พอช.จับมือ depa สนับสนุนใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสร้างเศรษฐกิจและพัฒนาชุมชน มอบ ‘โดรน’ ใช้ในแปลงเกษตรที่ จ.สระแก้ว ลดต้นทุน-ประหยัดเวลาและแรงงาน


เพิ่มเพื่อน    

ชาวชุมชนตำบลคลองหินปูนรับมอบอากาศยานไร้คนขับหรือโดรนจาก รอง ผอ.depa

 

อ.วังน้ำเย็น จ.สระแก้ว / พอช.จับมือ  depa ส่งเสริมชุมชนใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการพัฒนาและสร้างเศรษฐกิจชุมชน  มอบ ‘โดรน’ หรืออากาศยานไร้คนขับให้ชาวบ้านตำบลบ่อลูกรัง อ.วังน้ำเย็น ใช้ในแปลงเกษตร  เพื่อฉีดพ่นสารชีวภาพบำรุงพืชและขับไล่แมลงศัตรูพืช  ลดต้นทุน  ประหยัดแรงงานและเวลา  โดยขณะนี้ส่งเสริมชุมชนใช้เทคโนโลยีดิจิทัลแล้ว 38  โครงการทั่วประเทศ

 

ตามที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ ‘พอช.’  สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy Promotion Agency - depa) สังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม  มีแนวทางความร่วมมือในการส่งเสริมและสนับสนุนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อชุมชน  โดยเปิดโอกาสให้ชุมชนชนบทในพื้นที่ที่ พอช.ทำงานและชุมชนต่างๆ ที่รวมกลุ่มกันในรูปแบบของสหกรณ์หรือวิสาหกิจชุมชนเสนอโครงการมาที่ depa เพื่อใช้เทคโนโลยีดิจิทัลต่างๆ  มาสนับสนุน การพัฒนาและเสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชน  เช่น การผลิตสินค้าเกษตร  แปรรูป  ท่องเที่ยวโดยชุมชน  การพัฒนาคุณภาพชีวิต ฯลฯ  โดย depa จะสนับสนุนงบประมาณไม่เกินโครงการละ  500,000 บาท  ทั้งนี้ในปีงบประมาณ 2562   มีโครงการที่ผ่านการอนุมัติจาก depa  แล้ว 38  โครงการ 

 

ล่าสุดวันนี้  (19 ธันวาคม) พอช.และ depa ได้ติดตามความคืบหน้าการดำเนินโครงการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการเกษตร  และมอบอากาศยานไร้คนขับให้แก่เกษตรกรตำบลคลองหินปูน  อ.วังน้ำเย็น  จ.สระแก้ว  จำนวน 2 เครื่อง  โดยมีพิธีมอบที่สถาบันการเงินบ้านบ่อลูกรัง  โดยมี ดร.รัฐศาสตร์  กรสูตร รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล   นางสาวจันทนา  เบญจทรัพย์  หัวหน้าสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ  และตัวแทนชุมชนร่วมงานประมาณ 60 คน

 

(จากซ้าย) ดร.รัฐศาสตร์  นายละอองดาว  และนางสาวจันทนา

            
ดร.รัฐศาสตร์  กรสูตร รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa)  กล่าวว่า  depa  มีนโบายการทำงานกับชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศ  เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มรายได้และลดรายจ่าย  เช่น  ส่งเสริมการขายสินค้าชุมชนทางออนไลน์   การทำการเกษตรแบบอัจฉริยะ  หรือ  Smart Farmer  การใช้อากาศยานไร้คนขับในการดูแลแปลงเกษตร  การใช้เครื่องมือแจ้งเตือนสำหรับผู้ป่วยติดเตียง  หากมีอาการหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินสามารถใช้เครื่องมือส่งสัญญาณไปให้ผู้ดูแลหรือเจ้าหน้าที่มาช่วยเหลือได้ทันที  ฯลฯ

             

“ปีที่ผ่านมา  depa ได้สนับสนุนให้ชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการเสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชนและลดรายจ่าย  รวมทั้งพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยไปแล้ว  รวม  38 โครงการ  และปี 2563 จะสนับสนุนเพิ่มเติมอีก 20 โครงการ  ส่วนการมอบโดรนให้แก่พี่น้องชุมชนตำบลคลองหินปูนในวันนี้  จำนวน 2   เครื่อง  จะทำให้พี่น้องลดเวลาในการดูแลแปลงเกษตร  ลดค่าใช้จ่ายในการฉีดพ่นสารบำรุงพืช  และขับไล่ศัตรูพืชได้สะดวกและรวดเร็ว” ดร.รัฐศาสตร์กล่าว

 

โครงการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อชุมชน  จะเปิดโอกาสให้ชุมชนในพื้นที่ที่อยู่นอกเขตเมืองหลวงและเขตอำเภอเมือง  และมีสมาชิกตั้งแต่ 20 ครัวเรือนขึ้นไป  รวมตัวกันเสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนจาก depa ได้  ทั้งนี้ชุมชนที่จะเสนอโครงการได้จะต้องมีการรวมตัวกันในลักษณะกลุ่มวิสาหกิจ  สหกรณ์  สภาองค์กรชุมชน  หรือองค์กรที่มีกฎหมายรองรับ  โดยโครงการที่จะเสนอเข้ามาจะต้องเป็นกิจการของชุมชนเกี่ยวกับผลิตสินค้า  การให้บริการ  เช่น  การทำการเกษตร  การแปรรูป  การท่องเที่ยวชุมชน  ฯลฯ  โดย depa จะให้การสนับสนุนโครงการ  ไม่เกินโครงการละ 500,000 บาท 

 

นางสาวจันทนา  เบญจทรัพย์ หัวหน้าสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ พอช.  กล่าวว่า  พอช.เริ่มเข้ามาทำงานสนับสนุนชาวบ้านในตำบลคลองหินปูนตั้งแต่ปี 2547 เริ่มจากการแก้ไขปัญหาความยากจน  ปัญหาการขาดแคลนที่ดินทำกิน  โดยสนับสนุนให้ชุมชนร่วมกันสำรวจข้อมูลปัญหาและความเดือดร้อน  เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และวางแผนการแก้ไขต่างๆ  ทำให้ชุมชนร่วมกันจัดตั้งกลุ่มการเงินและกลายเป็นสถาบันการเงินขึ้นมา  มีการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการเพื่อช่วยเหลือกัน  นำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ดินและที่อยู่อาศัย  ฯลฯ  ต่อมาจึงได้ประสานชุมชนเสนอโครงการเพื่อรับการสนับสนุน โดรน จาก depa เมื่อเดือนมีนาคม 2562

นายละอองดาว  สีลานำเที่ยง  ผู้นำชุมชนตำบลคลองหินปูน  กล่าวว่า  ชุมชนตำบลคลองหินปูนได้เสนอโครงการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีทางการเกษตรยุคดิจิทัลด้วยการใช้อากาศยานไร้คนขับ (โดรน) ในการทำการเกษตรต่อสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ในช่วงต้นปี 2562  โดยการประสานสนับสนุนจากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ  และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน  499,412 บาท  ชุมชนสมทบจำนวน 320,412 บาท  นำไปจัดซื้อโดรนเพื่อการเกษตรจำนวน 2 ลำ  สามารถฉีดแปลงเกษตร เช่น ข้าวได้พื้นที่วันละประมาณ 150-200 ไร่ ลดแรงงานจาก 10-20 คนต่อวัน เหลือ 1-2 คน ลดต้นทุนการผลิตได้มากกว่าร้อยละ 20 ฯลฯ โดยจะคิดค่าบริการแก่สมาชิกไร่ละ 80 บาทเพื่อนำมาเป็นค่าบำรุงและค่าใช้จ่าย

 

“หากใช้แรงงานคนในไร่อ้อยฉีดพ่นสารในพื้นที่ 150 ไร่  จะต้องใช้คนงานประมาณ  15 คน  ค่าแรงงานวันละ 300 บาท  จะต้องเสียค่าใช้ประมาณวันละ 4,500 บาท  แต่ถ้าใช้โดรนจะเสียค่าใช้จ่ายไร่ละ 80   บาท  หรือประมาณ  1,200 บาทเท่านั้น  ทำให้ประหยัดเวลาและต้นทุนได้มาก”  นายละอองดาวกล่าว

 

สาธิตการบังคับและใช้โดรน

 

อย่างไรก็ตาม  นอกจากการใช้โดรนในแปลงเกษตรแล้ว  ขณะนี้ชุมชนได้นำสินค้าทางเกษตรมาขายทางสื่ออนไลน์  โดยการจัดทำเพจขายสินค้าชุมชน  เช่น  มะขามแช่อิ่ม  นอกจากนี้ชุมชนยังมีแผนงานการทำเกษตรกรรมอัจฉริยะ (Smart Farming) โดยการนำระบบการรดน้ำอัตโนมัติผ่านระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อสรรพสิ่ง (IoT) มาประยุกต์ใช้อีกด้วย 

 

“ในอนาคตชุมชนยังมีความคิดในการนำระบบดิจิทัลมาใช้ในการดูแลสุขภาพของคนในชุมชนอีกด้วย เช่น การดูแลผู้สูงอายุ  ผู้ป่วยติดเตียง  โดยใช้เครื่องมือส่งสัญญาณหากมีอาการกำราบหรือป่วยฉุกเฉิน  เพื่อแจ้งให้ญาติพี่น้องหรือเจ้าหน้าที่เข้ามาดูแลได้ทันที  เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือในการดูแลชีวิตของชาวชุมชน  นอกเหนือจากการเพิ่มรายได้  ลดรายจ่าย”

 

 

อย่างไรก็ตาม  นอกจากการใช้อากาศยานไร้คนขับที่ จ.สระแก้วแล้ว  ยังมีโครงการที่ได้รับอนุมัติการสนับสนุนจาก depa เช่น  1. เครื่องวัดความชื้นกาแฟดิจิทัล  กลุ่มวิสาหกิจกาแฟดอยขุนช้างเคี่ยน  อ.เมือง  จ.เชียงใหม่  2.ระบบโปรแกรมการจัดการร้านค้า  ศูนย์สาธิตการเกษตรร้านค้าชุมชนตำบลท่าเสา จ.กาญจนบุรี  3.เครื่องวัดระดับอ๊อกซิเยนบ่อเลี้ยงปลาดิจิทัล  สหกรณ์การประมงบางจะเกร็ง-บางแก้ว  อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม  4.ระบบการดูแลผู้ป่วยติดเตียง  กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลหนองเหียง อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี 

5.เครื่องติดตามเรือประมง  สมาคมประมงพื้นบ้านชายฝั่งอ่าวไทย  อ.สทิงพระ  จ.สงขลา   6.ภาพถ่ายและวิดีโอภาพเสมือนจริง (Virtual Reality) เพื่อการท่องเที่ยวโดยชุมชน  ตำบลโนนตาล   อ.ท่าอุเทน   จ.นครพนม   7.ระบบ Smart Farmสหกรณ์การเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดินปากช่อง  อ.ปากช่อง  จ.นครราชสีมา  ฯลฯ

 

นอกจากนี้ยังมีโครงการอื่นๆ ที่น่าสนใจ  เช่น  กลุ่มวิสาหกิจชุมชนการท่องเที่ยวและพัฒนาอาชีพเกาะลิบง  อ.กันตัง  จ.ตรัง  ที่มีบทบาทร่วมกับหน่วยงานราชการดูแลฝูงพะยูนและทรัพยากรชายฝั่งที่เกาะลิบง  เสนอโครงการใช้อากาศยานไร้คนขับหรือ ‘โดรน’ เพื่อการท่องเที่ยวและอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเล  เนื่องจากที่ผ่านมาเคยมีนักท่องเที่ยวนั่งเรือสปีดโบ๊ทมาดูฝูงพะยูนที่เกาะลิบง  แต่พะยูนถูกเรือสปีดโบ๊ทชนตาย  และยังเป็นการรบกวนการใช้ชีวิตของพะยูนด้วย

 

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ จึงมีแผนการใช้โดรนเพื่อถ่ายภาพพะยูนให้นักท่องเที่ยวชมผ่านจอโปรเจคเตอร์  รวมทั้งยังใช้โดรนดูแลการทำประมงผิดกฎหมาย  การลักลอบจับพะยูน  รวมทั้งดูแลป่าชายเลนด้วย  โดย depa ได้อนุมัติงบประมาณในการซื้อ    โดรนและฝึกอบรมการใช้โดรนเป็นเงิน  366,700 บาท   และชุมชนสมทบ 122,700 บาท  ตามแผนงานคาดว่าจะเริ่มใช้โดรนได้ในเร็วๆ นี้

 

โขลงช้างป่าเข้ามาหากินในหมู่บ้านตำบลพวา  จ.จันทบุรี

 

โครงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อเตือนภัยช้างป่าที่ตำบลพวา  อ.แก่งหางแมว  จ.จันทบุรี  เนื่องจากพื้นที่ตำบลพวาอยู่ติดกับเขตป่าจึงมีโขลงช้างป่าเข้ามากินพืชผลทางการเกษตรที่ชาวบ้านปลูก  บางครั้งยังทำลายบ้านเรือน  และทำร้ายชาวบ้านจนบาดเจ็บและเสียชีวิต  แม้ว่าที่ผ่านมาชาวบ้านและหน่วยงานในท้องถิ่นจะร่วมกันหาวิธีป้องกัน  เช่น  ขุดคูน้ำ  ทำรั้วรังผึ้ง  ฯลฯ  แต่ยังไม่ประสบผล  ชุมชนจึงเสนอโครงการใช้เทคโนโลยีเพื่อเตือนภัยช้างป่า  โดยใช้แอพพลิเคชั่น ‘Police I lert u’ แจ้งเหตุด่วนเหตุร้ายผ่านสมาร์ทโฟน

 

ทั้งนี้ในโครงการนี้จะนำแอพฯ ดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในการแจ้งตำแหน่งที่อยู่ของช้างป่าให้กับอาสาสมัครและบุคคลที่เกี่ยวข้องทราบ  เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้รับทราบว่าขณะนี้ช้างกำลังจะไปทางไหน  เพื่อหลีกเลี่ยงหรือเตรียมป้องกันอันตราย  ซึ่งจะช่วยลดการสูญเสียต่างๆ  โดยใช้เทคโนโลยีมาแจ้งเตือน  เช่น  ระบบเตือนภัยแจ้งเตือนเมื่อช้างเข้าใกล้ชุมชน  ระบบคลื่นความถี่ป้องกันช้างเข้าใกล้ชุมชน  ระบบดาวเทียมติดตามโขลงช้าง  ฯลฯ


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"