'ผู้ตรวจการแผ่นดิน' ถกปัญหาอาคารเลี้ยงนกนางแอ่นกระทบชุมชนยังไม่ได้ข้อสรุป


เพิ่มเพื่อน    

ผู้ตรวจการแผ่นดิน ลงพื้นที่แก้ปัญหากรณีดัดแปลงอาคารเป็นที่เลี้ยงนกนางแอ่นส่งกระทบชุมชน ยังหาข้อสรุปร่วมกันไม่ได้ ชี้หากต้องการทำธุรกิจเลี้ยงนกก็จดทะเบียนให้ถูกต้อง ติงอย่าเห็นแต่ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ แต่ควรยึดหลักสังคมสงบสุขด้วย

19 ธ.ค.62 - ที่ห้องประชุมเทศบาลตำบลทุ่งยาว อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง พล.อ.วิทวัส รชตะนันทน์ ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ลงพื้นที่ร่วมกับนายไพบูลย์ โอมาก รองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง นายกีรป กฤตธีรานนท์ รองเลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ เทศบาลตำบลทุ่งยาว อำเภอปะเหลียน ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดตรัง สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดตรัง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง

หลังจากที่เกิดปัญหาอาคารที่อยู่อาศัย 4 ห้องดัดแปลงเป็นอาคารเลี้ยงนกนางแอ่น ซึ่งได้รับแจ้งจากผู้อยู่อาศัยใกล้เคียงว่ามีการเปิดเสียงเพื่อเรียกนกเข้ามาในอาคารและได้รับผลกระทบจากกลิ่นเหม็น ซึ่งการเลี้ยงนกนางแอ่นในอาคารเขตชุมชนนี้ ขัดต่อ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 และ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ซึ่งได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการระงับให้เจ้าของอาคารยุติการเลี้ยงนกนางแอ่น

ทั้งนี้ กรณีเทศบาลตำบลทุ่งยาว ปล่อยให้มีการดัดแปลงอาคารที่อยู่อาศัยมาเป็นอาคารเลี้ยงนกนางแอ่นทำให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ชุมชนใกล้เคียง แต่หน่วยงานของรัฐไม่ดำเนินการใดๆ มุ่งแต่รายได้จากการจำหน่ายรังนก ขณะที่ส่วนราชการคอยชี้ทางเพื่อเลี่ยงกฎหมายแก่ผู้ประกอบการรังนกนางแอ่น

สาธารณสุขจังหวัดตรัง ชี้แจงว่า หลังได้รับการร้องเรียนมีการลงพื้นที่สำรวจ 2 ครั้งคือ เดือน ก.พ.61 และ ต.ค.62 เมื่อแยกปัญหาเรื่องความสะอาด เสียง กลิ่น ไม่พบว่า ฝุ่น กลิ่น มูลนก เชื้อไข้หวัดนก ไม่สามารถบ่งชี้ได้ว่ามาจากการเลี้ยงนก เสียงดังไม่เกิน 10 เดซิเบลตามค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้  ทั้งนี้ตามที่อ้างว่า มีการเสียชีวิตจากการรับผลกระทบนั้นเหตุเกิดมานานแล้วข้อมูลผู้เจ็บป่วยหรือเสียชีวิตไม่สามารถเอามากล่าวอ้างได้ สำหรับมูลนกไม่พบเชื้อไข้หวัดนก จากผลการตรวจวัดเมื่อวันที่ 22 ต.ค.62 จากข้อมูลของปศุสัตว์ โดยอ้างว่าได้กำชับผู้ประกอบการให้เปิดปิดเสียงเป็นเวลาและผู้ประกอบการเองก็ให้ความร่วมมือ

ทั้งนี้นายไพบูลย์ โอมาก รองผู้ว่าฯตรัง แย้งว่า ถึงแม้ค่าเดซิเบลไม่สูงตามที่กฎหมายกำหนด แต่ก็สร้างความรำคาญระยะยาวต่อไปในอนาคต

ขณะที่นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส อดีตผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวว่า การเลี้ยงสัตว์ในชุมชนต้องพิจารณาถึงความเหมาะสม หากอยู่ในชุมชนหรือสถานศึกษา ต้องคำนึงถึงความเหมาะสม คนเลี้ยงนกได้ประโยชน์แต่ชุมชนได้รับผลกระทบ ถึงแม้ว่ารังนกจะทำให้เศรษฐกิจดี แต่เจ้าของรังนกควรปรับเปลี่ยนเมื่อชุมชนขยายเข้ามา

พล.อ.วิทวัส กล่าวว่า จะหาแนวทางแก้ไข แต่การจะห้ามไม่ให้สร้างอาชีพนั้นต้องคิดว่าถูกต้องหรือไม่ ถึงแม้ว่าการเลี้ยงจะเปิดปิดเสียงตามเวลา เสียงไม่ดังเกินมาตรฐาน แต่ระยะเวลาที่ยาวนานจะแก้กันอย่างไร การดัดแปลงอาคารเอากฎหมายไปจับก็ไม่ได้ ซึ่งถ้ามองทางด้านเศรษฐกิจ ถ้าต้องการทำธุรกิจเลี้ยงนกจริงๆ การสร้างอาคารก็จดทะเบียนให้ถูกต้องไปเลย มีระบบการบำบัดให้ถูกต้องส่วนเรื่องเสียงก็ต้องมีข้อปฏิบัติ ไม่ใช่ใช้กฏหมายมาจับไม่ให้เกิน 10 เดซิเบล จะต้องดูว่ามันต่อเนื่องมากน้อยแค่ไหน

"ตนมองว่าเรื่องนี้ไม่ควรเอาชนะด้วยกฎหมายแต่ควรมีแนวปฏิบัติให้ถูกต้อง ส่วนที่มีข้อเสนอว่าในอนาคตควรเสียภาษีให้รัฐนั้นถ้าทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย ทำความสะอาดรังนก ส่งออกให้ถูกต้องมันก็จะเข้าระบบ เมื่อผู้ประกอบการมีรายได้ที่ถูกต้อง ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง ไม่มีการร้องเรียน รัฐเองก็ได้ประโยชน์ในเรื่องการเสียภาษี ดังนั้นหลักนิติธรรม จิตสำนึกของคนในชุมชนของผู้ประกอบการเป็นสำคัญ"ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าว

อย่างไรก็ตามหลังจากลงพื้นที่รับทราบสภาพปัญหา นายพิศิษฐ์ กล่าวว่า การสร้างบ้านแล้วมาดัดแปลงนั้นมันผิดกฎหมายอยู่แล้ว โดยกฏหมายผังเมืองในชุมชนเลี้ยงนกไม่ได้ ถ้าเคยเลี้ยงอยู่ก่อนตามที่กฎหมายผังเมืองจะออกมันก็หมดรุ่นไปแล้ว นกหมดไปกี่รุ่นแล้ว เลี้ยงไม่รู้จบอย่างนั้นมันไม่ถูกต้องเป็นการตีความเลี่ยงกฎหมาย เรื่องนี้อยู่ที่หน่วยงานที่กล้าจะทำงานรับผิดชอบระหว่างชุมชนกับปัจเฉกชน ต้องไปตรวจสอบดูว่าคนเลี้ยงนกในเมืองเหล่านี้ที่เอารังนกไปขายเสียภาษีหรือไม่ แล้วส่งออกอย่างไร เราอย่าไปหลงประเด็นว่าเป็นเรื่องเศรษฐกิจแต่ควรมองที่ความสงบสุขของสังคมด้วย


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"