บุคลากรป้อนอีอีซี


เพิ่มเพื่อน    

     การพัฒนาพื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ไม่ใช่เพียงจะลุยปรับหน้าดิน หรือหานักลงทุนมาลงอย่างเดียว เพราะต้องมีปัจจัยอื่นๆ ที่พ่วงมาด้วย ทั้งการจัดโซนการลงทุน การกำหนดสิทธิพิเศษ การสนับสนุนด้านสาธารณูปโภคโครงสร้างพื้นฐาน ข้อกำหนด กฎหมาย และอื่นๆ แต่ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นส่วนใหญ่จะถูกดำเนินการไปเกือบหมดแล้ว และมีแผนงานค่อนข้างจะชัดเจน จึงมีหลายฝ่ายกล้าการันตีว่าโครงการดังกล่าวไม่ยุบ ไม่พับแผน และไม่ล่มแน่นอน

                แต่ขณะเดียวกันก็ยังมีปัจจัยเล็กน้อยที่ถือว่าเป็นฟันเฟืองสำคัญในการจะผลักดันอีอีซีให้เกิดได้อย่างสมบูรณ์แบบด้วย หนึ่งในนั้นก็คือเรื่องของการพัฒนาบุคลากร แรงงาน และการเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ เนื่องจากเป็นปัจจัยเล็กๆ ที่สำคัญมากเช่นกัน เพราะนักลงทุนส่วนใหญ่นอกจากจะมองถึงความก้าวหน้าของโครงการ หรือสิทธิประโยชน์แล้ว คนทำงานให้ หรือแรงงานก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน

                ที่ผ่านมาฝั่งรัฐบาลเองก็เห็นถึงความสำคัญในการจะพัฒนาด้านนี้ จึงเกิดการตั้งคณะทำงานมาเพื่อพิจารณาและผลักดันนโยบายที่จะทำให้บุคลากรหรือแรงงานในพื้นที่อีอีซีนั้นสามารถรองรับการเติบโตได้ โดยตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาบุคลากรตามแนวทางอีอีซีโมเดลขึ้นมา และก็ได้เกิดการประชุมครั้งแรกไปเมื่อเร็วๆ นี้ โดยมี นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธาน

                ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ดำเนินการวิเคราะห์และสรุปความต้องการกำลังคนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย และโครงการโครงสร้างพื้นฐานสำคัญในอีอีซี โดยคณะทำงานประสานงานด้านการพัฒนาบุคลากรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC-HDC) พบว่า ในช่วง 5 ปี (2562-2566) มีความต้องการแรงงานทักษะสำคัญ จำนวน 475,793 อัตรา อุตสาหกรรม 3 อันดับแรกที่มีความต้องการมากที่สุด ได้แก่ ดิจิทัล 24% จำนวน 116,222 ตำแหน่ง โลจิสติกส์ 23% จำนวน 109,910 ตำแหน่ง และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 12% จำนวน 58,228 ตำแหน่ง

                จึงเกิดกรอบความคืบหน้าขั้นตอนการดำเนินงานการพัฒนาบุคลากรในอีอีซี ในระยะเวลา 2 ปี ว่า 1.ต้องสนับสนุนบัณฑิตอาสาเพื่อพัฒนาชุมชนในพื้นที่อีอีซี ซึ่งได้เปิดรับสมัครคัดเลือกบัณฑิตระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่สำเร็จการศึกษาไม่เกิน 3 ปี จำนวน 120 คน เพื่อเข้าฝึกอบรม 2 เดือน จากนั้นเข้าทำงานใน 30 อำเภอ ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง เป็นระยะเวลา 1 ปี

                2.การสอนภาษาอังกฤษเชิงเทคนิคด้วยระบบ CLIL หรือการสนับสนุนให้ครูผู้สอนไทย-อังกฤษทำงานร่วมกัน เพื่อให้วิชาชีพต่างๆ ใช้ทำงานในอนาคต เพื่อสร้างอาชีวะอินเตอร์ โดยจะดำเนินการในระยะแรก ตั้งแต่ ต.ค.62 - มี.ค.63 ให้พัฒนาการสอนภาษาอังกฤษในสถาบันอาชีวศึกษาใน 10 สาขาวิชา ครอบคลุมสถาบันอาชีวศึกษาของรัฐ 37 แห่ง ในภาคตะวันออก มีครูเข้าร่วมอบรม 400 คน เพื่อยกระดับศักยภาพของผู้เรียนให้ทัดเทียมสากล สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษในวิชาชีพของตนเองได้อย่างมั่นใจ

                และ 3.การพัฒนาบุคลากรในหลักสูตรระยะสั้น ให้รู้เท่าทันและเชี่ยวชาญเทคโนโลยี โดยอีอีซีได้จัดหลักสูตรฝึกอบรมทักษะที่สำคัญเพื่อตอบโจทย์การทำงานยุคใหม่ ทั้งด้านอีคอมเมิร์ซ ปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ซึ่งจะดำเนินการจัดอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากร จำนวน 10,000 คน ภายใน 4 ปี ซึ่งได้หารือบริษัทข้ามชาติชั้นนำระดับโลก ทั้งหัวเว่ยและไมโครซอฟต์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

                อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงแผนงานเบื้องต้นที่จะดำเนินการพัฒนาบุคลากรในพื้นที่อีอีซี ตามเสียงเรียกร้องจากฝั่งเอกชนว่า หากจะลงทุนจะต้องมีแรงงานที่มีทักษะรองรับอุตสาหกรรมนั้นๆ เพียงพอ ซึ่งก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี และในอนาคตเชื่อว่าจะมีแผนงานที่ครอบคลุมและเข้มข้นกว่านี้ ซึ่งก็ต้องฝากไปยังหน่วยงานที่เป็นผู้ดำเนินการว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องสำคัญ มั่นใจว่าจะเป็นหมากตัวสำคัญในการดึงดูดการลงทุนได้หากเกิดผลสำเร็จที่สวยงาม.

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"