จับตาคณะกรรมการพัฒนาศก.


เพิ่มเพื่อน    


    มีบทวิเคราะห์จาก Financial Time นิตยสารการเงินชื่อดัง ที่ระบุว่าประเทศไทยยังเป็นคนป่วยแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยบทวิเคราะห์อ้างว่า ไล่ย้อนหลังตั้งแต่ปี 2557 การขยายตัวทางเศรษฐกิจ GDP ของไทยนั้นขยายตัวเฉลี่ยเพียง 3.6% ซึ่งน้อยกว่าประเทศอื่นๆ ในอาเซียน ทั้งเวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
    โดยเหตุผลที่ทำให้การชะลอตัวทางเศรษฐกิจไทยนั้น คือ ภาคการส่งออกและการบริโภคของประชาชนที่ชะลอตัวมาอย่างยาวนานนับตั้งแต่ปี 2557 จากปัจจัยเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอลง ส่งผลต่อการส่งออกของไทย และนับตั้งแต่ปี 57  ที่ผ่านมา การส่งออกของไทยนั้นเฉลี่ยเพียงแค่ 2% ต่อปีเท่านั้น และในปี 62 ก็คาดว่าจะติดลบ
    นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของความเชื่อมั่น และหนี้ครัวเรือน และหนี้สาธารณะที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ทาง Financial Time ยังมองว่าไทยยังมีความอ่อนแอค่อนข้างมาก รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจก็ยังไม่ตรงจุด และเกิดกระตุ้นเศรษฐกิจได้จริง
    ขณะที่ในปี 2563 คาดว่าปัญหาเศรษฐกิจโลกก็ยังไม่คลี่คลาย และก็มีการประเมินว่า ภาวะเศรษฐกิจโลกก็จะยังคงอึมครึม ต่อไปอีกจึงไม่แปลกใจที่ตอนนี้ทางภาครัฐก็เตรียมที่จะวางแผนรับมืออย่างจริงจัง  
    ล่าสุด นายอุตตม สาวนายน รมว.การคลัง เปิดเผยว่า  กระทรวงการคลังมีแนวคิดตั้งคณะกรรมการ 2 ชุดขึ้นมาดูแลภาวะเศรษฐกิจให้รอบด้านมากขึ้น ทั้งคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับมหภาค และคณะกรรมการกำหนดแนวทางตามยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ซึ่งทั้งคณะกรรมการทั้ง 2 ชุดนั้น จะทำงานสอดประสานกันเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เดินหน้าต่อไปได้
    “ปีหน้ายังคาดเดาไม่ได้ว่าเศรษฐกิจโลกจะเป็นอย่างไร และเศรษฐกิจไทยจะดีขึ้นได้มากน้อยเพียงใด แต่สิ่งที่ต้องทำคือ การเตรียมพร้อมรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น ดังนั้นต้องมาคุยกัน เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล และเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขหากเกิดอะไรขึ้น เราจะไม่อยู่นิ่ง” นายอุตตมกล่าว
    ทั้งนี้ คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับมหภาคนั้น จะเป็นคณะกรรมการชุดใหญ่ที่เข้ามาดูแลเสถียรภาพระบบการเงิน การคลัง และตลาดทุนของประเทศ ซึ่งจะครอบคลุมไปถึงธุรกิจประกันด้วย เพราะมองว่าเม็ดเงินลงทุนทั้งหมดมาจากหลายภาคส่วน ที่ยึดโยงกัน ดังนั้นควรจะต้องมีข้อมูลของเงินทุนเหล่านี้ครบทุกด้าน ให้สามารถนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเศรษฐกิจในขณะนั้นร่วมกัน เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตที่จะเกิดขึ้นต่อไป
    ส่วนคณะกรรมการกำหนดแนวทางตามยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศนั้น จะเป็นคณะกรรมการชุดเล็ก ที่รับนโยบายจากคณะกรรมการชุดใหญ่ มาจัดทำเป็นแนวทางยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศให้ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยเน้นแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบการเงินที่จะมีผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ เพื่อใช้ในการสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็ม และสตาร์ทอัพอย่างเป็นรูปธรรม
    สำหรับองค์ประกอบของคณะกรรมการชุดใหญ่นี้ อาจจะเสนอให้นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพราะเป็นชุดที่ดูแลในระดับนโยบาย และมีคณะกรรมการ ประกอบด้วย กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ส่วนชุดเล็กจะมีหน่วยงานที่ประกอบด้วย กระทรวงการคลัง ธปท. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง
    นับเป็นเรื่องดีที่รัฐบาลพยายามรวมศูนย์การจัดการ และวางนโยบาย เพื่อให้การทำงานสอดประสาน แต่สิ่งที่มีความเป็นห่วง คือ หากดูจากโครงการสร้างของคณะกรรมการ ล้วนแต่เป็นองค์กรของภาครัฐ และหน่วยงานกำกับดูแล ซึ่งเกรงว่าการออกนโยบายหรือการวางแผนอาจจะไม่รอบด้าน คิดแต่ในแง่มุมภาครัฐมากเกินไป และวางนโยบายที่ไม่สอดคล้องกับทิศทางเอกชน จะยิ่งกลายเป็นอุปสรรคในการวางแผนเศรษฐกิจ ดังนั้นหากจะให้รัฐบาลควรเปิดกว้างเกี่ยวกับทิศทางของภาคเอกชนด้วย มิฉะนั้นวางแผนไป เอกชนทำไม่ได้ ทุกอย่างก็ไม่มีความหมาย.

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"