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมทีวีดิจิทัลทรุดลงอย่างมาก ขณะเดียวกันเวลานี้ส่วนใหญ่โครงสร้างทีวีเป็นของนายทุน ซึ่งอาจจะมุ่งเน้นเรื่องของกำไรและรายได้เป็นหลัก ในแง่ของคอนเทนต์ดีๆ เป็นประโยชน์ต่อผู้ชมอาจจะน้อยลง
    นายเขมทัตต์ พลเดช กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เผยว่า ตอนนี้คดีความดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุด คงยังบอกอะไรได้ไม่ชัด แต่ระหว่างนี้อาจจะมีระเบียบอะไรออกมาเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ มองว่าน่าจะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมทีวี 
        ส่วนอุตสาหกรรมทีวีมีการแข่งขันสูง และมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามา จึงมองว่า กสทช.ต้องทบทวนว่าการที่เน้นเรื่องของการควบคุมสื่อเพียงอย่างเดียวเพียงพอหรือไม่ ควรที่จะส่งเสริมให้สู้กับสื่ออื่นได้ หรือควรมีแผนรับมือทำให้ทั้งสองสื่อแข็งแรงไปด้วยกัน สามารถรับชมคอนเทนต์ได้หลายช่องทาง และในแง่ของทีวีดิจิทัล หากรายใดต้องยุติการออกอากาศลงเป็นเรื่องเหตุผลทางธุรกิจ ต้องนำหลายปัจจัยมารวมกัน แต่ในภาพรวมจะทำให้อุตสาหกรรมทีวีขับเคลื่อนได้ดีขึ้น ตัดสินใจเร็วขึ้น รัฐบาลเองไปได้เร็วขึ้น กสทช.เห็นผลงานการทำงานของตัวเองได้เร็วขึ้น ทั้งนี้ กรณีการขอให้ลดค่ามัคส์นั้น มองเป็นเรื่องที่ดีสำหรับผู้ประกอบการ แต่ในมุมของผู้ให้บริการโครงข่าย ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้น หรือเข้ามาจ่ายให้แทน.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"