"กสศ." ลุยสำรวจรร.ขนาดเล็กชนบทห่างไกลทั่วประเทศ หวังลดเหลื่อมล้ำ


เพิ่มเพื่อน    

18ธ.ค.62-นายไกรยส ภัทราวาท รองผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคเพื่อการศึกษา (กสศ.) กล่าวว่า สำหรับการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของประเทศ โจทย์สำคัญโจทย์หนึ่ง คือ เรื่องของโรงเรียนขนาดเล็กที่ถือว่าเป็นโจทย์ที่มีความซับซ้อน และ กสศ. พยายามวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเพื่อตีโจทย์โรงเรียนขนาดเล็กให้เห็นภาพ และแนวทางการปฏิรูปเชิงระบบที่ชัดเจน เพื่อสนับสนุนกระบวนการวิจัยเชิงระบบที่จะนำไปสู่ข้อเสนอเชิงนโยบายที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของรัฐบาลอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน และสอดคล้องกับกำลังของ กสศ. ที่มีงบประมาณจำกัดเพียงร้อยละ 0.5 ของงบประมาณในระบบการศึกษา เราจึงกำหนดโจทย์การทำงานไปที่กลุ่มโรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่ห่างไกลของชุมชน (Small Protected School) ที่ไม่สามารถยุบและควบรวมได้ ทั้งนี้จากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกจากระบบสารสนเทศเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (iSEE) พบว่าปัจจุบันประเทศไทยมีโรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนต่ำกว่า 120 คนต่อโรงเรียน และมีระยะห่างจากโรงเรียนข้างเคียงที่ใกล้ที่สุดไม่ต่ำกว่า 10 กิโลเมตรอยู่จำนวน 1,594 โรง ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลบนดอย เกาะแก่ง และปัจจุบันโรงเรียนกลุ่มนี้ทั่วประเทศจัดการศึกษาให้นักเรียนอยู่ราว 100,000 คน

นายไกรยส กล่าวต่อว่า สำหรับโรงเรียนกลุ่มดังกล่าว กสศ. จะใช้กระบวนการวิจัยเชิงระบบเพื่อกำหนดโจทย์การทำงานที่จะนำไปสู่ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการปฏิรูปความเสมอภาคทางการศึกษาของโรงเรียน Protected School เหล่านี้ ให้สามารถยืนหยัดจัดการศึกษาที่มีคุณภาพให้แก่เด็กเยาวชนในพื้นที่ได้อย่างยั่งยืน ซึ่งประกอบด้วย 3 โจทย์ย่อย ได้แก่ 1.การแก้ไขปัญหาด้วยข้อมูลและหลักฐานเชิงประจักษ์ ซึ่ง กสศ. ได้พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ที่เป็นระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่ช่วยให้ทุกคนเห็นสภาพปัญหาที่จริง ชี้พิกัดในแผนที่ให้เห็นชัดว่าโรงเรียน 1,594 โรงที่ต้องการการคุ้มครองนี้อยู่จังหวัดใด และอยู่ระหว่างการพัฒนาขั้นตอนวิธี (Algorithm) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกและปัจจัยสภาพแวดล้อมในมิติต่างๆ เพิ่มเติมนอกเหนือจากระยะห่างระหว่างโรงเรียน 
2.การจัดสรรทรัพยากรด้วยหลักความเสมอภาค เนื่องจากการจัดสรรงบประมาณเงินอุดหนุนรายหัวนักเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ทำให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านคุณภาพและความเสมอภาคในการจัดการศึกษาระหว่างโรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนขนาดใหญ่ และยังทำให้เห็นได้ว่าการปฏิรูปแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในระบบการศึกษาไทยสามารถทำได้โดยการจัดสรรงบประมาณ  ด้วยหลักความเสมอภาค โดยการมีสูตรการจัดสรรงบประมาณที่สามารถโยกทรัพยากรจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง และไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นเลยเสียด้วยซ้ำ ทั้งทรัพยากรที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน

3.นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน เพราะการจัดการเรียนการสอนให้แก่เด็กเยาวชนในโรงเรียนขนาดเล็กจำเป็นต้องอาศัยนวัตกรรมในการจัดการศึกษา เพื่อส่งเสริมความเสมอภาคในโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพ โดย 2 นวัตกรรมที่ประสบความสำเร็จในระดับนานาชาติ ได้แก่ การจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น และ Teaching at the Right Level (TaRL) ที่มุ่งเน้นการบริหารจัดการทรัพยากร กำลังคน และสภาพแวดล้อมสาธารณูปโภคที่มีอยู่อย่างจำกัดในโรงเรียนขนาดเล็กนี้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด  รวมทั้งสามารถจัดการศึกษาได้สอดคล้องต่อความต้องการและศักยภาพของผู้เรียนได้เป็นรายบุคคล  ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพการเรียนรู้และพัฒนาการของผู้เรียน
"อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กต้องเริ่มต้นจากการศึกษาข้อมูลต่างๆ อย่างรอบด้าน และนำเอาปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมาพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เพื่อให้เห็นสภาพปัญหาอย่างแท้จริง กสศ. อยากชักชวนให้มองปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่ห่างไกลที่ไม่สามารถควบรวมได้อีกนับ 1,000 แห่ง การแก้ปัญหาในส่วนนี้มีอีกหลายวิธีการตั้งแต่การเปลี่ยนวิธีการจัดสรรทรัพยากรให้เป็นไปตามหลักความเสมอภาคมากขึ้น และสร้างความเสมอภาคทางคุณภาพการศึกษาผ่านการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ที่จะช่วยเพิ่มคุณภาพการศึกษาในบริบทของโรงเรียนขนาดเล็กได้อย่างยั่งยืน”รองผู้จัดการ กสศ.กล่าว
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"