ปัญญาภิวัฒน์ ปักหมุดเปิดวิทยาเชตEEC   ผลิตบัณฑิตป้อนอุตสาหกรรมS-CURVE


เพิ่มเพื่อน    

     

    7ธ.ค.-62-ตามทิศทางนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลปัจจุบัน  ชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยกำลังเข้่าสู่จุดเปลี่ยน ต้องมีการปรับฐานใหม่ และระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรืออีอีซี กำลังเป็นความหวังของการสร้างฐานเศรษฐกิจไทยในอนาคต 
    และนับว่าเป็นความฉับไว ตอบรับต่อทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ  สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM)  จึงได้ตัดสินใจ เปิดสถาบันจัดการปัญญาภิวัฒน์ วิทยาเขตEECหรือ “PIM EEC” แห่งแรกของไทย ในพื้นที่แถบพัทยา จ.ชลบุรี  ซึ่งถือว่าเป็นปากประตูบ้านของอีอีซี   โดยนำเสนอสองหลักสูตร ได้แก่ วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอัตโนมัติ และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัล   ป้อนกลุ่มอุตสาหกรรม S-Curve ของอีอีซี   ซึ่งระหว่างนี้วิทยาเขต PIM EEC อยู่ในช่วงการก่อสร้างอาคาร โดยคาดว่าแล้วเสร็จภายในปี 2563 พร้อมเปิดการเรียนการสอนในปีเดียวกัน


    นางปาริชาต บัวขาว ผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายสื่อสารองค์กรและการตลาดสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ กล่าวว่า ทิศทางความต้องการจ้างงานใหม่ ในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) คาดว่าระหว่างปี 2562-2566 จะสูงถึง 475,668 อัตรา  ซึ่งเป็นผลจาก นโยบายของรัฐบาล ที่ได้ผลักดันการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ใช้เทคโนโลยีสูงและกิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่นๆ ที่ต้องมีเทคโนโลยีขั้นสูงเข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่ออนาคตที่ยั่งยืนของประเทศไทยในพื้นที่ อีอีซี     ประกอบด้วยจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรีและระยอง       โดยปัจจัยเหล่านี้ทำให้เกิดความต้องการ  ทางด้านแรงงานในพื้นที่ดังกล่าว ส่วนความต้องการจ้างงานใหม่ประมาณ  ประกอบด้วย กลุ่มงานด้านดิจิทัลมีความต้องการสัดส่วนสูงที่สุดถึง 24% คิดเป็น      116,222 อัตรา ด้านโลจิสติกส์ 23% คิดเป็น 109,910 อัตรา ด้านอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 12% คิดเป็น 58,228 อัตรา ด้านยานยนต์แห่งอนาคต 11% คิดเป็น 53,738 อัตรา ด้านหุ่นยนต์ 8% คิดเป็น 37,526 อัตรา ด้านการบิน-อากาศยาน 7% คิดเป็น 32,836 อัตรา การขนส่งระบบราง 5% คิดเป็น 24,246 อัตรา การท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 4% คิดเป็น 16,920 อัตรา การพาณิชย์นาวี 3% คิดเป็น 14,630 อัตรา และการแพทย์ครบวงจร 2% คิดเป็น 11,412 อัตรา


    สำหรับ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์  นางปาริชาติ กล่าวว่า เป็นสถาบันอุดมศึกษาภายใต้บริษัท บริษัท ซีพี ออลล์ จํากัด (มหาชน) ซึ่งก่อตั้งขึ้นตามดำริของ นายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)   ที่มีความมุ่งมั่นสร้างบัณฑิต ที่มีทั้งความรู้ความสามารถให้ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ Thailand 4.0 โดยเฉพาะในพื้นที่อีอีซี   และเชื่อว่าปัญญาภิวัฒน์ วิทยาเขต อีอีซี  จะช่วยสนับสนุนการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศไทย ผ่านการสร้างคน ที่มีทั้งความรู้ความสามารถ การควบคุมดูและการบริหารจัดการ  รวมทั้ง ผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับธุรกิจระบบราง ที่ปัจจุบันทั้งไทยและกลุ่มประเทศอาเซียนยังงขาดแคลนบุคลากรกลุ่มนี้มาก   อีกทั้งเป็นการเตรียมบุคลากรมืออาชีพที่มีความพร้อมทำงานในยุคดิจิทัล  โดยมุ่งสร้างพื้นฐานของการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม พร้อมเป็นต้นแบบการสร้างคนแห่งอนาคต 


    "เรายังมีเป้าหมายให้ PIM EEC ได้พัฒนางานวิจัยและเทคโนโลยี  ก่อให้เกิดแหล่งความรู้ทางธุรกิจ การท่องเที่ยว อาหาร การเกษตรและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน รองรับการขยายธุรกิจและอุตสาหกรรมทั้งในปัจจุบันและอนาคตอีกด้วย"รองอธิการบดีกล่าว


    ด้านการเรียนการสอน ในระดับปริญญาตรี ประกอบด้วย คณะนวัตกรรมและเทคโนโลยี จำนวน 2 หลักสูตร คือ 1.หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอัตโนมัติ เน้นการเรียนการสอนเรื่องการออกแบบและติดตั้งระบบอัตโนมัติ ระบบเทคโนโลยีรถไฟ ระบบเทคโนโลยีค้าปลีก สำหรับภาคอุตสาหกรรมและบริการสมัยใหม่ เช่นอุตสาหกรรม 4.0 เมืองอัจฉริยะ (Smart City) เกษตรกรรมสมัยใหม่ (Smart Farming) และ 2.หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัล เป็นหลักสูตรที่เรียนรู้ IoT, Big Data, Machine Learning และ AI นำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติจริง ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม โดยมีเนื้อหาครอบคลุมเทคโนโลยีดิจิทัล ด้านปัญญาประดิษฐ์ และความมั่นคงของระบบเทคโนโลยีดิจิทัล (Cyber Security)


     โดยทั้ง 2 หลักสูตรนี้ ได้มีการออกแบบห้องปฏิบัติการโดยนำเครื่องมือ และเทคโนโลยีต่างๆ ที่ใช้จริงในสถานประกอบการมาใช้ในการเรียนการสอน อาทิ ระบบเทคโนโลยีควบคุมอัตโนมัติสำหรับระบบแคมปัสอัจฉริยะ (Smart Campus) และระบบฟาร์มอัจฉริยะ (Smart Farming) เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติงานจริง สามารถนำความรู้และประสบการณ์ดังกล่าว ไปประยุกต์ใช้กับการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมและสถานประกอบการภาคบริการทั่วประเทศ นับเป็นความโดดเด่นของหลักสูตรที่นี่ ที่แตกต่างจากสถาบันอื่นๆที่มีการเรียนด้านวิศวะกรรมศาสตร์ หรือเทคโนโลยีอยู่แล้ว 


    นอกจากนี้ยังได้เปิดการเรียนการสอน คณะนวัตกรรมการจัดการ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจดิจิทัล เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่นักศึกษา โดยหลักสูตรดังกล่าวเป็นสาขาวิชาชีพที่มีความต้องการของตลาดแรงงานในพื้นที่ EEC ในระดับสูง


    "ผู้ออกแบบหลักสูตร เป็นคณาจารย์มาจากมหาวิทยาลัยหลายแห่งที่มีประสบการณ์ เรื่อง ออโตเมชั่น ซึ่งเรามองว่า อีอีซี จะทำให้มีโรงงานเกิดเยอะขึ้น  จะมีความต้องการคนที่มีความรู้เรื่องออโตเมชั่นมาก เพราะโรงงานอนาคตจะไม่ค่อยใช้คน ใช้แต่หุ่นยนต์ ใช้อุปกรณ์ต่างๆ  คนที่เรียนเรื่องออโตเมชั่น จะต้องรู้เรื่องการบำรุงรักษา การควบคุม และเราเน้นเรียนทฤษฎีให้น้อยลง  แต่ปรับหลักสูตรให้เป็นจริงเหมือนการทำงานมีห้องปฎิบัติการทำจริง จำลองเรื่องจริง เด็กเรียนแล้วคิดเองได้ ทำงานเป็นทีมได้ ต่อไปถ้าใครทำงานเป็นทีมไม่ได้จะตกงาน ไม่ใช่การเรียนแบบโบราณ  นับเป็นความคล่องตัวของหลักสูตร คาดว่าเรียนจบแล้วผู้เรียนสามรถปฎิบัติงานได้ทันที ไม่ต้องไปเริ่มเรียนรู้ใหม่อีก ส่วนเรื่องระบบราง ที่มีความต้องการคนมาก แม้แต่ระบบTransit  ด้วยระบบราง ในกทม.ก็มีคนด้านนี้ไม่พอ ซึ่งเราก็จะความร่วมมือกับทางมหาวิทยาลัยในจีนในเรื่องนี้ต่อไป " 

ขณะนี้สถาบันกำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างคาดว่าแล้วเสร็จและเปิดการเรียนการสอนในปี2563


    สำหรับ PIM EEC จะเปิดการเรียนการสอนในปี 2563 คาดว่าในปีแรกจะมีนักเรียนประมาณ 700คน และถ้ามีการเปิดรับสมัครเต็มระบบแล้ว  ทั้ง 4ชั้นปี โครงการตั้งเป้าจะมีนักศึกษาโดยรวมทั้งหมดประมาณ 10,000  คน  ส่วนกลุ่มเป้าหมายคนเข้าเรียนก็คือนักเรียนที่จบชั้นม.6 ในจังหวัดแถบภาคตะวันออก ทั้ง ชลบุรี ระยอง  จันทบุรี ตราด  และในอนาคตนอกจากหลักสูตรนวัตกรรมวิศวกรรม ดิจิทัลแล้ว ด้วยพื้นที่ 100 ไร่ และเฟสแรกของสถาบันฯ ที่ใช้พื้นที่เพียง 19 ไร่ ทำให้มีช่องทางในการขยายการเปืดหลักสูตรอื่นๆตามมาได้อีกมากมาย  ทั้งการท่องเที่ยว เกษตร และอื่นๆ ที่สามารถเชื่อมโยงกับอีอีซี ได้     สำหรับค่าเล่าเรียนตลอดหลักสูตร 4ปี คิดเป็นเงินประมาณ 4.5แสนบาท 
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"