ย้ำมติ'27พ.ย.' เรื่องแบน3สาร มีผลบังคับใช้!


เพิ่มเพื่อน    


    "ผู้ทรงคุณวุฒิ คกก.วัตถุอันตราย" ยันมติเอกฉันท์เลื่อนแบน 2 สารพิษ และจำกัดการใช้ 1 สารเคมี ดำเนินการถูกต้องตาม กม. ระบุกรรมการทุกคนแสดงความคิดเห็น ก่อนส่วนใหญ่เห็นชอบ ขอทุกฝ่ายฟังข้อมูลให้รอบคอบ "โฆษก ภท." ลั่นพรรคไม่มีผลประโยชน์แบน-ไม่แบน แค่คำนึงถึงสุขภาพ ปชช.
    เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. นายภักดี โพธิศิริ ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการวัตถุอันตราย (คกก.วัตถุอันตราย) กล่าวถึงกรณี คกก.วัตถุอันตราย ที่มีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม เป็นประธาน แถลงผลการประชุมวันที่ 27 พ.ย. มีมติเอกฉันท์เลื่อนแบนสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 2 สาร และจำกัดการใช้ 1 สาร ว่าในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิฯ เห็นด้วยกับที่ประชุม โดยการประชุมดำเนินไปตามขั้นตอนของกฎหมาย อยากให้ประชาชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายรับฟังข้อมูลทุกฝ่ายให้รอบคอบ
    นายภักดีกล่าวว่า เดิมปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นำเสนอความคืบหน้าออกประกาศกำหนดให้สารทั้ง 3 ตัวเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.2562 ตามมติ คกก.วัตถุอันตราย เมื่อวันที่ 22 ต.ค. ว่าได้ไปจัดเตรียมการสำหรับการแบนตามกำหนดแล้ว แต่พบปัญหาอุปสรรคไม่สามารถดำเนินการได้ทันเวลา เนื่องจากการยกเลิกสารทั้ง 3 ตัวมีผลกระทบต่อเกษตรกรและอุตสาหกรรมต่อเนื่องอย่างมาก ทำให้รัฐต้องใช้เงินเป็นจํานวนมากในการแก้ปัญหาทั้งระบบ จึงเสนอในที่ประชุมขอใช้มาตรการจํากัดการใช้ทั้ง 3 สารเช่นเดิม แต่ขอลดระยะเวลาการจำกัดการใช้จากเดิมที่กําหนดไว้ 2 ปี เป็น 1 ปี 
    "ประธานได้เปิดโอกาสให้กรรมการทุกท่านแสดงความเห็นอย่างเต็มที่ และกรรมการส่วนใหญ่เสนอให้ออกประกาศโดยปรับพาราควอตและคลอร์ไพริฟอสเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 แต่ให้มีขยายเวลาในการยกเลิกไปอีก 6 เดือน ซึ่งน่าจะเป็นระยะเวลาที่เหมาะสมที่สุด เพื่อให้กรมวิชาการเกษตรไปเร่งรัดการเตรียมความพร้อมในเรื่องของสารทดแทนหรือวิธีการอื่นๆ ที่เหมาะสม และมาตรการรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น" นายภักดีกล่าว
    ผู้ทรงคุณวุฒิใน คกก.วัตถุอันตรายกล่าวว่า สำหรับไกลโฟเซต ที่ประชุมเห็นว่ายังไม่สมควรประกาศเป็นชนิดที่ 4 และขอให้ใช้มาตรการจํากัดการใช้ไปก่อน เนื่องจากสารดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมต่อเนื่องอย่างมาก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ และมอบหมายให้กรมวิชาการเกษตรต้องมีการติดตามเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง และนำมารายงานคณะกรรมการฯ ทุก 3 เดือน โดยเฉพาะข้อมูลวิชาการเกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยงของไกลโฟเซตในสหรัฐอเมริกา โดย EPA มีค่า LD50 oral มากกว่า 5,๐๐๐ mg/kg และจัดเป็นสารก่อมะเร็ง ประเภท 2A คือยังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ และสหรัฐอเมริกายังคงอนุญาตให้ใช้ได้ 
    "ช่วงท้ายการประชุม ฝ่ายเลขานุการได้พิมพ์ร่างมติเพื่อให้ที่ประชุมพิจารณา ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาปรับแก้ร่างมติจนเป็นที่พอใจในระดับหนึ่ง และประธานได้สอบถามกรรมการว่าเห็นด้วยหรือไม่ กรรมการส่วนใหญ่เห็นด้วย แต่มีกรรมการบางท่านแจ้งว่าไม่เห็นด้วยสำหรับมติที่จะกำหนดให้แบนสาร 2 ตัว ภายใน 6 เดือน เนื่องจากเห็นว่าระยะเวลาที่จะกำหนดควรต้องให้กรมวิชาการเกษตรไปศึกษาข้อมูลให้ชัดเจนก่อน จึงค่อยนำมาพิจารณากำหนด และมีกรรมการบางท่านขอตั้งเป็นข้อสังเกต ซึ่งฝ่ายเลขาฯ ขอให้ที่ประชุมรับรองมติด้วย" ผู้ทรงคุณวุฒิใน คกก.วัตถุอันตรายผู้นี้กล่าว
    ขณะที่ พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ในฐานะโฆษกพรรคภูมิใจไทย (ภท.) กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวพรรค ภท. โดยนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และ รมว.สาธารณสุข มีนโยบายชัดเจน คือเราเห็นสุขภาพประชาชนสำคัญที่สุด จึงมีนโยบายที่จะต้องเลิกใช้ 3 สารเคมีดังกล่าว ซึ่งพรรคไม่ได้มีผลประโยชน์อื่นใดในทางมิชอบอย่างแน่นอน มีผลประโยชน์อย่างเดียวที่จะได้คือ สุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน และพี่น้องเกษตรกร ที่หากเลิกใช้สารเคมีดังกล่าวก็จะเป็นผลดีต่อสุขภาพ 
    "นายอนุทินรวมถึงรัฐมนตรีมนัญญา ไทยเศรษฐ์ ในฐานะ รมช.เกษตรฯ ที่กำกับดูแลกรมวิชาการเกษตรก็ได้ทำเต็มที่ ช่วยกันผลักดัน เรียกว่าสุดซอยแล้ว เพื่อปกป้องสุขภาพ รักษาชีวิตพี่น้องประชาชน แต่ทั้งหมดมีกระบวนการที่เป็นไปตามกฎหมายอยู่ ก็ไม่เป็นไร หลังจากนี้นายอนุทินก็จะได้เดินหน้าเพื่อรักษาป้องกันสุขภาพประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการใช้สารเคมีเหล่านี้ต่อไป” โฆษกพรรค ภท.กล่าวว่า
    ด้าน ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป สถาบันเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวถึงปัญหาเรื่องแบนหรือไม่แบนสารพิษว่า ความไม่ชัดเจนในกระบวนการตัดสินใจในการแบนหรือไม่แบนสารเคมี 3 ชนิด และการขาดการเตรียมการรองรับผลกระทบทางเศรษฐกิจ จะส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรมและเกษตรกร ซึ่งจะซ้ำเติมความยากลำบากทางเศรษฐกิจ ผู้ผลิตที่ใช้สารเคมีและประชาชนก็ไม่มีหลักประกันในเรื่องสุขภาพและคุณภาพชีวิต การตัดสินใจควรอยู่บนหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และยึดถือประโยชน์และคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
    "การตัดสินใจไม่แบนสารไกลโฟเซต คกก.วัตถุอันตรายและรัฐบาลต้องตอบคำถามต่อประชาชนชาวไทยว่าทำไมจึงมีผู้ป่วยมะเร็งในสหรัฐยื่นฟ้องร้องบริษัท มอนซานโต้ฯ ผู้ผลิตสารไกลโฟเซตมากถึง 11,200 คดี ขณะเดียวกันขอให้คณะกรรมการฯ และรัฐบาลลองไปศึกษาดูว่าทำไมศรีลังกาประกาศยกเลิกการใช้สารไกลโฟเซตไปเมื่อปี พ.ศ.2558 จึงได้ทบทวนกลับมาใช้อีกในปีพ.ศ.2561 มีปัจจัยอะไรที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจกลับไปกลับมาดังกล่าว และช่วยชี้แจงต่อสาธารณชนให้รับทราบ เนื่องจากเรื่องดังกล่าวเกี่ยวข้องกับสุขภาพอนามัยและเศรษฐกิจของประเทศ" ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูปฯกล่าว. 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"